พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้านำเข้าจากประเทศจีนในประเทศไทย

Last modified: June 18, 2020
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้านำเข้าจากประเทศจีนในประเทศไทย
Purchasing Behavior in Thailand Towards Imported Clothes from China
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวพัชฑฬิกาณฑ์ พุดจาด
Miss Pattarikan Putjad
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร. ธีติมา ปิยะศิริศิลป์
Dr. Teetima Piyasirisilp
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
Master of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
International Business Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
utcc2.utcc.ac.th/academicday2020/
ารประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic day ครั้งที่ 4 วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2563 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

การอ้างอิง/citation

พัชฑฬิกาณฑ์ พุดจาด. (2562). พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้านำเข้าจากประเทศจีนในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้านำเข้าจากประเทศจีนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคคลที่เคยซื้อเสื้อผ้านำเข้าจากประเทศจีนในประเทศไทย จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และใช้แบบสอบถามแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้านำเข้าจากประเทศจีนในประเทศไทย  และใช้สถิติไคสแควร์ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะด้านปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้านำเข้าจากประเทศจีนในประเทศไทย

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 20-30 ปี สถานภาพโสด อาชีพทำงานบริษัทเอกชน/รับจ้าง ระดับการศึกษาปริญญาตรี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 20,000 บาท ประเภทของเสื้อผ้าที่นำเข้าที่ซื้อ คือ เสื้อยืด ความถี่ในการซื้อเสื้อผ้านำเข้า 1-3 ครั้งต่อเดือน จำนวนเงินที่ใช้ประมาณ 250-500 บาทต่อครั้ง ซื้อเสื้อผ้านำเข้าครั้งละ 1-3 ชิ้น บุคคลที่มีผลต่อการตัดสินใจ คือ ตัวเอง ไม่มีช่วงเวลาที่แน่นอนในการซื้อ ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าจากนำเข้าจากประเทศจีนในประเทศไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การตัดสินใจที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านราคา (x̅ =3.75) ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย (x̅ =3.73) ด้านผลิตภัณฑ์ (x̅ =3.66) และ ด้านการส่งเสริมการตลาด (x̅ =3.50) ตามลาดับ

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้านำเข้าจากประเทศจีนในประเทศไทยแตกต่างกัน โดยมีนัยสำคัญสถิติที่ 0.05 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ที่แตกต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้านำเข้าจากประเทศจีนในประเทศไทยแตกต่างกัน โดยมีนัยสำคัญสถิติที่ 0.05

คำสำคัญ: ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้านำเข้า, ประเทศจีน


Abstract

The purpose of this research aimed to study the purchasing behavior in Thailand towards imported clothes from China. The sample group consisted of 400 respondents who have bought imported from China in Thailand by accidental sampling method. The research instruments used were questionnaire distributed online. The statistics used in the research were frequency, percentage, mean and standard deviation in analyzing data about personal factors and the behavior of buying clothes in Thailand imported from China. Moreover, Chi-square statistics was used to test the relationship between personal factors and marketing mix factors of purchasing behavior.

The results found that most of the respondents were female, aged between 20-30 years, single status, worked as a private company/contractor, bachelor’s degree, with an of  income 15,001 – 20,000 Baht per month. The type of imported clothing purchased was T-shirts. Frequency of buying imported clothes was 1-3 times per month. The amount of money spent was about 250-500 Baht per time, buying imported clothes 1-3 pieces per time. The person who was the decision maker was themselves. There was no certain time period for purchases. The marketing mix factors affecting purchasing behavior in Thailand towards imported clothes from China. Overall was at a high level (x̅ = 3.66). When considering in each aspect, it was found that the decisions that were at a high level were price (x̅ = 3.75), place (x̅ = 3.73), product (x̅ = 3.66) and promotion (x̅ = 3.50) respectively.

The hypothesis testing found that personal factors differences of gender, age, status, occupation, educations level and incomes, had an effected on purchasing behavior in Thailand towards imported clothes from China with significant statistic at 0.05. The marketing mix factors differences of product, price, place and promotion, effect on purchasing behavior in Thailand towards imported clothes from China with significant statistic at 0.05.

Keywords: Marketing Mix, Purchasing Behavior, Imported Clothes, China.


พฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้านำเข้าจากประเทศจีนในประเทศไทย | Purchasing Behavior in Thailand Towards Imported Clothes from China

Master in Business Administration (MBA), Siam University, Bangkok, Thailand

Related by Advisor

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1556
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code