การประเมินขนาดยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง: การศึกษาโดยวิธี Monte Carlo simulation

Last modified: September 14, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: การประเมินขนาดยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง: การศึกษาโดยวิธี Monte Carlo simulation
Research Article: Optimal antimicrobial dosing regimens in patients receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis: A Monte Carlo simulation study
ผู้เขียน|Author: วีรชัย ไชยจามร และ ธนิยา เจริญเสรีรัตน์ | Weerachai Chaijamorn and Taniya Charoensareerat
Email: weerachai.cha@siam.edutaniya.cha@siam.edu
สาขาวิชา|คณะ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Faculty of Pharmacy,  Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: รายงานการวิจัย เรื่อง การประเมินขนาดยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง: การศึกษาโดยวิธี Monte Carlo simulation

การอ้างอิง|Citation

วีรชัย ไชยจามร และ ธนิยา เจริญเสรีรัตน์. (2564). การประเมินขนาดยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง: การศึกษาโดยวิธี Monte Carlo simulation (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

Weerachai Chaijamorn and Taniya Charoensareerat. (2020). Optimal antimicrobial dosing regimens in patients receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis: A Monte Carlo simulation study (Research Report). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

ผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย คือ เยื่อบุช่องท้องอักเสบ(Peritonitis) ซึ่งจาเป็นต้องได้รับยาต้านจุลชีพในการรักษาหรือการป้องกัน ดังนั้นการเลือกขนาดยาต้านจุลชีพให้เหมาะสมเป็นหนึ่งในปัจจัยสาคัญสาหรับการรักษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีแก่ผู้ป่วย ในปัจจุบันจากแนวทางการรักษา International Society for Peritoneal dialysis Guidelines 2016 มีการแนะนาขนาดยาต้านจุลชีพในขนาดต่างๆ ซึ่งในการศึกษานี้มีการนาเทคนิค Monte Carlo simulation มากาหนดขนาดยาจากการสร้างแบบจาลองทางเภสัชจลนศาสตร์ โดยอาศัยข้อมูลทางเภสัชจลนศาสตร์และเลือกใช้น้าหนักในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องจากการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์ก่อนหน้า และใช้ค่าเภสัชพลศาสตร์ คือ %T>MIC และ AUC/MIC ratio โดยให้มีระดับ AUC/MIC ratio ของยา vancomycin และ daptomycin มีค่ามากกว่า 400, ระดับ %T>MIC ของยา ceftazidime ต่อเชื้อมีค่ามากกว่าเท่ากับ 50-70 % และระดับ %T>MIC ของยา ertapenem ต่อเชื้อมีค่ามากกว่าเท่ากับ 30-40 % ขนาดยาที่เหมาะสมต้องเข้าถึงเป้าหมายอย่างน้อยร้อยละ 90 จากจานวนผู้ป่วยจาลองทั้งหมด และเป็นขนาดยาที่ต่าที่สุด เมื่อนาขนาดยาที่ ISPD Guidelines แนะนามาใส่ในแบบจาลองจะเห็นได้ว่าในบางขนาดยายังไม่ถึงเป้าหมายที่กาหนด และพบว่าขนาดยาที่เหมาะสมในรูปแบบ intermittent ของยา vancomycin คือ 12.5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(มก./กก.), ยา ertapenem คือ 250 มิลลิกรัม(มก.), ยา ceftazidime คือ 350 มก., ยา daptomycin คือ 1000 มก. ทุก 24 ชั่วโมง และพบว่าขนาดยาที่เหมาะสมในรูปแบบ continuous ของยา vancomycin คือ loading dose 30 มก./กก. maintenance dose 2 มก./กก., ยา ertapenem คือ loading dose 75 มิลลิกรัม/ลิตร (มก./ล.) maintenance dose 50 มก./ล., ยา ceftazidime คือ loading dose 75 มก./ล. maintenance dose 35 มก./ล., ยา daptomycin คือ loading dose 300 มก./ล. maintenance dose 135 มก./ล. อย่างไรก็ตามคาแนะนาที่ได้จาเป็นต้องมีการศึกษาทางคลินิกก่อนนาไปใช้ในทางปฏิบัติ

คำสำคัญ: การล้างไตทางช่องท้อง, vancomycin, ertapenem, ceftazidime, daptomycin, Monte Carlo simulation


ABSTRACT

Peritonitis is the most complication of the peritoneal dialysis patients so it needed to consider drug dosing adjustment for treating or preventing. Nowadays, International Society for Peritoneal dialysis Guidelines (ISPD 2016) recommended the different antimicrobial dosing regimens.Data were modeled by pharmacokinetic analyses, and Monte Carlo simulation was used to determine dosing regimens. Pharmacokinetic models were developed using published demographic/PK data in peritoneal dialysis patients with known variability. Body weight used in the models was extracted from published study. Pharmacodynamic of antimicrobial regimens were evaluated on the probability of target attainment (PTA) using AUC24h/MIC > 400 for vancomycin and daptomycin, %T>MIC ≥ 50 – 70% for ceftazidime and %T>MIC ≥ 30 – 40% for ertapenem. Optimal regimens were defined from regimens that yielded a PTA ≥ 90% with smallest total dose. When the ISPD guidelines dosing was utilized in the models, it is indicated that some dosing regimens is not reached the target. The optimal intermittent dosing regimen for vancomycin, ertapenem, ceftazidime and daptomycin was 12.5 mg/kg, 250 mg, 350 mg and 1000 mg every 24 hours, respectively. The optimal continuous dosing regimen for vancomycin, ertapenem, ceftazidime and daptomycin was 30 mg/kg loading dose followed by 2 mg/kg, 75 mg/L loading dose followed by 50 mg/L, 75 mg/L loading dose followed by 35 mg/L and 300 mg/L loading dose followed by 135 mg/L. However, Clinical validation of these recommendations is required.

Keywords:  Peritoneal dialysis, vancomycin, ertapenem, ceftazidime, daptomycin, Monte Carlo simulation.


การประเมินขนาดยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้อง: การศึกษาโดยวิธี Monte Carlo simulation | Optimal antimicrobial dosing regimens in patients receiving continuous ambulatory peritoneal dialysis: A Monte Carlo simulation study

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1301
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code