ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงคงอยู่ของพนักงานตรวจแรงงานกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน

Last modified: August 25, 2020
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงคงอยู่ของพนักงานตรวจแรงงานกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน
Factors Affecting Retention of Labour Inspectors in Department of Labour Protection and Welfare
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายอรรคพล รุ่งเรือง
Mr. Akapol Rungruang
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร.สุเมธ แสงนิ่มนวล
Dr.Sumet Saengnimnuan
ระดับการศึกษา:
Degree:
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
Master of Public Administration
สาขาวิชา:
Major:
รัฐประศาสนศาสตร์
Public Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
Conference
Conference Proceedings
National and International Academic Conference “Innovation and Management for Sustainability” 9-10 July 2020

การอ้างอิง/citation

อรรคพล รุ่งเรือง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงคงอยู่ของพนักงานตรวจแรงงานกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน. (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงคงอยู่ของพนักงานตรวจแรงงานกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานมีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงคงอยู่ของพนักงานตรวจแรงงานเพื่อศึกษาระดับการดำรงคงอยู่ของพนักงานตรวจแรงงาน และเพื่อนำผลการวิจัยที่ได้เสนอแนะเป็นแนวทางต่อผู้บริหารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาพนักงานตรวจแรงงานลาออก และโอนย้ายกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือพนักงานตรวจแรงงานกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานคร จำนวน 286 คน โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์

ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงคงอยู่ของพนักงานตรวจแรงงาน ได้แก่ อายุ อายุราชการ รายได้ต่อเดือน สภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย และความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ส่วนปัจจัยด้านเพศ ไม่มีผลต่อการดำรงคงอยู่ของพนักงานตรวจแรงงาน และนอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบอีกว่า พนักงานตรวจแรงงานส่วนใหญ่มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำรงคงอยู่ภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.48)

ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ คือ

1) ปัจจัยด้านอายุ อายุราชการ และรายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับการดำรงคงอยู่ของพนักงานตรวจแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานควรให้ความสำคัญกับพนักงานตรวจแรงงานที่บรรจุใหม่ โดยสร้างความผูกพันระหว่างองค์กรและพนักงาน สร้างทัศนคติที่ดีต่องาน เพื่อนร่วมงานผู้บังคับบัญชา เช่น การให้พนักงานตรวจแรงงานที่บรรจุใหม่ได้มีการฝึกทดลองทำงานกับหน่วยงานต่างๆ ของกรมก่อนที่จะไปปฏิบัติงานจริงเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานได้มีการปรับตัว และควรมีสวัสดิการที่เพียงพอให้กับพนักงานตรวจแรงงานเพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน

2) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและความปลอดภัยในหน่วยงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานควรมีการปรับปรุงในเรื่องการจัดห้องพยาบาลให้กับเจ้าหน้าที่ ควรมีสถานที่หรือ
มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านสุขภาพ และหน่วยงานควรมีสถานที่อำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอต่อจำนวนเจ้าหน้าที่ เช่น มีที่จอดรถ มีที่พักผ่อน

3) ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานควรมีการปรับปรุงในเรื่องสามารถเลื่อนตำแหน่งที่เหมาะสมกับระยะเวลาปฎิบัติงาน หน่วยงานมีตำแหน่งที่พร้อมจะให้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงกว่า

ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป คือ ควรศึกษาการดำรงคงอยู่ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่มีลักษณะงานคล้ายกันเพื่อเป็นการเปรียบเทียบว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อการดำรงคงอยู่ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน


Abstract

The research titled Affecting Retention Factors of Labour Inspectors in Department of Labour Protection and Welfare aimed to explore the retention factors of the labour inspectors in the organization, and provide the research as a guideline to the Executives of the Department of Labour Protection and Welfare to apply and find solutions to solve the resignation and transfer of labour inspector problems. This research collected online questionnaires from 286 samples of labour inspectors in the Department of Labour Protection and Welfare.

The results found that the retention factors included age, years of experience, salary, hygiene and safety in working place, career development, and job stability, whereas gender did affect the retention of labour inspectors. Moreover, the results showed that the labour inspectors had an overall opinion at a high level. (  = 3.48)             

The guideline from this study were as follows:

1) age, year experience, salary: the organization should focus attention on the new employees by providing a good relationship between the organization and employees, attach positive attitudes to the job, colleagues, and supervisors such as providing pre-job training with various departments to allow employees to familiarize with the job before being placed on active duty, as well as providing suitable salary to create motivation in the workplace;

2) hygiene and safety in working place: the organization should promote the facilities to the employee, such as providing suitable health programs, hygienic nursing rooms, adequate facilities e.g. parking
lots and resting area;

3) career development and job stability: the organization should provide adequate and fair promotion ranking that is suitable to employee’s performance, working experience, and readiness for a higher position.

It is recommended that future research should focus on the staff in other departments with similar job descriptions in order to examine other factors affecting staff’s retention.

Keywords:  retention, labour inspectors, Department of Labour Protection and Welfare.


ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงคงอยู่ของพนักงานตรวจแรงงานกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน | Factors Affecting Retention of Labour Inspectors in Department of Labour Protection and Welfare

Master of Public Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

Related

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1776
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code