การพัฒนาต้นแบบการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยสยาม

Last modified: October 4, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
โครงการวิจัย: การพัฒนาต้นแบบการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยสยาม
Research Article: A development of General Education Model for Siam University
ผู้เขียน/Author: ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ
Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang…[et al.]
Email: chanita@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาต้นแบบการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยสยาม A development of General Education Model for Siam University

การอ้างอิง/citation

ชนิตา รักษ์พลเมือง, สุภาพร พงษ์มณี, มารุจ ลิมปะวัฒนะ, ยุทธนา ศรีสวัสดิ์, จรัสดาว เรโนลด์, เดือนเพ็ญ ทองน่วม, สมฤดี ไทพาณิชย์ อังคณา ใจเหิม, ธีรพงษ์ อนันตรังสี และ สมปอง บุญหล่ำ. (2562). การพัฒนาต้นแบบการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยสยาม (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การผลิตบัณฑิตรุ่นใหม่จำเป็นต้องตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจสังคม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ต่างไปจากเดิม มหาวิทยาลัยสยามจึงมีนโยบายปรับปรุงหมวดวิชาศึกษาทั่วไปโดยให้มีการวิจัยในเรื่องนี้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาและผู้สอนรายวิชาการศึกษาทั่วไปเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นสาหรับผู้เรียนในศตวรรษ์ที่ 21 หัวข้อที่ต้องการศึกษา และการบริหารจัดการวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อพัฒนาต้นแบบการศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัย การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานโดยการวิจัยเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจ และการสนทนากลุ่ม การวิจัยเอกสารเป็นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการจัดหมวดการศึกษาทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ ส่วนการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ นักศึกษาและผู้เกี่ยวข้องเพื่อการสนทนาเกี่ยวกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยสยามและแนวทางการพัฒนาการศึกษาทั่วไปรวมทั้งการบริหารจัดการหลักสูตรการเรียนการสอน สำหรับการวิจัยเชิงสำรวจซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่างสองกลุ่ม คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี กับคณาจารย์ผู้สอนศึกษาทั่วไปและผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาตรี เก็บรวบรวมแบบสอบถามจากกลุ่มแรกได้ 440 ชุด กลุ่มที่สอง 160 ชุด ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร Modified Priority Needs Index (PNImodified) พบว่า ทักษะที่นักศึกษาและคณาจารย์เห็นตรงกันว่ามีความจำเป็นมากที่สุด คือ ทักษะด้านการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ (PNImodified = 0.33, 0.45) และการจัดการเวลา (PNImodified = 0.22, 0.44) รองลงมานักศึกษาเห็นว่าจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะการคิดและแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ การติดต่อระหว่างบุคคลและการดำรงชีวิตในสังคมพหุวัฒนธรรม และการเป็นผู้ประกอบการ (PNImodified = 0.21) ในด้านการรู้เท่าทัน พบว่า นักศึกษาและคณาจารย์เห็นตรงกันว่าการรู้เท่าทันทางกฎหมายและการเมืองมีความจำเป็นเป็นลำดับแรก (PNImodified = 0.25, 0.39) รองลงมา คือ การรู้เท่าทันทางการเงิน (PNImodified = 0.21, 0.38) ส่วนลำดับที่สาม นักศึกษาเห็นว่าจำเป็นต้องรู้เท่าทันทางสุขภาพ (PNImodified = 0.17) ขณะที่คณาจารย์ต้องการให้นักศึกษาปฏิบัติตนอย่างมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (PNImodified = 0.36) นักศึกษาและคณาจารย์มีความเห็นต่างกันในด้านคุณสมบัติส่วนบุคคล กล่าวคือ นักศึกษาเห็นว่าความเป็นผู้นา มั่นใจ และภูมิใจในตนเองมีความจำเป็นเป็นลำดับแรก (PNImodified = 0.22) รองลงมา คือ การอดทนต่อความไม่แน่นอนและความไม่ชัดเจน (PNImodified = 0.20) ส่วนคณาจารย์เห็นว่านักศึกษาจำเป็นต้องมีความใฝ่รู้ มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยวิธีการต่างๆ เป็นลำดับแรก (PNImodified = 0.43) หัวข้อที่นักศึกษาสนใจเรียนในระดับมากมี 18 หัวข้อ หัวข้อที่คณาจารย์เห็นว่านักศึกษาจำเป็นต้องเรียนสองลำดับแรกตรงกับนักศึกษา คือ การสนทนาภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน กับการใช้ภาษาไทยและอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การพูดในที่สาธารณะ และการนำเสนอรายงานในระดับอุดมศึกษา สำหรับการบริหารจัดการหมวดการศึกษาทั่วไป ทั้งสองกลุ่มเห็นว่าจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมีความชัดเจน แต่ควรปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนและการประเมินผล คณะผู้วิจัยได้นาผลการวิจัยเอกสาร การสำรวจ และการสนทนากลุ่มมาประกอบการพิจารณายกร่างหลักสูตรหมวดการศึกษาทั่วไปฉบับใหม่โดยเน้นหลักการเสรีภาพและปัญญา (Freedom and Wisdom) ให้นักศึกษามีเสรีภาพในการเลือกรายวิชาที่ตรงตามความต้องการมากขึ้น กำหนดคุณลักษณะผู้เรียนให้มีความ “มั่นใจ ใส่ใจ ใฝ่รู้” โดยที่ “มั่นใจ” (Confidence) หมายถึง เป็นผู้มีความมั่นใจและเป็นที่เชื่อมั่นของผู้อื่น มีความเป็นผู้นำและยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น “ใส่ใจ” (Social Mindfulness) คือ มีความใส่ใจ เป็นผู้ที่มีสติ มีจิตอาสาพร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ส่วน “ใฝ่รู้” (Lifelong learner) หมายถึง เป็นผู้มีความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในบริบทของการทำงานจริง สนใจติดตามความก้าวหน้าทางวิทยาการที่ทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้การยกร่างหลักสูตรยังได้ปรับโครงสร้างหลักสูตร กลุ่มวิชา และได้พัฒนารายวิชาตามคุณลักษณะที่พบว่ามีความจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและหัวข้อที่สนใจ หลักสูตรฉบับนี้ได้รับการยกร่าง ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาใหม่หลายครั้ง จนได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยสยามให้เริ่มใช้ในภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2562 มหาวิทยาลัยสยามได้นำรายวิชาในหลักสูตรฉบับนี้ไปเปิดสอนในช่วงก่อนภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2562 โดยนำผลการประเมินของนักศึกษามารวบรวมเพื่อนำไปพัฒาหลักสูตรให้มีคุณภาพมากขึ้นต่อไป

คำสำคัญ: ต้นแบบการศึกษาทั่วไป, มหาวิทยาลัยสยาม, เสรีภาพและปัญญา

 


โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาต้นแบบการศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยสยาม A development of General Education Model for Siam University

Siam University, Bangkok, Thailand

รายงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยสยาม:

อื่น ๆ:

การบูรณาการงานวิจัย การเรียนการสอน และการสร้างสรรค์สังคมChanita Rukspollmuang

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 696
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code