การพัฒนาทักษะของบุคลากรศาลยุติธรรม

Last modified: March 24, 2024
Estimated reading time: 2 min

Title:
Skill Development for Court of Justice Personnel

ชื่อโครงการ:
การพัฒนาทักษะของบุคลากรศาลยุติธรรม

Author:
Miss Anyapach Jirapongrapee

ชื่อผู้วิจัย:
นางสาวอัญพัชญ์ จิระพงศ์รพี

Advisor:
รศ. ดร.ไชยนันท์ ปัญญาศิริ – Assoc. Prof. Dr. Chaiyanant Panyasiri

Degree:
ปร.ด. การจัดการ – Ph.D. in Management

Major:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ – Doctor of Philosophy Program in Management

Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School)

Academic year:
2566 (2023)

Published:
วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีที่ 17 ฉบับที่ 4 ตุลาคม – ธันวาคม 2566 หน้า 150-163 | NRRU Community Research Journal Vol.17 No.4 (October –December 2023) pp.150-163 (TCI กลุ่ม 1)  คลิก  PDF

วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 10(1) (TCI กลุ่ม 1)  คลิก


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาทักษะของบุคลากรศาลยุติธรรม 2) เพื่อวิเคราะห์การพัฒนาทักษะของบุคลากรศาลยุติธรรม 3) เพื่อประเมินเปรียบเทียบทักษะปัจจุบันและความคาดหวังในการพัฒนาทักษะของบุคลากรศาลยุติธรรม และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาทักษะบุคลากรระดับบริหารและระดับปฏิบัติการของศาลยุติธรรม ใช้วิธีวิจัยผสมผสาน (Mixed Method) ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคลากรในศาลยุติธรรม 2 กลุ่ม ได้แก่ ระดับบริหารจำนวน 110 คน และระดับปฏิบัติการ จำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviewing) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) เลือกสุ่มแบบสะดวกเป็นผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วยผู้บริหารของศาลยุติธรรม อัยการ เจ้าพนักงานตำรวจและทนายความ รวมจำนวน 16 คน

ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการไม่ได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นและขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขาดความพร้อมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ทำให้เกิดข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ขาดแรงจูงใจในการทำงานที่ดี การพัฒนาทักษะส่วนใหญ่จะเป็นในภาพรวมซึ่งไม่ตรงกับงานที่ปฏิบัติจริง ตลอดจนขาดแผนและงบประมาณเพื่อรองรับการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยบุคลากรทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการควรได้รับการพัฒนาทักษะด้านการพัฒนาการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยความยุติธรรม ทักษะด้านคุณธรรม จริยธรรม ทักษะด้านการควบคุม กำกับการปฏิบัติตามนโยบายและมาตรฐานของศาลยุติธรรม ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของศาลยุติธรรม และทักษะด้านการปฏิบัติงานตามความเปลี่ยนแปลง โดยมีวิธีการพัฒนาทักษะด้วยการฝึกอบรม การนิเทศแบบคลินิก และระบบพี่เลี้ยง ซึ่งมีรายละเอียดในการดำเนินการแตกต่างกันตามปัญหาและความต้องการพัฒนา

Keywords: ศาลยุติธรรม, ทักษะ, การพัฒนาทักษะ


Abstract

The objectives of this research were 1) to analyze the problem and obstacles to the skill development of the court of justice personnel, 2) to analyze the development of the skills of the court of justice personnel, 3) to evaluate and compare current skills and expectations of the court of justice personnel, and 4) to present guidelines for developing the skills of administrative and operational personnel of the Court of Justice. The research used mixed method of combining quantitative research in which the data were collected from a sample of two judicial personnel groups, including 110 at the executive level and 400 at the operational level and the qualitative research method of in-depth interview with the key informants purposively selected from experts, administrators, prosecutors, police officers and lawyers, totaling 16 persons.

The results showed that personnel at both management and operational levels did not acquire the necessary skills and lacked continuous improvement. The lack of readiness to learn new things resulting in operational disruptions. In addition to the lack of work motivation, skill development also found incompatible to the works in actual situation, as well as insufficient planning and budgets to support continuous personnel development. The court personnels at both the management and operational levels should be trained in management development to enhance the efficiency of justice administration, moral and ethical skills, regulating skills, court’s policies and standards complicance, digital technology skills and skills in adaptation to change. The skill development techniques of training, clinical supervision and mentoring system specifically channeled to certain problems and development needs are strongly recommended.

Keywords: court of justice, skill, skill development


Skill Development for Court of Justice Personnel / การพัฒนาทักษะของบุคลากรศาลยุติธรรม

6019200004 นางสาวอัญพัชญ์ จิระพงศ์รพี Miss Anyapach Jirapongrapee Skill Development for Court of Justice Personnel วิทยานิพนธ์ (Thesis), Advisor: รศ. ดร.ไชยนันท์ ปัญญาศิริ – Assoc. Prof. Dr. Chaiyanant Panyasiri, ปริญญาเอก (Doctorate Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ – Doctor of Philosophy Program in Management, ปร.ด. การจัดการ – Ph.D. in Management, Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, Graduate School 2023, IMBA, IMBA 2023, Independent Study, Independent Study 2023, Master of Business Administration, Master of Business Administration (International Program) 2023, Master of Business Administration 2023, ปริญญาเอก (Doctorate Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ – Doctor of Philosophy Program in Management,ปร.ด. การจัดการ – Ph.D. in Management

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 17
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code