ผลของการให้การปรึกษาในการช่วยเลิกบุหรี่ของโรงพยาบาลบางบัวทอง

Last modified: May 18, 2022
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: ผลของการให้การปรึกษาในการช่วยเลิกบุหรี่ของโรงพยาบาลบางบัวทอง
Research Article: Effect of intensive smoking cessation counseling in Bangbuathong hospital
ผู้เขียน/Author: พุทธวรรณ ชูเชิด, พิไลพรรณ แก้วแก่นตา, พิมพ์ลภัส บัวครื้น
Puthawan Choocherd, Pilaipun Kaewkanta & Pimlaphat Buakhruen
Email: puthawan.cho@siam.edu / pilaipun.kae@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty: Faculty of Nursing,  Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่: การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 18 “Tobacco and Lung Health” วันที่ 20-21 มิถุนายน 2562, ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)

การอ้างอิง/citation

พุทธวรรณ ชูเชิด, พิไลพรรณ แก้วแก่นตา และ พิมพ์ลภัส บัวครื้น. (2562). ผลของการให้การปรึกษาในการช่วยเลิกบุหรี่ของโรงพยาบาลบางบัวทอง. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 18 “Tobacco and Lung Health” (หน้า…). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) มหาวิทยาลัยมหิดล.


บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ในจำนวนผู้ที่สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จมีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น ที่ต้องใช้การบำบัดด้วยยาร่วมด้วย แสดงให้เห็นว่าแนวทางการให้คำปรึกษา การให้กำลังใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญในการช่วยเลิกบุหรี่เป็นอย่างมาก

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของการบำบัดโดยการให้การปรึกษาในการช่วยเลิกบุหรี่โดยไม่ใช้ยาในผู้รับบริการที่คลินิกฟ้าใส โรงพยาบาลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

การดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยในรูปแบบการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ที่คลินิกฟ้าใส โรงพยาบาลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้ารับการบำบัดโดยสมัครใจในช่วงระหว่างเดือน มกราคม –มีนาคม 2561 จำนวน 66 คน เข้ารับการบำบัดโดยการให้การปรึกษา 1 เดือน ติดตามผลเป็นระยะเวลา 6 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ร้อยละ 81.82 กลุ่มอายุที่สามารถเลิกได้สำเร็จมากที่สุดคือ กลุ่มวัยรุ่นตอนปลาย (18-24 ปี) ร้อยละ 66.67 ผู้ที่มีระดับของการติดนิโคตินน้อย เลิกได้สำเร็จ ร้อยละ 68.52 ผู้ที่มีระดับของการติดนิโคตินมาก เลิกได้สำเร็จ ร้อยละ 31.48 ระดับความพร้อมในการเลิกบุหรี่ที่สามารถเลิกได้สำเร็จมากที่สุดคือ ขั้นลังเลใจ (contemplation) ร้อยละ 42.59 ระยะเวลาที่ใช้เลิกได้ผลมากที่สุดคือคือ 3 เดือน ร้อยละ 35.18

สรุปและข้อเสนอแนะ: การให้การปรึกษาช่วยให้สามารถเลิกและลดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ลงได้ ดังนั้น การเลือกแนวทางการให้การปรึกษาทั้งแบบรายบุคคล รายกลุ่มและการให้การปรึกษาทางโทรศัพท์อย่างเหมาะสมกับบริบทของผู้รับบริการมีส่วนช่วยให้การเลิกบุหรี่สำเร็จโดยไม่ต้องใช้ยาหรือสารนิโคตินทดแทน

คำสำคัญ: การให้ปรึกษา, การเลิกบุหรี่, ผู้สูบบุหรี่


ABSTRACT

Introduction: In the number of people who can successfully quit smoking, only 1 in 3 must use the combination therapy. Therefore counseling approach and environmental changes are important in helping to quit smoking.

Objectives: R2R (Routine to Research) aims to evaluated the effectiveness of behavioral interventions including individual, group and telephone counseling for smoking cessation in the field, through a smoking cessation clinic Bangbuatong hospital, Nonthaburi province.

Methods: Sample were 66 smokers who enrolled in 1 month course during January– March 2018 and follow up for 6 months at the end of therapy. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and content analysis.

Results: The results showed that continuous abstinence rates at the end of therapy were 81.82 %. The late adolescents is the most successful group to quit smoking were 66.67%. The low levels of nicotine addiction completed were 68.52 % and the high level of nicotine addiction completed were 31.48%. The level of readiness to quit smoking that is most successful is the contemplation were 42.59 %. Sustained abstinence rates in 3 months were 35.18 %.

Conclusion and Recommendations: Providing appropriate counseling can help smokers to quit and reduce smoking behavior without pharmacotherapy or nicotine replacement.

Keywords:  counseling, smoking cessation, smokers.


ผลของการให้การปรึกษาในการช่วยเลิกบุหรี่ของโรงพยาบาลบางบัวทอง Effect of intensive smoking cessation counseling in Bangbuathong hospital

Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 468
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles