สครับขัดผิวจากกากผลไม้

Estimated reading time: 1 min
ชื่อเรื่อง –
Title:
สครับขัดผิวจากกากผลไม้
Scrub Exfoliates from Fruit Peels
ชื่อผู้เขียน –
Author:
นางสาวปรีชญา รัตนสิทธิพิทักษ์, นายเจษฎา กลับอินทร์, นางสาวกุลณัฐ คุสิตา
Miss Preechaya Rattanasittipitak, Mr. Jetsada Glabin, Miss Kullanat Kusita
อาจารย์ที่ปรึกษา –
Advisor:
อาจารย์พิมพ์พิชชา เลิศสกุลผาสุข – Ms. Pimpitcha Lerdsakulpasuk
ชื่อปริญญา –
Degree:
ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ – Bachelor of Arts Program in Tourism and Hospitality Industry
ภาควิชา/สาขาวิชา –
Major:
ศศ.บ. (อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ) – B.A. (Tourism and Hospitality Industry)
คณะวิชา –
Faculty:
ศิลปศาสตร์ (Liberal Arts)
ภาคเรียน/ปีการศึกษา –
Semester/Academic year:
2/2566 (2023)

บทคัดย่อ

คณะผู้จัดทำได้ไปปฏิบัติสหกิจศึกษา ในตำแหน่งสำรองห้องพัก อาหารและเครื่องดื่ม และต้อนรับส่วนหน้า ณ โรงแรมกะตะธานี ภูเก็ต บีช รีสอร์ท ในระหว่างปฏิบัติงานได้สังเกต และพบว่าในแต่ละวันห้องอาหาร Fisherman’s Wharf (Grill & Restaurant) มีกากผลไม้ และกากกาแฟเหลือทิ้งจากออเดอร์เครื่องดื่มเป็นจำนวนมาก ทางคณะผู้จัดทำจึงเล็งเห็นว่าสามารถนำกากผลไม้ และกากกาแฟมาทำเป็นสครับขัดผิว เพื่อใช้มอบเป็นของที่ระลึกให้กับผู้ที่เข้ามาพักโรงแรม เพื่อใช้ในการสครับขัดผิวอีกทั้งยังสามารถนำมามอบให้แก่ห้องอาหาร Fisherman’s Wharf (Grill & Restaurant) เพื่อลดต้นทุนของที่ระลึกแจกลูกค้าของแผนกต้อนรับส่วนหน้า และแผนกอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อนำกากผลไม้ และกากกาแฟที่เหลือทิ้งมาเพิ่มมูลค่า และเพื่อสนับสนุนนโยบาย Set Zero ของโรงแรม

หลังจากการทดลองทำผลิตภัณฑ์สครับขัดผิวจากกากผลไม้ คณะผู้จัดทำได้สำรวจความคิดเห็น โดยการสำรวจความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์สครับขัดผิวจากกากผลไม้จากกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานโรงแรมกะตะธานี ภูเก็ต บีช รีสอร์ท จำนวน 30 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อสครับขัดผิวจากกากผลไม้ อยู่ในระดับมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านขนาด และปริมาณมีความเหมาะสมต่อการใช้งาน มีค่าเฉลี่ย 4.70 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 มีความพึงพอใจโดยรวมต่อสครับ มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.45 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.69 ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: สครับ ขัดผิว กากผลไม้


Abstract

The project team participated in a cooperative education program in the roles of room reservations, food and beverage, and front desk reception at Kata Thani Phuket Beach Resort. During their work, they observed the Fisherman’s Wharf “Grill & Restaurant” generated a significant amount of leftover fruit pulp and coffee grounds from beverage orders. The project team saw the potential to repurpose the leftover fruit pulp and coffee grounds into exfoliating scrubs. These scrubs could be offered as souvenirs to hotel guests for skincare purposes. They could also be provided to the Fisherman’s Wharf “Grill & Restaurant” to reduce souvenir costs at the front desk, and food and beverage departments. This initiative aims to add value to the discarded fruit pulp and coffee grounds while supporting the hotel’s Set Zero policy.

After experimenting with producing exfoliating scrubs from fruit pulp, the project team conducted a satisfaction survey. The survey assessed satisfaction with the fruit pulp exfoliating scrubs among a sample group of 30 employees from Kata Thani Phuket Beach Resort. The study found the sample group was highly satisfied with the fruit pulp scrubs, particularly regarding the size and quantity, which were deemed suitable for use, with an average score of 4.70 and a standard deviation of 0.53. Overall satisfaction with the scrubs had an average score of 4.45 and a standard deviation of 0.69. The level of satisfaction was categorized as high.

Keywords: scrub, exfoliates, fruit pulp


อาจารย์พิมพ์พิชชา เลิศสกุลผาสุข – Ms. Pimpitcha Lerdsakulpasuk, ศศ.บ. (อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ) – B.A. (Tourism and Hospitality Industry), ศิลปศาสตร์ (Liberal Arts), ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ – Bachelor of Arts Program in Tourism and Hospitality Industry, 2/2566 (2023)

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 42
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print