ต้นแบบการบริหารจัดการคุณภาพการประกอบการธุรกิจรังนกในประเทศไทย

Last modified: November 26, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ต้นแบบการบริหารจัดการคุณภาพการประกอบการธุรกิจรังนกในประเทศไทย
A Quality Management Prototype of Swiftlet’s Nest Business in Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวชยาพร กระบี่ทอง
Miss Chayaporn Krabeethong
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรณ แสงสุวรรณ
Professor Dr. Yuwat  Vuthimedhi, Assistant Professor Dr. Thanawan  Sangsuwan
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2563
2020
Published/แหล่งเผยแพร่:
ชยาพร กระบี่ทอง และ จิดาภา ถิรศิริกุล. (2559). สภาพแวดล้อมของการบริหารจัดการการพัฒนาคุณภาพของผู้ประกอบการธุรกิจรังนกในประเทศไทย. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 4 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ “NICHSS 2/2016”, 7 ตุลาคม 2559. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMSNPRU/article/view/253356/169752
ชยาพร กระบี่ทอง. (2564). การจัดการคุณภาพธุรกิจรังนกในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564): หน้า 198-215. (TCI กลุ่ม 2)
ชยาพร กระบี่ทอง. (2564). การจัดการห่วงโซ่อุปทานธุรกิจรังนกแอ่นบ้านในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564). (TCI กลุ่ม 1)

การอ้างอิง|Citation

ชยาพร กระบี่ทอง. (2563). ต้นแบบการบริหารจัดการคุณภาพการประกอบการธุรกิจรังนกในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Krabeethong C. (2020). A quality management prototype of swiftlet’s nest business in Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Management, Siam University.


บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ต้นแบบการบริหารจัดการคุณภาพการประกอบการธุรกิจรังนกแอ่นในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของกประกอบการธุรกิจรังนกแอ่นในประเทศไทย เพื่อศึกษา จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในการดำเนินการของผู้ประกอบการธุรกิจรังนกแอ่น และศึกษาการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการคุณภาพของผู้ประกอบการ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวน 35 คน และการสังเกตการณ์ของการปฏิบัติจริงของกิจการนี้

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ด้านความสามารถในการ พบว่า ผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ มีความเชี่ยวชาญในการสร้างบ้านนกแอ่นเพื่อเลี้ยงนกแอ่น และมีความรู้เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของนกแอ่น แต่ข้อจำกัดทางกฎหมายทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน และการขออนุญาตสร้างบ้านนกแอ่น นอกจากนี้ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ทำให้กิจการรังนกบ้านนกแอ่นถือเป็นกิจการที่ ผิดกฎหมาย อีกทั้งบุคคลทั่วไปยังมีทัศนคติด้านลบกับธุรกิจรังนกเนื่องด้วยเข้าใจว่าเป็นธุรกิจทรมานสัตว์ รวมถึงผู้ประกอบการยังขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  2. มิติด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทานและการจัดการคุณภาพ ผู้ประกอบการในธุรกิจรังนก ตั้งแต่ผู้ประกอบการสร้างบ้านเลี้ยงนก (ต้นน้ำ) ผู้ประกอบการล้างทำความสะอาดรังนก (กลางน้ำ) และผู้ประกอบการจัดจำหน่ายรังนก (ปลายน้ำ) พบว่า มีการกระบวนการบริหารจัดการที่ดี มีสายการทำงานของโครงสร้างองค์กรที่สั้น สามารถบริหารงานได้ด้วยผู้ประกอบการเพียงคนเดียวตลอดห่วงโซ่อุปทาน ส่งผลให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นสูง อีกทั้งการจัดการคุณภาพ พบว่า ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับคุณภาพของรังนก โดยให้มีทักษะ สามารถวางแผนและควบคุมการทำความสะอาดรังนกได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย มีดังนี้ ผู้ประกอบธุรกิจ ต้องมีการวางแผนและควบคุมในการจำหน่ายรังนก เพื่อให้สินค้ารังนกตรงตามความต้องการของลูกค้าและเพียงพอต่อการจำหน่าย อีกทั้งมีการจำหน่ายสินค้ารังนกผ่านช่องทางประมูลเพื่อช่วยระบายสินค้าและควบคุมราคารังนกไม่ให้ตกต่ำ รัฐบาลควรทบทวนเกี่ยวกับกฎหมาย พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ที่ทำให้ไม่สามารถครอบครองนกแอ่น ซากนก รวมถึงผลผลิตที่ได้จากนกแอ่น ให้สามารถทำธุรกิจได้ และออกนโยบายเพื่อควบคุมผู้ประกอบการใช้ทรัพยากร (นกแอ่น) ของประเทศในเชิงธุรกิจอย่างรอบคอบ

คำสำคัญ: รังนกแอ่น, การจัดการคุณภาพ, ห่วงโซ่อุปทาน


Abstract

The objectives of this research entitled, “Quality Management Prototype of Swiftlet’s Nest Entrepreneurship in Thailand,” were to study internal and external environments of swiftlet’s nest business operation in Thailand, to analyse strength, weaknesses, opportunities, and threats in the operation of the bird’s nest entrepreneurs and to study the supply chain management that affected quality management of the entrepreneurs. Using the qualitative research method for this research employed several data collecting tools, including necessary informant interview forms, for 35 stakeholders and the participant observation on the bird’s nest entrepreneurship.

The study results included: 1) In terms of operational capacity, the entrepreneurs had the knowledge and skill to build swiftlet houses and be literate of their life circle. Nevertheless, the limitations came from the law’s impact that prevented the entrepreneurs from applying for loans from a financial institution and requesting a swiftlet house construction license. Moreover, the Wild Animal Reservation and Protection Act of B.E. 2535 made the swiftlet nest business illegal. The study also considered the public’s negative attitude towards the swiftlet nest business because it involved the wildlife’s abuse. The lack of both support from the public and private sectors also affected the entrepreneurs; 2) The dimension of supply chain management and quality management: the entrepreneurs in the bird’s nest business, from entrepreneurs that manufacture birdhouses (upstream) to entrepreneurs that offered birdhouse cleaning services (middle stream) and to the entrepreneurs that distributed birdhouses (downstream), it discovered that they were all arranged in a fair management process, having a short line of organizational structure that helped a sole entrepreneur’s eligibility to run the whole supply chain, which gave high business flexibility. Moreover, in terms of quality management, it was found that the entrepreneurs strove to maintain the quality of the product, with skill and ability to plan and control the sanitation of the products in line with customers’ expectations.

Based on the study results, the recommendations included planning and controlling swiftlet nest distribution to deliver exactly what the customers demand and maintain sufficient supply of the products and distribute them via bidding to liquidate the product sales and control their market price. It is also significant to reconsider amending the Wild Animal Reservation and Protection Act, B.E. 2535, that prohibits swiftlets possession, bird carcass and swiftlet goods, commercially, and more prudent in policy regulation on the entrepreneurs who were commercially utilizing this national resource of the swiftlet.

Keywords:  Swiftlet’s Nest, Quality Management, Supply Chain Management.


ต้นแบบการบริหารจัดการคุณภาพการประกอบการธุรกิจรังนกในประเทศไทย|A Quality Management Prototype of Swiftlet’s Nest Business in Thailand

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Related

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1028
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print