การออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติ

Last modified: June 24, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: การออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติ
Research Article: Design and Fabrication of Prototyping Automatic Noodle Flavoring Machine
ผู้เขียน/Author: ปภาวิน วงค์ทา, พชร แก้วจันทึก, อภิวิชญ์ แพฟืน, ปฤษธฤต สารพร, กรีฑา สมเกียรติกุล, ชินธันย์ อารีประเสริฐ, ชูตระกูล ศิริไพบูลย์, ธัญญะ เกียรติวัฒน์/ Paphawin Wongtar, Potchara Kaewjuntuek, Apiwit Phaefurn, Prysathyd Sarabhon, Kreetha Somkeattikul, Chinnathan Areeprasert, Chootrakul Siripaiboon, Thanya Kiatiwat
Email: chootrakulsiripaiboon@gmail.com
สาขาวิชา/คณะ: สาขาวิชา วิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Faculty of Engineering in Mechanical Engineering,  Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ปีพิมพ์ 25 ฉบับที่ 2 (2562) 36-41

เอกสารอ้างอิง

ปภาวิน วงค์ทา, พชร แก้วจันทึก, อภิวิชญ์ แพฟืน, ปฤษธฤต สารพร, กรีฑา สมเกียรติกุล, ชินธันย์ อารีประเสริฐ, ชูตระกูล ศิริไพบูลย์, ธัญญะ เกียรติวัฒน์. (2562).  การออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติ. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, 25(2), 36-41.


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติสำหรับปรุงก๋วยเตี๋ยวต้มยำซึ่งมีเครื่องปรุงหลาย ชนิดทั้งแบบที่เป็นของแข็งและของเหลว เพื่อความถูกต้องแม่นยำและเที่ยงตรงในการป้อนเครื่องปรุงแต่ละครั้ง กลไกจะทำงานด้วย ระบบนิวเมติกส์ซึ่งควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติโดยใช้ PLC และสามารถสั่งการผ่านหน้าจอสัมผัส โดยแบ่งเครื่องปรุงเป็น 2 ประเภท 7 ชนิดเครื่องปรุง คือ เครื่องปรุงประเภทของแข็ง ได้แก่ กุ้งแห้ง น้ำตาล ถั่วลิสงป่น และพริกป่น เครื่องปรุงประเภทของเหลวได้แก่ น้ำปลา น้ำส้มสายชู และน้ำเชื่อม โดยในส่วนของการออกแบบจะมีใบกวนอยู่ภายในฮอปเปอร์บรรจุเครื่องปรุงของแข็ง และเพิ่มความ ดันในคอนเทนเนอร์บรรจุเครื่องปรุงของเหลว เพื่อให้ปริมาณของเครื่องปรุงทุกชนิดที่ป้อนออกมาเท่ากันทุกครั้งและนำไปทดสอบความ แม่นยำและเที่ยงตรงในการป้อนเป็นจำนวน 20 ครั้งพบว่า ได้น้ำหนักเครื่องปรุงรวมทั้ง 2 ชนิด มีน้ำหนักรวมเฉลี่ยเท่ากับ 53.10 กรัม คิดเป็นความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยเท่ากับ 0.19 % เทียบจากค่าที่ตั้งไว้จากสูตรของเจ้าของสูตรเท่ากับ 53 กรัม ซึ่งการป้อนเครื่องปรุงมี ความแม่นยำเที่ยงตรง และไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางรสชาติเมื่อรับประทาน

คำสำคัญ: เครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติ, ระบบอัตโนมัติ, นวัตกรรมการผลิตอาหาร


ABSTRACT

The objective of this research is to design and fabricate an innovative automatic noodle flavoring machine of a well-known “Tom Yam” spicy noodle. Each ingredient should be fed with precision and accuracy so a pneumatic system was controlled by an industrial PLC. This machine can be interacted with users by a touch screen. Two types of ingredient are needed for flavoring the spicy noodle: a solid flavoring such as dried shrimp, sugar, peanut powder, and chili powder and a liquid flavoring such as fish sauce, vinegar, and syrup. In part of the design, the homogeneity of the ingredient feeding was ensured by assembling an agitator inside hopper of solid flavoring and controlling the pressure in the container of liquid. The testing result showed that the weight of total ingredients was 53.10 grams with variation of 0.96% over the standard. The flavoring process was precise and accurate; therefore, the taste of the spicy noodle was not changed from the original man-flavoring process.

Keywords:  Noodle flavoring machine, Ingredient feeding machine, Food automation.


การออกแบบและสร้างต้นแบบเครื่องปรุงก๋วยเตี๋ยวอัตโนมัติ|Design and Fabrication of Prototyping Automatic Noodle Flavoring Machine

Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 507
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code