ตัวแบบการบริหารจัดการการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวเมียนมาร์ในประเทศไทย

Last modified: May 15, 2021
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ตัวแบบการบริหารจัดการการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวเมียนมาร์ในประเทศไทย
An Access to Health Service Management Model of Transnational Myanmar Labours in Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวพรรณรัตน์ อาภรณ์พิศาล
Ms. Pannarat Arphonpisan
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ถิรศิริกุล, นายแพทย์ ดร.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
Assistant Professor Dr. Jidapa Thirasirikul, Dr.Porntep Siriwanarangsun
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2559
2016

การอ้างอิง/citation

พรรณรัตน์ อาภรณ์พิศาล. (2559). ตัวแบบการบริหารจัดการการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวเมียนมาร์ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของการให้บริการและการ เข้าถึงบริการสาธารณสุขกับแรงงานต่างด้าวเมียนมาร์ในประเทศไทย 2)เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการ บริหารจัดการที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวเมียนมาร์ในประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงการบริหารจัดการการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงาน ต่างด้าวเมียนมาร์ในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก โดยเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานต่างด้าวในโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่องประมง จังหวัด สมุทรสาคร ซึ่งซื้อบัตรประกันสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขจํานวน 412 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และการ วิเคราะห์โมเดลสมการ โครงสร้าง เสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ ของหน่วยงานภาครัฐ นักวิชาการ ผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าว

ผลการศึกษา พบว่า ตัวแปรต้น ประกอบด้วยปัจจัยด้านการจัดการด้านสาธารณสุข ด้าน ภูมิศาสตร์ ด้านวัฒนธรรม ด้านความพร้อมของการให้บริการ ด้านการรับรู้ข่าวสาร และด้าน ความสามารถเชิงภาษาเพื่อการสื่อสาร มีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรตาม คือการเข้าถึงบริการสุขภาพ ของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย โดยมีค่าระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ .05

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้ ภาครัฐควรกําหนดนโยบายที่สนับสนุนและส่งเสริมด้าน งบประมาณอย่างเพียงพอและการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ ภาครัฐ ภาคเอกชน สถานประกอบการและหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ การจัดระบบการบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงทั้งในด้านภูมิศาสตร์และขอบเขตบริการสุขภาพที่จําเป็นสําหรับแรงงานต่างด้าว คํานึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมภาษาในการบริการสุขภาพ รวมทั้งการสร้างทัศนคติที่ดี เกี่ยวกับการบริการสุขภาพของแรงงานเมียนมาร์ โดยให้ความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแล สุขภาพด้วยตนเองและสิทธิในด้านการได้รับบริการสุขภาพ


Abstract

The objective of this research were 1) to study circumstances of health service and access to health services of transnational Myanmar labours in Thailand, 2) to study factors of public health management affecting access to health services of transnational Myanmar labours in Thailand and 3) to develop policy and administration suggestions to support access to health services of transnational Myanmar labours in Thailand. This research employed quantitative methodology. The sample size of this survey were 412 transnational Myanmar labours in seafood processing industry in Samutsakhon Province who bought health insurance cards from Ministry of Public Health Data collection was compiled through questionnaires. The descriptive statistics for data analysis included mean and standard deviation, whereas the inferential statistics used to test hypothesis of this research was structural equation model analysis. The study also employed qualitative data collected from in-depth interview key informants such as public health officials, academician, entrepreneurs and transnational Myanmar labours.

The research result showed that independent factors of public health management, composed of health service management, geographical, cultural, readiness in service providing, information perception and Thai for communication competent, statistically affected an access to health services of transnational Myanmar labours in Thailand at statistical significance level of 0.05.

The research suggestion were as fullowed: The government should promote and provide sufficient funding and worth budget utilization, establish well structured networks between public sectors, private sectors, enterprises and healthcare service agencies, provide a wide Geographical healthcare service agencies and necessary scope of healthcare service for transnational Myanmar labours in Thailand, be aware of cultural and language differences in healthcare service providing, as well as provide a better understanding of basic healthcare self treatment and healthcare rights and benefits in order to improve good attitude of transnational Myanmar labours toward healthcare service.


ตัวแบบการบริหารจัดการการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวเมียนมาร์ในประเทศไทย | An Access to Health Service Management Model of Transnational Myanmar Labours in Thailand

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 364
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print