รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระดับปฐมวัย

Last modified: October 7, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระดับปฐมวัย
Educational Model to Enhance the Quality of Life for Children with Special Needs in Early Childhood
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายวรพล ธุลีจันทร์
Mr. Woraphon Thuleechan
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเรือตรีหญิง สุภัทรา เอื้อวงศ์
Asst. Prof. R. Adm. Supathra Urwongse Ph.D.
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การบริหารการศึกษา
Educational Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019

การอ้างอิง|Citation

วรพล ธุลีจันทร์. (2562). รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระดับปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Thuleechan W. (2019). Educational model to enhance the quality of life for children with special needs in early childhood. (Doctoral dissertation). Bangkok: Graduate Schools, Siam University.


บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย และเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย โดยขั้นตอนการวิจัย ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบ โดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิด้านคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ในการจัดการการศึกษา และระดับคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ และครูผู้สอน จำนวน 486 คน ขั้นตอนที่ 3 ร่างรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย ขั้นตอนที่ 4 ประเมินร่างรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย โดยการประชุมสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือสถิติพื้นฐาน ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

  1. องค์ประกอบของการจัดการศึกษา และคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย ด้านคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย 7 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) ด้านสุขภาพทางร่างกาย 2) ด้านสิ่งแวดล้อม 3) ด้านการศึกษา 4) ด้านอารมณ์และจิตใจ 5) ด้านสัมพันธภาพทางสังคม 6) ด้านสัมพันธภาพทางครอบครัว และ 7) ด้านภาคีเครือข่าย ด้านการจัดการศึกษา 6 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) ด้านกระบวนการเรียนการสอน 2) ด้านการบริหารจัดการ 3) ด้านครู 4) ด้านหลักสูตรสถานศึกษา 5) ด้านการวัดและประเมินผล และ 6) ด้านบรรยากาศและสภาพแวดล้อม
  2. สภาพปัจจุบันของคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ย 3.74 อยู่ในระดับมาก ภาพรวมของการจัดการศึกษา สภาพปัจจุบันที่ปฏิบัติ มีคะแนนเฉลี่ย 3.60 อยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ มีคะแนนเฉลี่ย 4.71 อยู่ในระดับมากที่สุด
  3. 3. รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 แนวทางการจัดการศึกษา ส่วนที่ 3 การนำรูปแบบไปใช้ ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ และการประเมินรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ระดับปฐมวัย จำนวน 4 ด้าน 1) ด้านความเหมาะสม 2) ด้านความสอดคล้อง 3) ด้านความมีประโยชน์ และ 4) ด้านความเป็นไปได้ ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ: การจัดการศึกษา, คุณภาพชีวิต, เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ


Abstract

The purpose of this research were: (1) to explore the components of the quality of life of children with special needs in early childhood; (2) to investigate the current and desirable conditions in education management for quality of life development of children with special needs in early childhood; and (3) to develop an educational management model to improve the quality of life for children with special needs in early childhood. The research procedures had the following steps: 1) exploration of components by interviewing experts in educational management and experts in quality of life of children with special needs in early childhood; 2) investigation of current and desirable conditions for managing education and the quality of life for children with special needs in early childhood where questionnaires were sent to collect data from 486 people, including school administrators, heads of the academic administration and teachers; 3) generation of the educational management models for quality of life development of children with special needs in early childhood; and 4) evaluation of the educational management model by means of seminar-based meeting with 9 experts. Data was analyzed using frequency, percentage, mean values and standard deviation as well as content analysis.

The result revealed: (1) The components of educational management and the quality of life of children with special needs in early childhood in terms of quality of life of children aspect consisted of 7 components: 1) physical components; 2) environmental components; 3) educational components;    4) emotional and mental components; 5) Social relationships components; 6) family relationships components and 7) network partnership components. For educational management aspect, 6 components were found: 1) teaching and learning processes; 2) management; 3) teachers; 4) school curriculum; 5) measurement and evaluation; and 6) atmosphere and environment. (2) Overall, the current condition of the quality of life for children with special needs in early childhood was rated at a high level (an average score of 3.74), whereas the educational management was also rated at a high level (an average score of 3.60). The desired conditions were rated at the highest level (an average score of 4.71). (3) Educational models to enhance the quality of life for children with special needs in early childhood consisted of 4 parts including introduction, educational management, model application and conditions for achievement. Evaluation of educational management models for quality of life development of children with special needs in early childhood in terms of 4 aspects: 1) suitability;  2) consistency; 3) usefulness; and 4) feasibility revealed that all aspects were rated at the highest level.

Keywords: Educational, Quality of Life, Children with Special Needs.


 รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระดับปฐมวัย | Educational Model to Enhance the Quality of Life for Children with Special Needs in Early Childhood

Doctor of Philosophy in Leadership and Innovation in Educational Administration, Siam University, Thailand

Related:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1116
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code