- KB Home
- -ประเภทของโครงการ | Project Type
- บทความวิชาการ | Academic Article
- TCI
- การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกัน โรคโควิด 19 ของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกัน โรคโควิด 19 ของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล |
Title: | Knowledge, attitudes, and preventive behaviors towards COVID-19 among pharmacy students in Bangkok Metropolitan Region: a A correlational Study |
ผู้วิจัย: Researcher: |
เสถียร พูลผล, เศรษฐพงศ์ โลหณุต, กุลวรา คชินทร์ และเวธิกา สนประเสริฐ | Sathian Phunpon, Settapong Lohanoot, Kunwara Kachin & Wathika Sonprasert |
หลักสูตรที่สอน: Degree: |
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care |
สาขาที่สอน: Major: |
เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care) |
สังกัดคณะวิชา: Faculty of study: |
เภสัชศาสตร์ (Pharmacy) |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2567 (2024) |
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่: Published: |
วารสารควบคุมโรค ปีที่ 51 ฉบับที่ 1 ม.ค. – มี.ค. 2568 หน้า 72-82 | Disease Control Journal, Vol. 51 No. 1 (Jan – mar 2025), pp.72-82 Click PDF |
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ 340 คน จาก 8 มหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.2 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 21.32±2.03 ปี ร้อยละ 52.9 เรียนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ส่วนใหญ่ร้อยละ 95.5 ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์ นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด 19 ในระดับดีมาก (13.44±2.77 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน) มีเจตคติในระดับดี (3.92±0.47 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคในระดับดี (2.04±0.48 จากคะแนนเต็ม 3 คะแนน) ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับเจตคติ (r=0.165, p<0.05) และเจตคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรม (r=0.641, p<0.05) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรม ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการสร้างเจตคติที่ดีอาจมีความสำคัญมากกว่าการให้ความรู้เพียงอย่างเดียวในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการป้องกันโรค โดยเฉพาะในกลุ่มนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพสูงอยู่แล้ว การศึกษานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพต่อไป
คำสำคัญ: โควิด 19, นักศึกษาเภสัชศาสตร์, ความรู้, เจตคติ, การป้องกันโรค
Abstract
This survey research aimed to investigate the relationships between knowledge, attitudes, and preventive behaviors towards COVID-19 among pharmacy students Total of 340 pharmacy students from 8 universities in the Bangkok Metropolitan Region were included into the study via online questionnaire between January and March 2022. Descriptive statistics and Spearman’s rank correlation coefficient were used for data analysis. The results showed that 51.2% of participants were female with a mean age of 21.32±2.03 years, and 52.9% were enrolled in the pharmaceutical science program. Social media was the primary source of information about COVID-19 (95.5%). The students demonstrated a very high level of knowledge about COVID-19 (mean score 13.44±2.77 out of 15), a good level of attitudes (mean score 3.92±0.47 out of 5), and a good level of preventive behaviors (mean score 2.04±0.48 out of 3). Knowledge was positively correlate with attitudes (r=0.165, p<0.05), and attitudes was also positively correlate with behaviors (r=0.641, p<0.05). However, no significant correlation was found between knowledge and behaviors. These findings suggest that fostering positive attitudes may be more important than providing knowledge alone in changing preventive behaviors, especially among health science students who already have a high level of basic health knowledge. This study provides fundamental information for future research on health behaviors among health science students.
Keywords: COVID-19, pharmacy students, knowledge, attitude, disease prevention
ดร. เสถียร พูลผล – Dr. Sathian Phunpon. 2567 (2024). Knowledge, attitudes, and preventive behaviors towards COVID-19 among pharmacy students in Bangkok Metropolitan Region: a A correlational Study. บทความ (Paper). วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science. เภสัชศาสตร์ (Pharmacy). เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care). หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care. Bangkok: Siam University