ตัวแบบการจัดการสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย

Last modified: December 1, 2022
You are here:
Estimated reading time: 3 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ตัวแบบการจัดการสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย
Effective Infirmary Management Models from the Perspective of Post Transgender Surgery Patients in Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางโสภา ยอดคีรีย์
Mrs. Sopa Yodkeeree
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี, ศาสตราจารย์วุฒิคุณ ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์
Assistant Professor Dr. Chalermkiat Wongvanichtawee, Adjunct Professor Dr. Porntep Siriwanarangsun, M.D.
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2563
2020
Published/แหล่งเผยแพร่:
โสภา ตะพัง และ จิดาภา ถิรศิริกุล. (2559). การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการบริหารจัดการธุรกิจศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 4 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ “NICHSS 2/2016”, 7 ตุลาคม 2559. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/247063/167682 
โสภา ยอดคีรีย์. (2563). ประสิทธิพลของสถานพยาบาลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศประเทศไทย. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2564). (TCI กลุ่ม 2)

โสภา ยอดคีรีย์, เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี, พรเทพ ศิริวนารังสรรค์, ยุวัฒน์ วุฒิเมธี และ จิดาภา ถิรศิริกุล. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิพลของสถานพยาบาลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 (สิงหาคม 2564). (TCI กลุ่ม 1)

การอ้างอิง|Citation

โสภา ยอดคีรีย์. (2563). ตัวแบบการจัดการสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Yodkeeree S. (2020). Effective infirmary management models from the perspective of post transgender surgery patients in Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “ตัวแบบสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงการบริหารจัดการของสถานพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศ ได้แก่ นโยบายภาครัฐ ภาพลักษณ์องค์กร การจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร และการจัดการการตลาด ที่มีอิทธิพลต่อสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย และเพื่อศึกษาสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย และเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะในการส่งเสริมสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mix Method) โดยใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งเก็บรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างจากผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย จำนวน 360 คน  และเชิงคุณภาพจำนวน 13 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยเชิงปริมาณ ทั้งนี้สถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ไคสแควร์ (Chi-Square :X2 ) ความสัมพันธ์กันเองของตัวแปร (Multicollinearity) และใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างหรือแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการรวมรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ แล้ววิเคราะห์สร้างข้อสรุปทั่วไป

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยเชิงการบริหารจัดการของสถานพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศ ได้แก่ นโยบายภาครัฐ (x̄=4.72) ภาพลักษณ์องค์กร (x̄=4.75) การจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (x̄=4.75) และการจัดการการตลาด (x̄=4.74) ที่มีอิทธิพลต่อสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย (x̄=4.80) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ทั้งนี้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย คือ นโยบายภาครัฐ และการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรมีอิทธิพลทางตรงต่อสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย และทางอ้อมผ่านภาพลักษณ์องค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนภาพลักษณ์องค์กร มีอิทธิพลทางตรงต่อสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย และทางอ้อมผ่านการจัดการการตลาดอย่างมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการจัดการการตลาดมีอิทธิพลทางตรงต่อสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทยอย่างมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R-Squared) ของสมการโครงสร้างพบว่าตัวแปรอิสระนโยบายภาครัฐภาพลักษณ์องค์กร การจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร และการจัดการการตลาด สามารถร่วมกันอธิบาย ความแปรปรวนของสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย ได้ร้อยละ 86 ซึ่งข้อมูลเชิงปริมาณสอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพ

และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริมสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทยนั้น ควรสนับสนุนให้มีการกำหนดอัตราค่ารับบริการที่มีมาตรฐานในทุกสถานพยาบาล รัฐบาลควรสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศของโลก และรัฐบาลควรมีมาตรการแก้ไขปัญหาผู้รับบริการภายหลังศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศแล้ว ส่วนข้อเสนอแนะในเชิงปฏิบัติ โรงพยาบาลที่เน้นการประกอบธุรกิจศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศควรมีภาพลักษณ์องค์กรที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของตน ผู้บริหารโรงพยาบาลควรมีการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรด้วยการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง และผู้บริหารโรงพยาบาลควรสร้างการยอมรับของผู้รับบริการผ่านการรักษามาตรฐานการให้บริการที่คงเส้นคงวา เพื่อรักษาฐานลูกค้าและสร้างฐานลูกค้าใหม่ผ่านการบอกต่อ (Words of Mouths) รวมทั้งการสร้างการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) และการนำเอาการบริการดิจิทัล (Digital Service) มาปรับใช้ในการบริการกลุ่มผู้รับการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศ

คำสำคัญ: การจัดการ, สถานพยาบาล, ศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศ


Abstract

The objectives of this research were to study management factors of effective infirmaries for transgender surgery, such as public policy, organizational image, total quality management, and marketing mix factors effecting toward transgender surgery facilities, to study the level of effective infirmary management models from the perspective of transgender patients in Thailand, and also to suggest how to improve existing effective infirmary model for transgender patients in Thailand. The methodology of the research was mix method including the quantitative and qualitative research. Data was collected from 360 people and 10 cases of the transgender operation patients for the quantitative and qualitative research respectively. The questionnaire was the quantitative research tool and the stats were Mean, Percentage, S.D., Chi-Square, Multicollinearity. The semi-structure questionnaire was the tool of qualitative research, then analyzed to generalization.

The results of this research found that: the management factors of the effective infirmary management models from the perspective of post transgender surgery such as the public policy (x̄=4.72), the organizational image (x̄=4.75), the total quality management (x̄=4.75), and the marketing mix (x̄=4.74) effecting toward infirmary management models from the perspective of post transgender surgery patients in Thailand (x̄=4.80) at level of Significance 0.01. The management factors such as the public policy and the total quality management were direct effect toward the infirmary management models from the perspective of post transgender surgery patients in Thailand and indirect effect toward the organizational image at level of Significance 0.01. The organizational image was direct effect toward the infirmary management models from the perspective of post transgender surgery patients in Thailand and indirect effect toward the marketing mix at level of Significance 0.01. Besides, the level of effective the infirmary management models from the perspective of post transgender surgery patients in Thailand was high (x̄=4.80). When considering adjusted R-Squared of SEM found that the public policy, the organizational image, the total quality management, and the marketing mix can explain the variance of the effective infirmary management models from the perspective of post transgender surgery 86% that corresponded to the result of qualitative data.

The policy suggestions to improve the effective infirmary management models from the perspective of post transgender surgery patients in Thailand were to regulate the standard of the service rate for the transgender surgery infirmary, the government should support Thailand to be the center of transgender surgery procedures of the world, also have the method to solve the problems of post transgender surgery patients. In additions, the management suggestions were that the infirmary should have the own identity of organizational image, the infirmary executives should have the total quality management all times, and the infirmary executives should try to get the acceptation of the patients to maintain old customers and to create the new customers by words of mouths, including to use digital marketing, and to use digital service to serve customers.

Keywords:  Management, Infirmary, Transgender Surgery


ตัวแบบการจัดการสถานพยาบาลที่มีประสิทธิผลในทัศนะของผู้รับบริการศัลยกรรมตกแต่งแปลงเพศในประเทศไทย | Effective Infirmary Management Models from the Perspective of Post Transgender Surgery Patients in Thailand

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Related

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 399
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print