ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

Last modified: August 31, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
Research Article: Factors influencing unwanted pregnancy among female adolescents who received prenatal care in Krathumbaen hospital, Samut Sakorn
ผู้เขียน/Author: พิชาภรณ์ จันทนกุล, สมฤดี ชื่นกิติญานนท์ และสุกฤตา ตะการีย์ | Pichaporn Janthanakul, Somrudee Chuenkitiyanon and Sukrita Takaree
Email: pichaporn.cha@siam.edu ; somrudee.chu@siam.edu  ;  sukrita.tak@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Faculty of Nursing,  Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยสยาม เรื่อง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร

การอ้างอิง|Citation

พิชาภรณ์ จันทนกุล, สมฤดี ชื่นกิติญานนท์ และสุกฤตา ตะการีย์. (2564). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

Janthanakul P., Chuenkitiyanon S. and Takaree S. (2021). Factors influencing unwanted pregnancy among female adolescents who received prenatal care in Krathumbaen hospital, Samut Sakorn (Research Report). Bangkok: Faculty of Nursing, Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในสตรีวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น อายุระหว่าง 11-19 ปีที่มารับบริการฝากครรภ์ที่หน่วยรับฝากครรภ์ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน ในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2562 จำนวน 140 คน คัดเลือกโดยวิธีการเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ แบบวัดค่านิยมทางเพศ แบบวัดสัมพันธภาพในครอบครัว และแบบวัดการปรับตัวต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า สัมพันธภาพภายในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปรับตัวต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.275, p-value=.01) ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมให้ครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดีต่อสตรีวัยรุ่น และมีส่วนร่วมในการดูแลด้านสุขภาพสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่น


ABSTRACT

This survey study aimed to examine impacts of unwanted pregnancy and factorsinfluencing unwanted pregnancy among female adolescents. A purposive random sampling of 140 pregnant adolescents, aged between 11-19 years who visited antenatal care unit in Krathumbaen hospital between January and August 2019, were recruited to participate this study. Research questionnaires consisted of the sexual values, the family relationship, and unwanted pregnancy adaptation. Data was analyzed using descriptive statistics and inferential statistics, including Pearson’s product moment correlation.

The result revealed that the family relationship was positively and significantly associated with unwanted pregnancy adaptation (r=.275, p-value=.01).
This study suggests that the relevant stakeholders should provide a program to encourage the positive relationship between the family and female adolescents and promote the family to support and take care of pregnant adolescents to prevent the effect of unwanted pregnancy.


ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
Factors influencing unwanted pregnancy among female adolescents who received prenatal care in Krathumbaen hospital, Samut Sakorn

Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยสยาม:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1832
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles