ประสิทธิผลการบริหารจัดการของกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ในประเทศไทย

Last modified: May 15, 2021
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ประสิทธิผลการบริหารจัดการของกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ในประเทศไทย
Effective management of social enterprises in organic food industry in Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางกันยพร ธีรเวคิน
Mrs. Kanyaporn Dhiravegin
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา ถิรศิริกุล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรณ แสงสุวรรณ
Assistant Professor Dr. Jidapa Thirasirikul, Assistant Professor Dr. Thanawan Sangsuwan
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2559
2016

การอ้างอิง/citation

กันยพร ธีรเวคิน. (2559). ประสิทธิผลการบริหารจัดการของกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อทราบสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการที่มี ประสิทธิผลของกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ในประเทศไทย 2) เพื่อวิเคราะห์ คุณลักษณะของการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลของกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหาร อินทรีย์ในประเทศไทย 3) เพื่อเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและเชิงการบริหารจัดการในการ ส่งเสริมประสิทธิผลของกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ในประเทศไทย การวิจัย ครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีกรณีศึกษา คือกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ที่ ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการทําหน้าที่คัดกรององค์การต้นแบบของ กิจการเพื่อสังคม โดยเป็นธุรกิจแปรรูปอาหารเกษตรอินทรีย์จํานวน 6 องค์การ ได้แก่ บริษัท สวน เงินมีมา จํากัด บริษัท เขาค้อทะเลภู จํากัด สหกรณ์กรีนเนท จํากัด โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร โรงเรียนชาวนาและมูลนิธิข้าวขวัญ และร้านบ้านนาวิลิต การวิจัยครั้งนี้ใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ เจาะลึกรายบุคคล การสนทนากลุ่ม และการสังเกตการณ์ ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสําคัญประกอบไปด้วย 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในกิจการเพื่อสังคม หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียของกิจการเพื่อสังคม โดยศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลใน 5 มิติ คือ มิติด้านประสิทธิผล มิติด้านภาวะผู้นํา มิติด้านวัฒนธรรมองค์กร มิติด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียและมิติด้านนโยบายของภาครัฐ

ผลการศึกษาคุณลักษณะร่วมการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลของกิจการเพื่อสังคมค้าน อุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ พบว่า 1) มิติด้านประสิทธิผล ประสิทธิผลการบริหารจัดการกิจการเพื่อ สังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ คือ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ความสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมในทางที่ดีขึ้น เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้ และความสามารถ สร้างความตระหนักในการบริโภคอาหารอินทรีย์ 2) มิติด้านภาวะผู้นํา คุณลักษณะประสิทธิผล ได้แก่ การพัฒนาความรู้การผลิตเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การ พัฒนาความหลากหลายผลิตภัณฑ์และบริการ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม การมีเป้าหมายระยะยาว การบรรลุเป้าหมายร่วมกัน มีแนวคิดให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ และสร้างคุณค่า ร่วมกัน 3) มิติด้านวัฒนธรรมองค์การ คุณลักษณะประสิทธิผล ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน การทํากิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วม การมีศูนย์กลางการเรียนรู้ การฝึกอบรมพนักงานในขณะ ปฏิบัติงาน การประชุมเชิงปฏิบัติการ การนําความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และ บริการ 4) มิติด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คุณลักษณะประสิทธิผล ได้แก่ ความ โปร่งใสในการดําเนินงาน การจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นธรรม การทํางานเป็นทีม มีกิจกรรมรางวัล พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหาร การมีเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น การถ่ายทอดความรู้การบริหารจัดการ ให้ผู้ผลิต การทําเกษตรที่พึ่งพาธรรมชาติอย่างยั่งยืน การจําหน่ายอาหารอินทรีย์คัดสรรวัตถุดิบที่ สะอาดปลอดภัย และการเปิดเผยแหล่งที่มาอาหารอินทรีย์ 5) มิติด้านนโยบายของภาครัฐ นโยบาย สําคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ได้แก่ นโยบายสนับสนุนทางด้านเงินทุน การลดหย่อนภาษีให้ ผู้ประกอบการเพื่อสังคม และการสร้างระบบตลาดคุณภาพ ส่วนปัญหาที่พบได้แก่ ปัญหาต้นทุนการ ผลิตอาหารอินทรีย์สูง ปัญหาการขาดความเชื่อในเรื่องอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ผลิต และปัญหาการ ขาดความรู้ความเข้าใจทางด้านการบริหารจัดการธุรกิจของผู้ประกอบการเพื่อสังคม แนวทางในการ แก้ไขปัญหาได้แก่ ผู้ประกอบการเพื่อสังคมควรสนับสนุนเกษตรกร ในด้านการผลิต ภาครัฐควร ผลักดันนโยบายส่งเสริมการลงทุนให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อสังคม และสร้างแรงจูงใจให้ผู้ผลิตเกษตร อินทรีย์

คำสำคัญ: อุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์, กิจการเพื่อสังคม


Abstract

The objectives of this qualitative research were to 1) understand the current factors that enabled social enterprises (SE) in organic food to effectively manage their business 2) identify common characteristics that which enables organic food social enterprises to successfully manage their business 3) provide recommendation for policy setting and management of SE organic food promotion in Thailand. Six example cases of organic food social enterprises in Thailand were selected. These SEs were certified by an accredited governing body. The studied SEs were 1) Suan Nguen Mee Ma Ltd. 2) Khaokho Talaypu Ltd. 3) Green Net Cooperative 4) Chao Phraya Abhaibhubate Hospital 5) Farmer School of Khao-Khwan Foundation 6) Baannavilit. In-depth interviews were conducted during this research along with focus groups studies and personal observation. Key informants comprised of 4 main groups which were SE operators, academic experts, related government administrations, and stakeholders. Five dimensions of effective management of SE Organic foods were 1) Effectiveness 2) Leadership skills 3) Corporate culture 4) Stakeholders management 5) Governmental Policy

Findings from the study of common characteristics concluded that 1) management effectiveness comprised of SE’s ability to manage social and environmental issues, ability to influence social change, enabling producers and farmers to be self sufficient, and the ability to generate awareness. 2) Effective characteristics of SE Leaders included ability to develop products, packaging improve manufacturing process, expansion of product portfolio and superior customer service. Moreover, an effective leader in this industry must be able to leverage technologies that would further improve their business. Other important characteristics of an effective leader in this industry included having long term goals, being result oriented and promoting an environment of mutual value sharing amongst stakeholders. 3) Characteristics of an effective SE corporate culture were organizations that promoted inclusiveness of their associates, had center of learning excellence, motivated their employees, conducted on the job training, conducted occasional workshops, utilized technology in their product development and services. 4) Characteristics of effectively managing stakeholders in SE were transparency, fair compensation, teamwork, recognition, rewards, inclusiveness, dividends, knowledge sharing, sustainable farming, and clean source of raw materials and promotion of product origin. 5) Effective government policies included investment promotion, tax exemption/deductions for SEs, creating quality market system. Current challenges and issues that which SEs are facing included high manufacturing costs, low confidence and belief in organic food by farmers, and lack of management skills. In order to improve, SE must support farmers during manufacturing process. Moreover, the government should promote investment policies that would benefit SEs. This will ensure that SEs will continuously be motivated.

Keywords:  Organic food industry, Corporate Social Responsibility.


ประสิทธิผลการบริหารจัดการของกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ในประเทศไทย / Effective management of social enterprises in organic food industry in Thailand

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 569
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print