ข้อเสนอแนวทางการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการกีฬาต่อการกีฬาแห่งประเทศไทย

Last modified: October 20, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง: ข้อเสนอแนวทางการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการกีฬาต่อการกีฬาแห่งประเทศไทย
Title: Sports Arbitration Model Recommended to Sports Authority of Thailand
ผู้วิจัย:
Researcher:
เสถียรภาพ นาหลวง, พฤทธ์สรรค์ สุทธิไชยเมธี, วริยา ล้ำเลิศ, เกียรติพร อําไพ, ณชัชชญา ทองจันทร์, นรฤทธิ์ สุดสงวน, ธนสาร จองพานิช, นรรยโสภาคย์ สวัสดิวัตน์, อาทิตย์ ปิ่นปัก, ยุรนันท์ ยุวานนท์, จุฬา จงสถิตย์ถาวร, และ ทวีศักดิ์ รักยิ่ง | Sthianrapab Naluang, Pruethsan Sutthichaimethee, Wariya Lamlert, Kiattiporn Ampai, Nachatchaya Thongjan, Norarit Sudsanguan, Tanasarn Chongpanish, Nanyasopark Sawasdiwat, Artit Pinpak, Yuranant Yuvanont, Chula Chongsathitthavorn and Thawesak Ruckying
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
น.บ. นิติศาสตร์บัณฑิต – LL.B. Bachelor of Laws
สาขาที่สอน:
Major:
นิติศาสตร์บัณฑิต – Bachelor of Laws
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
นิติศาสตร์ (Laws)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2565 (2022)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
วารสารศิลปการจัดการ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2566 หน้า 52-69 | Journal of Arts Management Vol. 7 No. 1 January -March 2023 pp.52-69   Click   PDF

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการระงับข้อพิพาททางกีฬาในประเทศไทยอันเกิดจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกีฬา แนวทางปฏิบัติในการระงับข้อพิพาททางกีฬาในต่างประเทศ และแนวทางและกำหนดรูปแบบในการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการด้านกีฬาในประเทศไทย โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ เช่น วัตถุประสงค์ รูปแบบ โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ รวมถึงผลกระทบและประโยชน์ที่เกิดขึ้นในการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการ 2) เพื่อหาข้อเสนอให้การกีฬาแห่งประเทศไทยมีการระงับข้อพิพาททางกีฬาโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการเป็นการเฉพาะ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์ในเชิงลึกบุคลากรของการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้แก่ผู้บริหารระดับสูง จำนวน 6 คน เจ้าหน้าที่ของการกีฬาแห่งประเทศไทยระดับหัวหน้างาน จำนวน 5 คน รวม 11 คน และสัมภาษณ์ผู้แทนของสมาคมกีฬาอาชีพแห่งประเทศไทยสาขาต่าง ๆ ที่เกิด ข้อพิพาท รวม 9 คน และการสัมมนากลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาคมกีฬา รวม 52 คน ต่อแนวทางในการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการด้านกีฬา การศึกษาปรากฏผลว่าผู้ให้สัมภาษณ์และผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ให้ข้อคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า การระงับข้อพิพาททางกีฬาโดยวิธีอนุญาโตตุลาการด้านกีฬามีความเหมาะสมกับลักษณะของข้อพิพาท เพราะส่วนใหญ่เป็นข้อพิพาทที่เป็นปัญหาทางเทคนิคกีฬายิ่งกว่าปัญหาข้อกฎหมาย จึงควรให้ผู้เชี่ยวชาญกีฬาเป็นผู้วินิจฉัยและชี้ขาดข้อพิพาทและมีกระบวนพิจารณาที่มีความรวดเร็ว ควรมีการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการด้านกีฬาให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของนานาชาติ การวิจัยได้เสนอแนะให้การกีฬาแห่งประเทศไทยจัดตั้งหน่วยงานอนุญาโตตุลาการด้านกีฬา โดยแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 และพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 เพื่อให้สามารถระงับข้อพิพาททางกีฬาโดยวิธีอนุญาโตตุลาการตามนโยบายของการกีฬาแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ในแผนยุทศาสตร์พัฒนาการกีฬา พ.ศ. 2564 – 2570

Keywords: ข้อพิพาทกีฬา, การระงับข้อพิพาท, อนุญาโตตุลาการ


Abstract

     The aim of this study was to: 1) study sport dispute resolutions arising from laws governing sport in Thailand, implementation of sport arbitration in foreign countries, and a guideline to establish sports arbitration including objectives, form, structure, functions and disadvantages and disadvantages may arise from sports arbitration, 2) recommend Sports Authority of Thailand (SAT) to revise the governing laws to adopt sports arbitration as a special mechanism for sport dispute resolution. The study adopted a qualitative method through documentary research and a depth interview sport members of sport authority and professional sport associations: SAT’s 6 executive members and 5 department heads, interviewed 9 representatives of professional sport associations of Thailand, and collected data from a focus group with 52 participants from sport community. The results showed the representatives and participants have agreed with establishment of sport arbitration because it will be able to resolve the disputes appropriately because the disputes are based on sport technical problems and sports event schedules. Consequently, the resolution requires sport specialists and a speedy trial. In the end, the study recommended SAT to revise the Sports Authority of Thailand Act 2015, Professional Sports Promotion Act 2013 and Boxing Act 1999 to adopt sports arbitration for implementing the sport disputes resolution policy according to SAT’s Sport Strategic Development Plan of 2021-2027.

Keywords: sport dispute; dispute resolution; arbitration


Sports Arbitration Model Recommended to Sports Authority of Thailand. 2565 (2022). ข้อเสนอแนวทางการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการกีฬาต่อการกีฬาแห่งประเทศไทย. บทความ (Paper). Advisor: อาจารย์จุฬา จงสถิตย์ถาวร – Miss Chula Chongsathitthavorn. สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์|Social Sciences and Humanities. นิติศาสตร์ (Laws). นิติศาสตร์บัณฑิต – Bachelor of Laws. น.บ. นิติศาสตร์บัณฑิต – LL.B. Bachelor of Laws. Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์|Social Sciences and Humanities, นิติศาสตร์ (Laws), นิติศาสตร์บัณฑิต – Bachelor of Laws,น.บ. นิติศาสตร์บัณฑิต – LL.B. Bachelor of Laws

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 19
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code