- KB Home
- -ประเภทของโครงการ | Project Type
- บทความวิชาการ | Academic Article
- TCI
- ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
ชื่อเรื่อง: | ผลของ โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อความรู้ และพฤติกรรมการป้องกัน โรคไตเรื้อรัง ของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง |
Title: | Effects of a Self -Management Promotion Program using the Line Application on Knowledge and Chronic Kidney Disease Prevention Behaviors among Risked Patients |
ผู้วิจัย: Researcher: |
รัฐกานต์ ขําเขียว, ศนิกานต์ ศรีมณี | Ruttakarn Kamkhiew, Sanikan Seemanee |
หลักสูตรที่สอน: Degree: |
พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science) |
สาขาที่สอน: Major: |
พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science |
สังกัดคณะวิชา: Faculty of study: |
พยาบาลศาสตร์ (Nursing) |
ปีการศึกษา: Academic year: |
2567 (2024) |
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่: Published: |
วารสารการพยาบาลและการศึกษา ปีที่ 18 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2568) หน้า 1-13 | Journal of Nursing and Education Vol.18 No.. April-June 2025 pp.1-13 Click |
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีโรคประจําตัวที่เป็นสาเหตุของโรคไตเรื้อรัง ที่มีระยะเวลาเป็นโรคตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จํานวน 64 คน คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเป็นกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติจํานวน 32 คนและกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามปกติร่วมกับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ สื่อการสอน คือบัญชีทางการของไลน์ประกอบด้วยวิดีทัศน์และอินโฟกราฟฟิก 8 เรื่อง จํานวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้ และแบบวัดระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติไคสแควร์ และสถิติทีผลการวิจัยพบว่า 1.หลังการทดลองคะแนนเฉลี่ยความรู้และพฤติกรรมโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05, .01 และ .001 สําหรับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติระหว่างก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่าง 2.คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมด้านการรับประทานอาหารและยา ด้านการออกกําลังกาย และด้านการดูแลตนเองและพบแพทย์ตามนัดหลังการทดลองในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ดังนั้นพยาบาลชุมชนสามารถนําโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ด้านความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในชุมชนที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้ เพื่อส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้
คำสำคัญ: ความรู้โรคไตเรื้อรัง, โปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเอง, พฤติกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง
Abstract
This quasi-experimental study aimed to examine the effects of a self-management promotion program using the LINE application on knowledge and preventive behaviors related to chronic kidney disease (CKD) among at-risk patients in a community setting. The participants were individuals who had been diagnosed for at least one year with chronic diseases that are known causes of CKD. The purposive sampling method was used to assign participants into a control group (n = 32), who received standard nursing care, and an experimental group (n = 32), who received standard care in conjunction with the self-management promotion program via the LINE application over a period of six weeks. The educational materials were delivered through an official LINE account. They included eight topics presented in video and infographic formats. Data collection instruments consisted of a knowledge assessment and a CKD prevention behavior questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, chi-square tests, and t-tests. The results were as follows.1. The post-intervention mean knowledge score of the experimental group was significantly higher than that of the control group at the .05 level.2. In the experimental group the post-intervention mean scores for dietary and medication behaviors, exercise behaviors, self-care and follow-up adherence behaviors were significantly higher than those in the control group at the .001 level. Therefore, community nurses can implement this LINE-based self-management promotion program to enhance CKD-related knowledge and preventive behaviors among at-risk patients in the community.
Keywords: Chronic Kidney Disease Knowledge, Self-Management Promotion Program, Preventive Behavior for Chronic Kidney Disease
อาจารย์รัฐกานต์ ขำเขียว – Miss Ruttakarn Kamkhiew, ดร.ศนิกานต์ ศรีมณี – Dr. Sanikan Seemanee. 2567 (2024). Effects of a Self -Management Promotion Program using the Line Application on Knowledge and Chronic Kidney Disease Prevention Behaviors among Risked Patients. บทความ (Paper). วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science. พยาบาลศาสตร์ (Nursing). พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) – Bachelor of Nursing Science. พย.บ. (สาขาพยาบาลศาสตร์) – B.N.S. (Nursing Science). Bangkok: Siam University