การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร

Last modified: October 7, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร
Academic administration of schools under Bangborn District, Bangkok Metropolitan Administration
ชื่อนักศึกษา:
Author:
พระบุญลัท สุวรรณเดช
Phra Bounlath Souvandet
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญมี เณรยอด
Assoc. Prof. Dr.Boonmee Nenyoud
ระดับการศึกษา:
Degree:
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.)
Master of Education
สาขาวิชา:
Major:
การบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา
Educational Administration and Leadership
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2560
2017

การอ้างอิง|Citation

พระบุญลัท สุวรรณเดช. (2560). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Phra Bounlath Souvandet. (2017). Academic administration of schools under Bangborn District, Bangkok Metropolitan Administration. (Master’s thesis). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร จำนวน 9 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารและครู ประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามโดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ (percentage)

ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมมีการดำเนินการตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการทั้ง 9 ด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนงานวิชาการ โรงเรียนส่วนใหญ่มีการสำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลสารสนเทศงานวิชาการ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการและจัดทำแผนงานวิชาการ มีการสำรวจและจัดทำทะเบียนข้อมูลสารสนเทศงานวิชาการ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนส่วนใหญ่มีการสร้างความตระหนักแก่บุคลากรในด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีการประชุมชี้แจงให้ครูได้รับทราบแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้ มีการนิเทศติดตามการใช้หลักสูตรสถานการศึกษามีการตรวจเยี่ยมและสังเกตการณ์ในชั้นเรียน ด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนส่วนใหญ่มีมีการประชุมชี้แจงสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการบริหารจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีการประชุมชี้แจงนโยบาย/วัตถุประสงค์ด้านการบริหารจัดการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียน นอกจากนี้บางโรงเรียนยังมีการจัดการศึกษาพิเศษ โดยโรงเรียนมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ค้นหา/คัดกรอง/คัดแยก ด้านการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียน โรงเรียนส่วนใหญ่มีการส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนร่วมมือกันปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานต่างๆ โดยโรงเรียนส่วนใหญ่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ด้านการวัดผลประเมินผลการเรียน โรงเรียนส่วนใหญ่มีการจัดทำระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลของโรงเรียน และดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และ แหล่งเรียนรู้ โรงเรียนส่วนใหญ่ ครูทุกกลุ่มสาระมีการร่วมกันพัฒนาสื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระ โดยมีแนวทางการวางแผนการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โรงเรียนส่วนใหญ่มีการวิจัยในชั้นเรียน โดยครูได้ดำเนินการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ โรงเรียนส่วนใหญ่มีการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ โดยมีการสร้างความตระหนักของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับงานวิชาการ โรงเรียนส่วนใหญ่มีการปรับปรุงการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ โดยมีการเตรียมการด้านการปรับปรุงการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ

ส่วนปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมในแต่ละด้านครูส่วนใหญ่ตอบว่าไม่มีปัญหา มีเพียงโรงเรียนเดียวเท่านั้น ที่ครูส่วนใหญ่ตอบว่ามีปัญหา ด้านการวางแผนงานวิชาการ ซึ่งปัญหาได้แก่ บุคลากรไม่ได้รับการพัฒนาเกี่ยวกับการจัดทำข้อมูลสารสนเทศงานวิชาการ ขาดการจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศงานวิชาการ และขาดการตรวจสอบติดตามและประเมินผลการใช้ข้อมูลสารสนเทศงานวิชาการ

คำสำคัญ: การบริหารงานวิชาการของโรงเรียน


Abstract

The purposes of this research were 1) to study state and problems of academic administration of schools under Bangborn district, Bangkok Metropolitan Administration, and 2) to compare state and problems of academic administration of schools under Bangborn district, Bangkok Metropolitan. Population were nine schools under Bangborn district, Bangkok Metropolitan Administration by which data were gathered from 375 school administrators and teachers during the academic year of 2558 through a questionnaire in the form of multiple choices. Data were analyzed by using frequencies and percentages.

The research findings showed as f ollows :

Concerning the state of academic administration of schools under Bangborn district, Bangkok Metropolitan Administration, the data showed that every school operated all nine aspects. With regards to each aspect, data revealed that in the academic planning aspect, most schools prepared academic information and organized in form of filing system through assigned committee. With regards to school curriculum management aspect, data showed that most schools enhanced an awareness for their personnel on school curriculum and implementation through school meetings. Moreover, supervisory activities were implemented especially through classroom visits and classroom observations. Regarding instructional management aspect, data indicated that most schools enhanced an awareness on child – centered learning activities to every academic strand through school meeting and students’ competencies development activities. For the internal supervision aspect, data indicated that most schools encouraged personnel cooperation on an instructional quality and performance improvement through assigned committee. With regards to measurement and evaluation aspect, most schools provided measurement and evaluation rules and regulations, and systematic operation through assigned committee. For the media, technology, innovation and learning resources development aspect, data showed that most schools assigned teachers in every academic strand to develop instructional Medias in accordance with academic strand, and set a guideline for learning resource center development. With regards to research for educational quality development aspect, data revealed that most schools required all teacher to produce a classroom action research. For the community participation for academic strengthening aspect, data indicated that most schools enhanced an awareness through people in the community. As for the educational quality assurance aspect, most schools improved their academic management system for student’s quality development continuously.

With regards to academic administration problems of schools under Bangborn district, Bangkok Metropolitan Administration, data showed that most teachers responded that there were no problem except one school that most teachers indicated that there were some problems in academic planning aspect. The problems were lack of academic information network system due to unprepared personnel, and lack of monitoring and evaluation on academic information utilization.

Keywords:  Academic Administrator of Schools.


การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร | Academic administration of schools under Bangborn District, Bangkok Metropolitan Administration

Master of Education in Educational Administration and Leadership, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 2353
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles