- KB Home
- หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา|Graduate Schools
- หลักสูตรปริญญาเอก|Doctoral Degree
- Ph.D. in Management
- การศึกษากลยุทธ์ระดับองค์กร วัฒนธรรมในการทำงานและความเป็นเลิศในการดำเนินงานที่มีอิทธิพลต่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย
หัวข้อวิทยานิพนธ์: Project Title: |
การศึกษากลยุทธ์ระดับองค์กร วัฒนธรรมในการทำงานและความเป็นเลิศในการดำเนินงานที่มีอิทธิพลต่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย A study of corporate level management strategy, work culture, and operational excellence that influence on participation management in the mobile telecommunications network operator business in Thailand |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายวรวิทย์ ว่องชาญกิจ Mr. Voravit Vongchankit |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี, รองศาสตราจารย์ ดร.ภคพล อนุฤทธิ์ Asst. Prof. Dr. Chalermkiat Wongvanichtawee, Asst. Prof. Dr. Pacapol Anurit |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) Doctor of Philosophy |
สาขาวิชา: Major: |
การจัดการ Management |
คณะ: Faculty: |
บัณฑิตวิทยาลัย Graduate Schools |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2561 2018 |
การอ้างอิง|Citation
วรวิทย์ ว่องชาญกิจ. (2561). การศึกษากลยุทธ์ระดับองค์กร วัฒนธรรมในการทำงานและความเป็นเลิศในการดำเนินงานที่มีอิทธิพลต่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
Vongchankit V. (2018). A study of corporate level management strategy, work culture, and operational excellence that influence on participation management in the mobile telecommunications network operator business in Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์ระดับองค์กร วัฒนธรรมในการทำงานและความเป็นเลิศในการดำเนินงานในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาทางการจัดการแบบมีส่วนร่วมของธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของกลยุทธ์ระดับองค์กร วัฒนธรรมในการทำงานและความเป็นเลิศในการดำเนินงานที่มีอิทธิพลต่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย และ 4) เพื่อกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์กร วัฒนธรรมในการทำงานและความเป็นเลิศในการดำเนินงานที่มีต่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทย
เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก(In – depth interview)ผู้บริหารในบริษัทธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในประเทศไทย จำนวน 3 บริษัท นักวิชาการผู้มีประสบการณ์ในการสอนเกี่ยวกับการจัดการ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์การบริหารธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 17 คน และใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างกับผู้บริหาร และพนักงานผู้ปฏิบัติงานจำนวน 382 คน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นผู้บริหารและพนักงานผู้ปฏิบัติงานในบริษัทธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย มีความคิดเห็นต่อกลยุทธ์ระดับองค์กรที่ส่งผลต่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.32)
ผู้บริหารและพนักงานผู้ปฏิบัติงานในบริษัทธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย มีความคิดเห็นต่อวัฒนธรรมในการทำงานที่ส่งผลต่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.65)
ผู้บริหารและพนักงานผู้ปฏิบัติงานในบริษัทธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย มีความคิดเห็นต่อความเป็นเลิศในการดำเนินงานที่ส่งผลต่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.41)
ผู้บริหารและพนักงานผู้ปฏิบัติงานในบริษัทธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย มีความคิดเห็นต่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.11)
ผลการทดสอบสมมติฐาน ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) พบว่า มีเพียงปัจจัยเดียวที่มีต่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย จึงกำหนดการกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์กรที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทยจาก
1) ปัจจัยวัฒนธรรมองค์กร การกำหนดทิศทางของกลยุทธ์ระดับองค์กร ประกอบด้วย พันธกิจ วัตถุประสงค์ การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ วิสัยทัศน์ และ 2) การมีส่วนร่วมของพนักงานในการพัฒนากลยุทธ์ ได้แก่ การทำงานแบบเครือข่ายร่วมกัน การกำหนดเป้าหมายการทำงานร่วมกัน การวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกัน และการประเมินผลกลยุทธ์
เนื่องจากมีเพียงปัจจัยการกำหนดกลยุทธ์ระดับองค์กร เพียงปัจจัยเดียวที่มีต่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย จึงเสนอแนวทางการจัดการแบบมีส่วนร่วมในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ดังนี้ 1) ผู้บริหารจะต้องมีการกำหนดทิศทางของกลยุทธ์ระดับองค์กร จากพันธกิจ วัตถุประสงค์ และวิสัยทัศน์ อย่างชัดเจน อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงที่สามารถปฏิบัติตามกลยุทธ์ที่กำหนดขึ้นมาได้ และสอดประสานกันทั่วทั้งทุกภาคส่วนขององค์กรการนำพร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติอย่างเสมอกัน 2) การมีส่วนร่วมของพนักงานในการพัฒนากลยุทธ์ ต้องการทำงานแบบเครือข่ายร่วมกันทั่วทั้งองค์กร โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทรัพยากรภายในกัน แต่ละภาคส่วนมีบทบาทในการกำหนดเป้าหมายการทำงานร่วมกัน และกระตุ้นให้เกิดการวางแผนการปฏิบัติงานร่วมกันทั่วทั้งองค์กร ตลอดจนการร่วมกันการประเมินผลกลยุทธ์อย่างจริงใจ และยุติธรรม
Abstract
The Study of corporate-level strategy, work culture and operational excellence that influence on participation management in the mobile telecommunications network businesses in Thailand has the following objectives: (1) To study corporate-level strategy, work culture and operational excellence of the mobile telecommunications network operator businesses in Thailand, (2) To study participation management in the mobile telecommunications businesses at present, (3) To study the influence of corporate-level strategy, work culture and operational excellence on participation management in the mobile telecommunications network operator businesses in Thailand, and (4) To establish corporate-level strategy, work culture and operational excellence that influence on the mobile telecommunications network operator businesses in Thai context and culture.
This research used both qualitative and quantitative research approaches. As for qualitative research, the research instruments used in data collection stage was in-depth interview of which data was collected from senior administrators in three mobile telecommunications companies, academicians in the business field and 17 professionals in the business. The qualitative data was content analyzed. As for quantitative research, a structured survey questionnaire was used to collect data from 382 senior administrators and operational workers from the mobile telecommunications network operators. The quantitative data was analyzed using exploratory factor analysis (EFA) technique which is a part of principal component factor analysis.
Research findings reveal that in overall, senior administrators and operational workers in the mobile telecommunications network operator businesses agreed that: (1) corporate-level strategy influenced participation management at moderate level (x̄ = 3.32), (2) work culture influenced participation management at high level (x̄ = 3.65), and (3) operational excellence influenced participation management at high level (x̄ = 3.41).
Senior administrators and operational workers in the mobile telecommunications network operator business were implement participation management in most aspects at moderate level (x̄ = 3.11), in which they were involved in problem solving, decision making, operation, benefit and evaluation respectively.
Findings from principal component analysis revealed that there was only one component that showed influence on the mobile telecommunications network operators, which was the participation management which consists of (1) organizational culture that is suitable for Thai context and culture, establishment of direction of corporate level including mission, objective, operational strategy and vision, and (2) how to deploy the strategy while maintain the vision, and (3) how to encourage the employees to help develop the organizational strategies, such as, co-working in a network manner, set the target together, plan the operation together and evaluate the strategies together.
Given that there is only corporate-level strategy setting factors that have some influence on the participation management in the mobile telecommunications network operator businesses in Thailand, it can be proposed as follows: (1) Senior administrators should set the direction of corporate-level strategies that are in congruence with the mission, objectives and vision clearly in a fact-based, pragmatic manner and in line with all groups or units within the organization. The management must ensure consistency and integrity during the implementation process, (2) Managing participation in strategy development requires collaboration between all groups in the organization in which opinions and resources must be shared internally. All groups or work units should work together from the beginning until the end – from setting the target, involvement in the planning process of corporate-level strategies and justice evaluation.
การศึกษากลยุทธ์ระดับองค์กร วัฒนธรรมในการทำงานและความเป็นเลิศในการดำเนินงานที่มีอิทธิพลต่อการจัดการแบบมีส่วนร่วมในธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย
Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand