การศึกษากลสมบัติด้านกำลังของจีโอพอลิเมอร์ผสมถ่านเปลือกกล้วยน้ำวา

Last modified: March 12, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: การศึกษากลสมบัติด้านกำลังของจีโอพอลิเมอร์ผสมถ่านเปลือกกล้วยน้ำวา
Research Article: A Study of Mechanical Properties of Geopolymer Mortar with Banana Peel Charcoal
ผู้เขียน/Author: ไตรทศ ขำสุวรรณ, ภาคภูมิ มงคลสังข์
Email: trithos@siam.edu, phakphumm@yahoo.com
สาขาวิชา/คณะ: ภาควิชาวิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty: Faculty of Engineering in Civil Environment and Sustainable Engineering, Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่: การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 – The 25th National Convention on Civil Engineering “วิศวกรรมโยธากับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” วันที่ 15 – 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จัดการประชุมโดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

การอ้างอิง/citation

ไตรทศ ขำสุวรรณ และ ภาคภูมิ มงคลสังข์. (2563). การศึกษากลสมบัติด้านกำลังของจีโอพอลิเมอร์ผสมถ่านเปลือกกล้วยน้ำวา. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 (หน้า 1736 – 1740). กรุงเทพฯ: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.


บทคัดย่อ

จีโอพอลิเมอร์เป็นวัสดุชนิดใหม่ที่เป็นทางเลือกสําหรับใช้ในงานก่อสร้าง ซึ่งไม่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์และก่อให้เกิด CO2น้อยมาก โดยเกิดจากการทําปฎิกิริยาจีโอพอลิเมอร์ไรเซชั่นของสารอัคคาไลที่มีความเข้มข้นสูง และออกไซด์ของซิลิกอนและอลูมิเนียม กลายเป็นวัสดุที่มีโครงสร้างแข็งแรง จึงเป็นวัสดุทางเลือกที่ใช้ทดแทนปูนซีเมนต์ได้ และเมื่อนํามาผสมกับผงถ่านเปลือกกล้วยน้ําวา ซึ่งเป็นของเหลือทิ้งในผลผลิตทางเกษตรกรรมพืชผลกล้วยน้ําวา จึงได้ศึกษาวิจัยการนํามาผสมเพิ่มที่อัตราส่วนที่ออกแบบเริ่มต้นไว้ เพื่อศึกษากลสมบัติต่างๆ สําหรับตั้งต้นการนําไปใช้ต่อยอดทางอุตสาหกรรมการก่อสร้าง โดยในการนําผงถ่านเปลือกกล้วยน้ําวามาผสมกับวัสดุจีโอพอลิเมอร์ ในอัตราส่วนผสมเพิ่มที่เปอร์เซนต์ร้อยละ 0, 5, 10, และ 15 โดยน้ําหนัก ซึ่งออกแบบอัตราส่วนของวัสดุจีโอพอลิเมอร์ที่สัดส่วนเถ้าลอยร้อยละ 50 เปอร์เซนต์ ผสมกับอัตราส่วนผสมระหว่าง สารโซเดียมซิลิเกต 1 ส่วน กับสารโซเดียมไฮดรอไซด์ 12 โมลาร์ 1 ส่วน รวมกันเป็นเปอร์เซนต์ร้อยละ 50 ของทั้งหมด และผสมกับทรายแม่น้ําที่ผ่านตะแกรงร่อนเบอร์ 16 ในอัตราส่วนของจีโอพอลิเมอร์มอร์ต้า 1 ส่วนต่อทราย 2 ส่วน โดยน้ําหนัก แล้วนําไปทดสอบค่ากลสมบัติ และทดสอบด้วยเครื่อง scanning electron microscope (SEM) และ Energy Dispersive X-Ray Analysis (EDS) พบว่าผลการศึกษากลสมบัติด้านกําลังของจีโอพอลิเมอร์ที่ผสมกับผงถ่านเปลือกกล้วยน้ําวาสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านกําลังรับแรงอัด,กําลังรับแรงดัด และค่าอัตราส่วนของการดูดซึมน้ํา ได้ในอัตราส่วนผสมเพิ่มที่เหมาะสม

คําสําคัญ: จีโอพอลิเมอร์, ซีเมนต์, เปลือกกล้วน้ําวา, เถ้าลอย, งานก่อสร้าง


ABSTRACT

Geopolymer is a new alternative material for construction that does not contain cement and produces very little CO2. Geopolymer was caused by the reaction of geopolymerization of high concentrations of alkali substances and oxides of silicon and aluminum that can transformed into a strong structural material. Therefore it is an alternative material that can be used to replace cement. When mixed with charcoal powder of banana peel which is waste in agricultural products form banana plants. This study is mixing with geopolymer with charcoal powder banana peel at 0, 5, 10, and 15% by weight for testing a mechanical properties. We used a ratio for fly ash 50% and the mixed with solution 1 part sodium silicate and 1 part of 12 molar sodium hydroxide into 50% by total weight. Last process, we mixed geopolymer part with river sand that passing through sieve no.16 in ratio of geopolymer 1 part per river sand 2 part by weight. Also we were tested the mechanical properties and testing both powder with scanning electron microscope (SEM) and Energy Dispersive X-Ray Analysis (EDS). We found that charcoal powder banana peel mixed with geopolymer can improved the efficiency of compression and flexural strength and water absorption in an appropriate ratio.

Keywords: Geopolymer, Cement, ฺBanana peel, Fly ash, Construction.


การศึกษากลสมบัติด้านกำลังของจีโอพอลิเมอร์ผสมถ่านเปลือกกล้วยน้ำวา

การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 – The 25thNational Convention on Civil Engineering

Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 572
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print