รูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการภายในของธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติเพื่อรองรับความพลิกผันของเทคโนโลยีในประเทศไทย

Last modified: November 30, 2023
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
รูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการภายในของธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติ เพื่อรองรับความพลิกผันของเทคโนโลยีในประเทศไทย
A Model of Intrapreneurship Development in Automatic Identification Technology for Disruptive Technology in Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
ว่าที่ร้อยตรีคมกริช ไพฑูรย์
Acting Sub. Lt. Komkrit Paitoon
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร.กานต์จิรา  ลิมศิริธง
Dr. Karnjira Limsiritong
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2566
2023
Published/แหล่งเผยแพร่:
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/cmruresearch/issue/view/17363
Komkrit Paitoon and Karnjira Limsiritong. (2022). Confirmatory Factor Analysis of Intrapreneurship in Automatic Identification Technology for Technology Disruption in Thailand. Rajabhat Chiang Mai Research Journal, 23(3), 109-125. (TCI Tier 1 and ACI)

การอ้างอิง|Citation

คมกริช ไพฑูรย์. (2566). รูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการภายในของธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติเพื่อรองรับความพลิกผันของเทคโนโลยีในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Paitoon K. (2023). A model of intrapreneurship development in automatic identification technology for disruptive technology in Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติในประเทศไทย 2) ศึกษาปัจจัยของรูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการภายในของธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติเพื่อรองรับความพลิกผันของเทคโนโลยีในประเทศไทย 3) พัฒนารูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการภายในของธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติที่เหมาะสม เพื่อรองรับความพลิกผันของเทคโนโลยีในประเทศไทย

     การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยใช้การวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นหลัก และเสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง และพนักงานระดับผู้จัดการอาวุโสของธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติในประเทศไทย มีกรอบแนวคิดของการวิจัยที่ได้จากการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านภาวะผู้นำ ด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้และด้านวัฒนธรรมองค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยทั้งสิ้น 420 คนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เริ่มจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ลำดับต่อมาทำการเลือกแบบเป็นสัดส่วน หลังจากนั้นจึงใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบบจับฉลาก และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ตรวจสอบเชิงยืนยันรูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการภายในของธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติที่เหมาะสมเพื่อรองรับความพลิกผันของเทคโนโลยีในประเทศไทยด้วยโปรแกรม AMOS

     ผลการวิเคราะห์และตรวจสอบองค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดตัวแปรรูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการภายในของธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติที่เหมาะสมเพื่อรองรับความพลิกผันของเทคโนโลยีในประเทศไทย ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านภาวะผู้นำ ด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ และด้านวัฒนธรรมองค์กร มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน ประกอบด้วย χ2 = 131.180, df = 125, P-value = 0.335, AGFI = 0.947,  NFI = 0.980, IFI = 0.999, RMSEA = 0.011, SRMR = 0.009, CFI = 0.999, χ2 / df  = 1.049 นอกจากนี้ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า องค์การต้องให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทั้ง 4 ด้านได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2) ด้านภาวะผู้นำ 3) ด้านองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ 4) ด้านวัฒนธรรมองค์กร โดยควรนำองค์ประกอบทั้ง 4 องค์ประกอบ  มาเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดรูปแบบการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการภายในของธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติในการพัฒนาพนักงานให้สามารถวางทิศทางเพื่อมุ่งสู่องค์การแห่งความเป็นผู้ประกอบการภายในให้เกิดขึ้นกับตัวพนักงานในองค์การให้สามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนองค์การให้ก้าวหน้ารองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นในเทคโนโลยีในอนาคต รวมถึงสามารถนำเสนอทางออกของปัญหาในทางสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ผู้ประกอบการภายใน, เทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติ


Abstract

The objectives of this study were as follows: 1) to examine the business conditions of automatic identification technology in Thailand, 2) to investigate the factors influencing the development of an intrapreneurship model for automatic identification technology businesses aimed at supporting disruptive technology in Thailand, and 3) to develop an intrapreneurship development model for automatic identification technology businesses that is suitable for supporting disruptive technology in Thailand.

This research employed a mixed-method approach, with quantitative research serving as the primary method supplemented by qualitative research through interviews conducted with senior executives and a senior manager from the automatic identification technology industry in the country. The conceptual framework of this research was derived by synthesizing pertinent literature and previous studies. The primary components encompassed human resource development, leadership, learning organization, and organizational culture. A sample of 420 participants was selected using the proportional hierarchical random sampling method, followed by simple random sampling through drawing lots, with a questionnaire employed as the data collection tool. The AMOS program was utilized to analyze and validate the model of intrapreneurship development for the automatic identification technology business, specifically tailored to support disruptive technology in Thailand.

The results of the confirmatory factor analysis indicated that the measurement model for the variables of the intrapreneurship development model within the automatic identification technology business is suitable for supporting disruptive technology in Thailand. This finding was consistent with the empirical data, as determined by various fit indices. The fit indices were as follows: χ2 = 131.180, df = 125, P-value = 0.335, AGFI = 0.947, NFI = 0.980, IFI = 0.999, RMSEA = 0.011, SRMR = 0.009, CFI = 0.999, χ2 / df  = 1.049. Moreover, the results of the qualitative research reveal that organizations need to emphasize all four components, namely: 1) human resource development, 2) leadership 3) learning organization and 4) organizational culture. It is essential to integrate these four components as a framework that facilitates the emergence of A Model of Intrapreneurship Development in Automatic Identification Technology. The identified elements can be utilized to foster employee development, enabling them to establish a sense of direction for intrapreneurship within the organization. This, in turn, facilitates their ability to embrace change and drive the organization forward in preparation for future technological advancements. Additionally, employees equipped with these elements are empowered to generate creative and effective problem-solving strategies.

Keywords: Confirmatory Factor Analysis, Intrapreneurship, Automatic Identification Technology


รูปแบบการพัฒนาผู้ประกอบการภายในของธุรกิจเทคโนโลยีบ่งชี้อัตโนมัติ เพื่อรองรับความพลิกผันของเทคโนโลยีในประเทศไทย|A-Model-of-Intrapreneurship-Development-in-Automatic-Identification-Technology-for-Disruptive-Technology-in-Thailand-(Komkrit Paitoon)

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 156
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print