- KB Home
- หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา|Graduate Schools
- หลักสูตรปริญญาเอก|Doctoral Degree
- Ph.D. in Management
- ตัวแบบการจัดการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราเพื่อการส่งออกของประเทศไทย
หัวข้อวิทยานิพนธ์: Project Title: |
ตัวแบบการจัดการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เพื่อการส่งออกของประเทศไทย A Management Model of Rubberwood Furniture Industry for Export of Thailand |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
ว่าที่ร้อยโท ศรายุ แสงสุวรรณ์ Acting Lt. Sarayu Sangsuwan |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี Professor Dr. Yuwat Vuddhimeti |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) Doctor of Philosophy (Ph.D.Mgt.) |
สาขาวิชา: Major: |
การจัดการ Management |
คณะ: Faculty: |
บัณฑิตวิทยาลัย Graduate Schools |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2561 2018 |
การอ้างอิง|Citation
ศรายุ แสงสุวรรณ์. (2561). ตัวแบบการจัดการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เพื่อการส่งออกของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
Sangsuwan S. (2017). Quality management approach toward high performance nursing organization: A case study of Siriraj Hospital. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Management, Siam University.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาและอุปสรรคการจัดการของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราเพื่อการส่งออกของประเทศไทย 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารากับความได้เปรียบทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราเพื่อการส่งออกของประเทศไทย 3) ค้นหาตัวแบบการจัดการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราเพื่อการส่งออกของประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่ให้ประชากรตัวอย่างกรอกข้อมูลลงในแบบสอบถาม บุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล คือ ผู้บริหารขององค์กรในหน่วยงานของภาครัฐหรือสมาคมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา 5 องค์กรๆละ 3 คน รวม 15 คน และประชากรตัวอย่างที่ได้ทำการสุ่มตัวอย่างจากผู้บริษัทผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราจำนวน 41 บริษัทๆละ 11 คน รวม 451 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยมัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้วิธีการประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและสถิติทดสอบขั้นสูงในระบบคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัยพบว่า :
ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราที่พบ สามารถจำแนกออกเป็น 3 ปัจจัยคือ 1) กระบวนการในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ประกอบด้วย ปัจจัยในการดำเนินงาน เงื่อนไขด้านความต้องการของตลาด อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนในประเทศ กลยุทธ์องค์กร บทบาทรัฐบาล ด้านโอกาสหรือเหตุสุดวิสัย 2) ห่วงโซ่อุปทาน ประกอบด้วย การจัดหาวัตถุดิบในการผลิต การควบคุมการผลิต การแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ และระบบการขนส่ง 3) ห่วงโซ่มูลค่า ประกอบด้วย เงื่อนไขด้านการตลาดและการขาย การจัดการลูกค้าสัมพันธ์
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีผลต่อการจัดการของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา พบว่า ปัจจัยห่วงโซ่อุปทานมีค่าสูงกว่าห่วงโซ่มูลค่า ซึ่งมีตัวแบบเชิงโครงสร้าง คือ Z = 0.23X – 0.12Y (SE = 0.44, R2 = 0.56)
ตัวแบบการจัดการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา พบว่า ปัจจัยห่วงโซ่อุปทานมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารามากที่สุด โดยเรียงลำดับจาก 1) การจัดหาวัตถุดิบในการผลิต 2) การแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ 3) การควบคุมการผลิต และ 4) ระบบการขนส่ง ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย :
นโยบายภาครัฐ ควรพิจารณาเรื่องกฎหมายการปลูกไม้ที่มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์อย่างชัดเจนและเร่งด่วนโดยให้ครอบคลุมไปถึงไม้ยางพาราและไม้อื่นๆที่ไม่ใช่ไม้หวงห้าม เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรหรือชาวบ้านสามารถปลูกและตัดไม้ที่มีมูลค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตัวเองได้โดยไม่ผิดกฎหมาย เพื่อความสะดวกต่อการพิสูจน์ที่มาของถิ่นกำเนิดและพื้นที่เพาะปลูกไม้ได้ตามหลักมาตรฐาน FLEGT และ FSC
การนำตัวแบบการจัดการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราเพื่อการส่งออกไปประยุกต์ใช้ ควรพัฒนาในด้านห่วงโซ่อุปทานเป็นหลัก เพราะห่วงโซ่อุปทานนั้นส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันสูงกว่าห่วงโซ่มูลค่าเป็นอย่างมาก
การวิจัยครั้งถัดไป ควรศึกษาเกี่ยวกับข้อดีข้อเสียเชิงวิทยาศาสตร์ระหว่างเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราและไม้ชนิดอื่นทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ถูกต้อง ครอบคลุม และเหมาะสมของชนิดของผลิตภัณฑ์ รวมถึงสามารถเปรียบเทียบอ้างอิงคุณภาพของสินค้าได้อย่างแน่ชัด
คำสำคัญ: เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา, การจัดการ, การส่งออก, ห่วงโซ่อุปทาน, ห่วงโซ่มูลค่า
Abstract
This research has four main objectives 1) To study about problems and obstacles of the management of rubberwood furniture industry for Thailand exports. 2) To study about the association between the management and the competitive advantage of rubberwood furniture industry for Thailand exports. 3) To find the management model of rubberwood furniture industry for Thailand exports. The researcher has conducted a mixed method research study by using both quality and quantity method, which used questionnaires for interviews and questionnaires for sample population as data collection tool. The key informants for interview were managers, who work corporate executives in government agencies or associations related to rubberwood furniture industry, 3 managers per each organization total of 15. The sample population for quantitative were randomly selected from 41 rubberwood furniture companies, each with 11 persons, total of 451 people. The statistics used in data analysis were percentage, mean, arithmetic mean. Standard Deviation by using processing methods with statistical software and advanced test statistics in computer.
According to the research:
Problems and obstacles of management of the rubberwood furniture industry can be classified to 1) The process of increasing competitiveness consists of operational factors, market needs, relevant industry, organizational strategy, government, and opportunity. 2) A supply chain consists of raw materials, production control, processing, and transportation system. 3) Value chain consists of marketing and sales conditions, customer relationship management.
The study of the relationship between variables affecting the management of rubberwood furniture industry shows that: Supply chain factors affect the management of rubberwood furniture industry for Thailand exports higher than the value chain. The structural model is Z=0.23X-0.12Y (SE=0.44, R2 =0.56).
The management model of rubberwood furniture industry found that: Supply chain factors are critical effect to the furniture industry. Sorting from; 1) Procurement of raw materials for production. 2) Processing of raw materials into products. 3) Production control. 4) Transportation system.
Suggestions from research results:
A government policy has be considered law of planting trees in land ownership should be clearly and urgently considered, regarding the rubberwood, other types of wood and also the non-preserved wood in order to make the economic wood associated with the proof of source and area that can cultivate the wood according to the standard of FLEGT and FSC.
For apply Management Model of Rubberwood Furniture Industry to used, should be mainly developed in the supply chain. As indicated by the result, supply chain totally affects competitiveness more than value chain.
The next research should study scientifically about the benefits and drawbacks between the rubberwood furniture and other types of wood in Thailand and other countries in order to analyze the strengths, weakness, opportunities, and obstacles. This is to develop a right, inclusive and appropriate kind of Rubberwood Furniture Industry according to its type of products as well as to enabling a clear standard to compare product quality.
Keywords: Rubberwood Furniture, Management, Export, Supply Chain, Value Chain.
ตัวแบบการจัดการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราเพื่อการส่งออกของประเทศไทย|A Management Model of Rubberwood Furniture Industry for Export of Thailand
Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand