มาตรการทางกฎหมายคุ้มครองผู้ซื้อสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขและแมว

Last modified: September 8, 2019
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
มาตรการทางกฎหมายคุ้มครองผู้ซื้อสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขและแมว
Legal Measure for Purchaser Protection in Sale of Domestic Dogs and Cat
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาววรินทร วารี
Miss Warintorn Waree
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีพฤทธิ์ ศิริศักดิ์บรรจง
Associate Professor Dr. Tavephut Sirisakbanjong
ระดับการศึกษา:
Degree:
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
Master of Laws Program
สาขาวิชา:
Major:
นิติศาสตร์
Laws
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง/citation

วรินทร วารี. (2560). มาตรการทางกฎหมายคุ้มครองผู้ซื้อสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขและแมว. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่องมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองผู้ซื้อสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขและแมวมีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างมาตรฐานของผู้ประกอบวิชาชีพซื้อขายสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขและแมวและการกาหนดความรับผิดตามกฎหมายเฉพาะ ซึ่งตามกฎหมายเฉพาะมุ่งกำหนดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจซื้อขายสุนัขและแมวประกอบด้วยหลักกฎหมายต่างๆ ไม่ว่าการผลักภาระการพิสูจน์ การกำหนดหน้าที่เปิดเผยข้อมูลสัตว์เลี้ยงของผู้ประกอบธุรกิจ การรับประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสุนัขและแมวแก่ผู้ซื้อทำให้กฎหมายเฉพาะที่เกิดขึ้นเป็นมาตรการเชิงป้องกันปัญหาจากการ ซื้อขายสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขและแมว

จากการศึกษา พบว่าประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ใช้ความคุ้มครองผู้ซื้อสาหรับกรณีการซื้อขายสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ การบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้ซื้อยังคงใช้อย่างการซื้อขายสินค้าทั่วไป แต่สัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมวมีความพิเศษแตกต่างกว่าสินค้าอื่นๆตรงที่เป็นสิ่งมีชีวิต สามารถสื่อสารตอบโต้ทางอารมณ์ และมีผลกระทบต่อความความรู้สึกของผู้ซื้อ เมื่อเกิดความเสียหายผู้ซื้อย่อมต้องการวิธีการเยียวยาที่แตกต่างกันไปตามความรู้สึกที่มีต่อสัตว์เลี้ยง แต่กฎหมายกลับให้ศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจในการกาหนดความเสียหาย และกฎหมายยังขาดมาตรการกาหนดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจที่ชัดเจน ขาดมาตรการเชิงป้องกันปัญหาและการควบคุมการดำเนินธุรกิจการซื้อขายสัตว์เลี้ยงที่เพียงพอ กรณีเช่นนี้แตกต่างกับประเทศสหรัฐอเมริกาในหลายมลรัฐมีการบัญญัติกฎหมายคุ้มครอง ผู้ซื้อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ (Puppy Lemon Law) โดยมุ่งเน้นในการคุ้มครองสิทธิและช่วยให้ผู้ซื้อมีอำนาจในการต่อรองในการเรียกค่าเสียหายในความเจ็บป่วยบกพร่องของสัตว์เลี้ยงที่ซื้อขาย รวมทั้งมีมาตรการเชิงป้องกันปัญหา การบังคับให้มีการรับรองรับประกันคุณภาพสุขภาพของสัตว์เลี้ยงและกำหนดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจที่ชัดเจน ซึ่งผู้เขียนได้ทำการศึกษากฎหมายของรัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐนิวเจอร์ซีเพื่อเปรียบเทียบและนำมาวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ปัญหาของกฎหมายของประเทศไทย

ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่าประเทศไทยควรมีการบัญญัติกฎหมายเฉพาะเพื่อแยกสินค้าสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขและแมวออกจากสินค้าอื่น โดยกฎหมายฉบับนี้ มีเนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่การให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องรับผิดอย่างผู้มีวิชาชีพ การผลักภาระการพิสูจน์ไปที่ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้ซื้อเป็นผู้ทรงสิทธิในการเรียกร้องกำหนดวิธีการเยียวยาความเสียหายได้เอง และให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องทำการเปิดเผยข้อมูลรับประกันสุขภาพของสัตว์เลี้ยง รวมทั้งกำหนดวิธีการดูแลสุขภาพของสัตว์เลี้ยงก่อนนำออกจาหน่าย พร้อมการกำหนดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายให้ชัดเจน

 

คำสำคัญ: สัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขและแมว, กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, การซื้อขายสุนัขและแมว


Abstract

This thesis, Legal Measure for purchaser protection in sale of domestic dogs and cats, aims to set standard of the professionals selling domestic dogs and cats, and settle their liability in accordance with specific law. Such special law law aims to define liability of pet dogs and cat seller shall have provisions of burden of proof of seller, information disclosure, guarantees for losses on old dogs and cats. Then, the special law shall be defensive measure to avoid any problems caused by sale of domestic dogs and cats.

According to the research, I found that there is no specific consumer protection law for sale of pets. The currently existing consumer protection law is enforced to protect a buyer on loss of general goods. However, pets, like dogs and cats, are different from other goods. Because they are living creatures with emotional response, which can affect the buyer’s emotion. When there is any damage caused, the buyer will need the diverse ways to cope with such damage, which may be various up to the purchaser’s emotion. In contrary, the current law gives the right to the judge to consider and determine for such damage. Moreover, there’s still no any clear measure to settle the liability to business man, and enough defensive measure to control pets selling business. It is different from many states in United States which provide specific consumer protection law for the buyer (Puppy Lemon Law), focusing on buyer’s right protection and increasing bargaining power for claim of ill pets. Furthermore, there also are defensive measures, enforcement of guarantees of pets’ health, and clear liability of business man. The author has been researched Puppy Lemon Law of California state and New Jersey state to compare, analyst and conclude the ways to solve the problems existing in Thai Law.

The author suggests that the specific law should be legislated to separate the protection of purchases of pet dogs and cats form of other goods. The detail in such law shall be including liability of business man as professional, burden of proof borne to business man, buyer’s right to select remedy action, and pet’s healthcare before selling, clear liability of business man for violation of the law.

 

Keywords:  Domestic cats and dogs, Customer Protection Laws, Sale of cats and dogs.


มาตรการทางกฎหมายคุ้มครองผู้ซื้อสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัขและแมว / Legal Measure for Purchaser Protection in Sale of Domestic Dogs and Cat

Master of Laws Program, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 334
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code