แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อการแก้ไขปัญหานักเรียนไร้สัญชาติของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี

Last modified: May 31, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min

Title: Guidelines for Developing Student Support System for Stateless Students in Schools Under the Primary Educational Service Area Office, Kanchanaburi

ชื่อโครงการ: แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อการแก้ไขปัญหานักเรียนไร้สัญชาติของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี

Author: Miss Chachachaneeya Chawanpanyawong

ชื่อผู้วิจัย: นางสาวชัชชฌาณีญา ชวาลปัญญาวงศ์

Advisor: ดร.นลินี สุตเศวต – Dr. Nalinee Sutsavade

Degree: ศษ.ม. (ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา) – M.Ed. (Leadership and Innovation in Educational Administration)

Major: ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Master of Education Program in Leadership and Innovation in Educational Administration

Faculty: บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School)

Academic year: 2566 (2023)

Published: แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อการแก้ไขปัญหานักเรียนไร้สัญชาติของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี ใน การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 8 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 4 “ทิศทางการศึกษาไทยเพื่อตอบโจทย์ตลาดแรงงานในยุคดิจิทัล” วันที่ 24 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 คลิก  https://www.dpu.ac.th/ces/journalofed-apheit%e2%80%8b.html


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของกลุ่มนักเรียนไร้สัญชาติของของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี และ 2. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อการแก้ไขปัญหานักเรียนไร้สัญชาติของของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้ดูแลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และครูประจำชั้น จำนวน 408 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1.แบบสอบถามสภาพปัญหากลุ่มนักเรียนไร้สัญชาติ และ 2.แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพปัญหากลุ่มนักเรียนไร้สัญชาติ ด้านการศึกษาภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.53, S.D. = 0.66) มีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ขาดโอกาสในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น (x ̅= 4.66, S.D. = 0.47) ไม่มีเงินในการซื้อแบบเรียน เสื้อผ้า อาหาร รวมทั้งค่าพาหนะเดินทาง (x ̅= 4.65, S.D. = 0.65) ด้านตัวนักเรียนและครอบครัว ภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.47, S.D. = 0.61) มีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุดคือ ที่อยู่อาศัยอยู่ห่างไกลทำให้การเดินทางมาเรียนยากลำบาก (x ̅= 4.85, S.D. = 0.36) เข้าเรียนตอนอายุมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และต้องออกกลางคันด้วยปัญหาต่างๆ (x ̅= 4.74, S.D. = 0.44) ตามลำดับ 2. แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อการแก้ไขปัญหานักเรียนไร้สัญชาติในด้านการศึกษา ได้แก่ 1.สร้างการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน2.การบริหารงานขององค์กรของรัฐในระดับนโยบาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ จะต้องให้ความเสมอภาคกับนักเรียนไร้สัญชาติโดยเท่าเทียม 3. โรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานของครูหรือบุคคลากรที่ดูแลงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไร้สัญชาติให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานมากขึ้น ด้านตัวนักเรียนและครอบครัว แนวทางการพัฒนา 1.แนวทางการดำเนินงาน โรงเรียนอาจจะใช้วิธีการเก็บสถิติการมาโรงเรียน มีกิจกรรมการไปพบนักเรียนและผู้ปกครอง โดยใช้ล่ามอาสา 2.โรงเรียนควรมีกิจกรรมที่สร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักและเห็นความสำคัญของการศึกษา 3. โรงเรียนต้องสร้างความเข้าใจของการอยู่ร่วมกันอย่างให้เกียรติ ไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม ที่นักเรียนปกติควรแสดงต่อนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มพิเศษ

คำสำคัญ: นักเรียนไร้สัญชาติ, ระบบดูแลช่วยเหลือ, เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, กาญจนบุรี 


Abstract

This research has two objectives: 1. to study the problem situation of stateless students in schools under the Primary Educational Service Area Office, Kanchanaburi, and 2. to present guidelines for developing student support system for Stateless Students in Schools under The Primary Educational Service Area Office, Kanchanaburi. The sample group was purposefully selected, including administrators, teachers taking care of students and classroom teachers. Number of people: 408 people. The tools used in this research include: 1. a questionnaire about the problems of stateless students; and 2. a structured interview form. Statistics used in data analysis are frequency, percentage, Mean, standard deviation, and content analysis.
The research results found that:
Problems in stateless student groups In the overall education aspect, there
were Problems at a high level (x ̅= 4.53, S.D. = 0.66). The problem at the highest level was the lack of opportunities for further education at a higher level (x ̅= 4.66, S.D. = 0.47). No money to buy textbooks, clothes, food, and transportation (x ̅= 4.65, S.D. = 0.65) On the student and family sides Overall, there are problems at a high level (x ̅= 4.47, S.D. = 0.61). There are problems at the highest level. Living far away makes traveling to study difficult (x ̅= 4.85, S.D. = 0.36). Entering school at an age older than the specified age. and had to drop out due to various problems (x ̅= 4.74, S.D. = 0.44), respectively.

Guidelines for developing student support system for stateless students in schools. 2.1 The aspect of education 1. Creating participation from relevant agencies, both public and private. 2. The management of government organizations at the policy level. The Educational Service Area Office must be equal to the equality given to stateless students. 3. Schools or related agencies, the work skills of teachers or personnel in charge of the stateless student assistance system should be promoted to increase their knowledge and ability to do their jobs. 2.2 The aspect of student and family sides Development guidelines; 1. Operational guidelines Schools may use methods to collect school attendance statistics. There are activities to meet students and parents, by using volunteer interpreters. 2. The school should have activities that create knowledge, understanding and see the value education. 3. Schools must create an understanding of how to live together with respect, not disrespect, normal students should show to students in at-risk groups or special groups.

Keywords: stateless students, support system, Primary Educational Service Area,Kanchanaburi


Guidelines for Developing Student Support System for Stateless Students in Schools Under the Primary Educational Service Area Office, Kanchanaburi / แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือเพื่อการแก้ไขปัญหานักเรียนไร้สัญชาติของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี

6319000008 นางสาวชัชชฌาณีญา ชวาลปัญญาวงศ์ Miss Chachachaneeya Chawanpanyawong 2566 (2023) Guidelines for Developing Student Support System for Stateless Students in Schools Under the Primary Educational Service Area Office, Kanchanaburi วิทยานิพนธ์ (Thesis), Advisor: ดร.นลินี สุตเศวต – Dr. Nalinee Sutsavade, ปริญญาโท (Master’s Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Master of Education Program in Leadership and Innovation in Educational Administration, ศษ.ม. (ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา) – M.Ed. (Leadership and Innovation in Educational Administration), Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, Graduate School 2023, IMBA, IMBA 2023, Independent Study, Independent Study 2023, Master of Business Administration, Master of Business Administration (International Program) 2023, Master of Business Administration 2023, ปริญญาโท (Master’s Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Master of Education Program in Leadership and Innovation in Educational Administration,ศษ.ม. (ภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา) – M.Ed. (Leadership and Innovation in Educational Administration)

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 153
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles