การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาระหว่างแบบเป็นเจ้าของระบบเอง และแบบทำสัญญาซื้อฟ้าจากบริษัทที่ดำเนินการ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสยาม

Last modified: December 13, 2024
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาระหว่างแบบเป็นเจ้าของระบบเอง และแบบทำสัญญาซื้อฟ้าจากบริษัทที่ดำเนินการ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสยาม
Title: Comparative Economic Analysis of Solar Rooftop Power Generation Systems between System Ownership and Private Power Purchase Agreement: A Case Study of Siam University
ผู้วิจัย:
Researcher:
ยงยุทธ นาราษฎร์ และวิภาวัลย์ นาคทรัพย์ – Yongyuth Naras and Wipavan Narksarp
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า) – B. Eng. (Electrical Engineering)
สาขาที่สอน:
Major:
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า – Bachelor of Engineering Program in Electrical Engineering
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2567 (2024)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
นำเสนอและตีพิมพ์ใน proceedings ของการประชุมวิชาการทางวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 47 วันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2567 | The 47th Electrical Engineering Conference (EECON-47)  Click

บทคัดย่อ

     บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาระหว่างแบบเป็นเจ้าของระบบเองและแบบทำสัญญาซื้อไฟฟ้าจากบริษัทที่ดำเนินการ โดยใช้กรณีศึกษาของมหาวิทยาลัยสยาม การวิเคราะห์ประกอบด้วยการคำนวณต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยไฟฟ้าปรับเฉลี่ย และมูลค่าปัจจุบันสุทธิของทั้งสองทางเลือก ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบที่เป็นเจ้าของระบบเองมีผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยมีค่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยไฟฟ้าปรับเฉลี่ยที่ต่ำกว่า และมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิที่สูงกว่ารูปแบบทำสัญญาซื้อไฟฟ้าจากบริษัท สรุปได้ว่ารูปแบบเป็นเจ้าของระบบเองมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ที่สูงกว่ารูปแบบทำสัญญาซื้อไฟฟ้าจากบริษัทที่ดำเนินการ โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่ต้นทุนของระบบต่ำลง ในขณะที่อัตราค่าไฟฟ้ามีแนวโน้มสูงขึ้น

คำสำคัญ: เซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา, ระบบผลิตพลังงานไฟฟ้า, มูลค่าปัจจุบันสุทธิ


Abstract

     This paper presents a comparative economic analysis of solar rooftop power generation systems between system ownership and private power purchase agreements using Siam University as a case study. The analysis includes the calculation of levelized cost of electricity (LCOE) and net present value (NPV) for both options. The study finds that the system ownership model provides higher returns, with a lower LCOE and a higher NPV compared to the private PPA model. It can be concluded that the system ownership model tends to offer higher economic returns than the private PPA model, especially in the current situation where system costs are decreasing while electricity rates are trending upwards.

Keywords: Solar Rooftop, Power Generation System, Net Present Value


Comparative Economic Analysis of Solar Rooftop Power Generation Systems between System Ownership and Private Power Purchase Agreement: A Case Study of Siam University. 2567 (2024). การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาระหว่างแบบเป็นเจ้าของระบบเอง และแบบทำสัญญาซื้อฟ้าจากบริษัทที่ดำเนินการ กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสยาม. บทความ (Paper). Advisor: ผศ.ดร. ยงยุทธ นาราษฎร์ – Asst. Prof. Dr. Yongyuth Naras. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี|Science and Technology. วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering). วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า – Bachelor of Engineering Program in Electrical Engineering. วศ.บ. (วิศวกรรมไฟฟ้า) – B. Eng. (Electrical Engineering). Bangkok: Siam University

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 24
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print