ปัญหาการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์: ศึกษากรณีผลิตภัณฑ์อาหารไทย (ผัดไทยเส้นจันท์)

Last modified: July 14, 2019
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ปัญหาการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ : ศึกษากรณีผลิตภัณฑ์อาหารไทย (ผัดไทยเส้นจันท์)
Problems of the Protection of Geographical Indications a Case Study of Thai Food Product (Padthai Senjun)
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายไชยณรงค์ วิริยะผล
Mr. Chainarong Viriyaphol
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีพฤทธิ์ ศิริศักดิ์บรรจง
Associate Professor Dr. Tavephut Sirisakbanjong
ระดับการศึกษา:
Degree:
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
Master of Laws Program
สาขาวิชา:
Major:
นิติศาสตร์
Laws
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2558
2016

การอ้างอิง/citation

ไชยณรงค์ วิริยะผล. (2558). ปัญหาการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์: ศึกษากรณีผลิตภัณฑ์อาหารไทย (ผัดไทยเส้นจันท์). (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารไทยประเภทผัดไทยเส้นจันท์คือหนึ่งในสัญลักษณ์ของความเป็นคนไทย ซึ่งผลิตภัณฑ์อาหารดังกล่าวเกิดขึ้นจากภูมิปัญญาการใช้วัตถุดิบคือเส้นจันท์อันมีแหล่งกาเนิด ณ จังหวัดจันทบุรีร่วมกับภูมิปัญญาของชาวจันทบุรีไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้วัตถุดิบตามฤดูกาลและทักษะที่ค่อยๆบ่มเพาะจากประสบการณ์ของผู้ปรุง ผลิตภัณฑ์อาหารไทยประเภทผัดไทยเส้นจันท์จึงนับเป็นผลผลิตทางความคิดสติปัญญาของมนุษย์และผลผลิตดังกล่าวได้รับการปกป้องตามกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญา

ทั้งนี้เนื่องจากระบบกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้นจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตกลงทริปส์ (TRIPs) ขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งแนวคิดปรัชญาพื้นฐานของสนธิสัญญาระหว่างประเทศนี้เป็นของชาวตะวันตก การใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าผลิตภัณฑ์อาหารไทยประเภทผัดไทยเส้นจันท์จึงจาเป็นต้องอาศัยบทบัญญัติกฎหมายหลายฉบับ โดยหนึ่งในบทบัญญัติกฏหมายดังกล่าว คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ในฐานะที่กฎหมายฉบับนี้มีประโยชน์โดยตรงต่อการปกป้องตลาดทางการค้าและชุมชนเป็นประธานแห่งสิทธิ รวมทั้งสิทธิชุมชนตามกฏหมายฉบับนี้ยังมีผลต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมการต่อยอดภูมิปัญญาของชาวจันทบุรี แต่ด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 มอบสิทธิผูกขาดการใช้ชื่อสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กฎหมายฉบับนี้จึงไม่ได้ปกป้องสูตรกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารไทยผัดไทยเส้นจันท์หรือภูมิปัญญาของชาวจันทบุรี การปกป้องผลประโยชน์ของผลิตภัณฑ์อาหารไทยประเภทผัดไทยเส้นจันท์จึงจาเป็นต้องใช้มาตรการตามกฏหมายฉบับอื่นร่วมด้วย เช่น พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ในการปกป้องสูตรอาหารไทยตามหนังสืออนุสิทธิบัตรหรือพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559 เพื่อการปกป้องการบิดเบือนหรือดัดแปลงภูมิปัญญาของชาวจันทบุรีในฐานะผลิตภัณฑ์อาหารไทยผัดไทยเส้นจันท์เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

จากปัญหาดังกล่าวจึงเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 ของประเทศไทยนั้นสมควรที่จะได้รับการแก้ไขเพื่อให้ผลิตภัณฑ์อาหารไทยประเภท ผัดไทยเส้นจันท์สามารถที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายในฐานะที่เป็นผลผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวจันทบุรีเพื่อให้กฎหมายฉบับดังกล่าวสามารถที่จะให้ความคุ้มครองแก่สินค้าอาหารไทยผัดไทยเส้นจันท์ได้อย่างครอบคลุม ทั้งยังเป็นการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แก่ชุมชนชาวไทยซึ่งเป็นเจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่นในสินค้าอาหารไทยและในขณะเดียวกันเพื่อให้กฏหมายทรัพย์สินทางปัญญาของไทยนั้นสอดคล้องกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอยู่ในขณะนี้

 


Abstract

The Fried Chan Noodles Thai Style Food Product is one of the Thainess symbols as derived from intellects to utilize raw materials, namely, Chan Noodles as originating from Chanthaburi Province, together with intellects of Chanthaburi people, irrespective of option to use seasonal raw materials and skills as gradually incubating based upon the cook experiences of the Fried Chan Noodles Thai Style Food Product, as a result, it is the product derived from human’s intellects and such product is protected by law on intellectual properties.

Intellectual properties jurisprudence came from international treaty, in particular, TRIPs Agreement of World Trade Organization (WTO). The fundament philosophical concept of this international treaty belongs to Westerners and application for law on intellectual properties to protect trading benefits. Consequently, the Fried Chan Noodles Thai Style Food Product needs to rely several legal provisions. One of the aforesaid legal provisions is the Geographical Indications Protection Act, B.E. 2546 (2003) as directly beneficial to protect the trading markets and communities which is the subject of right. Also, the community right under this law has impact upon conservation and promotion of comulativeness of intellect of Chanthaburi people. However, the Geographical Indications Protection Act, B.E. 2546 (2003) grants the sole right to use the name of geographical indications. Nonetheless, this law is not to protect manufacturing processes of the Fried Chan Noodles Thai Style Food Product or the intellects of Chanthaburi people. Upon protection of the benefits of the Fried Chan Noodles Thai Style Food Product, it is necessary to join applying the measures under other laws together; for instance, the Patent Act, B.E.2522 (1979) in protecting Thai food formula under petty patent or the Cultural Intellectual Heritage Promotion and Maintenance, B.E.2559 (2016) to prevent distortion and modification of intellects of Chanthaburi people as the Fried Chan Noodles Thai Style Food Product which is intangible cultural heritage.

According to the aforesaid problems, it is expedent that the Geographical Indications Protection Act, B.E. 2546 (2003) of Thailand be amended to enable the Fried Chan Noodles Thai Style to be protected under law as local intellectual products of Chanthaburi people, to enable such laws to comprehensively cover the Fried Chan Noodles Thai Style, including to protect the benefits of Thai communities owning local intellects; meanwhile, including to enable Thai law on intellectual properties to be in accordance with international treaty on intellectual properties which Thailand is a member thereof for the time being.

 


ปัญหาการให้ความคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์: ศึกษากรณีผลิตภัณฑ์อาหารไทย (ผัดไทยเส้นจันท์) / Problems of the Protection of Geographical Indications a Case Study of Thai Food Product (Padthai Senjun)

Master of Laws Program, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 339
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code