การสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรโรงพยาบาลต่อปัญหายาเหลือใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน

Last modified: July 4, 2023
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อบทความ: การสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรโรงพยาบาลต่อปัญหายาเหลือใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน
Research Article: Survey of Hospital Pharmacists’ Opinions on Current Situation of Unused Medication Problem
ผู้เขียน|Author: กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, สุญาณี พงษ์ธนานิกร, ธัญญ์พิชชา พิมพ์พงษ์, วิลาสินี นุชประคอง, ธีระพัฒน์ปัททุม และ ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี | Kamolwan Tantipiwattanaskul, Suyanee Pongthananikorn, Thunpitcha Pimpong, Wilasinee Nutprakong, Teerapath Pattoom and Shinnawat Saengungsumalee
Email: kamolwan.tan@siam.edu ; shinnawat@siam.edu
สาขาวิชา|คณะ: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Faculty of Pharmacy,  Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: วารสารศิลปการจัดการ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (เมษายน – มิถุนายน 2566) หน้า 381 – 401 | Journal of Arts Management Vol. 7 No.2 (April – June 2023) pages 381 – 401.

การอ้างอิง|Citation

กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, สุญาณี พงษ์ธนานิกร, ธัญญ์พิชชา พิมพ์พงษ์, วิลาสินี นุชประคอง, ธีระพัฒน์ปัททุม และชินวัจน์ แสงอังศุมาลี. (2566). การสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรโรงพยาบาลต่อปัญหายาเหลือใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน. วารสารศิลปการจัดการ, 7(2), 381 – 401.

Tantipiwattanaskul K., Pongthananikorn S., Pimpong T., Nutprakong W., Pattoom T. and Saengungsumalee S. (2023). Survey of Hospital Pharmacists’ Opinions on Current Situation of Unused Medication Problem. Journal of Arts Management, 7(2), 381 – 401.


บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรโรงพยาบาลเกี่ยวกับปัญหายาเหลือใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันของหน่วยงาน เป็นการศึกษาเชิงปริมาณที่ใช้รูปแบบวิจัยเชิงสำรวจผู้เข้าร่วมการศึกษาคือเภสัชกรที่ทำงานในโรงพยาบาลทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข จำนวน ทั้งสิ้น 352 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสำรวจความคิดเห็นซึ่งถูกส่งไปทางไปรษณีย์พร้อมแนบรหัสคิวอาร์สำหรับกรอกข้อมูลออนไลน์เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง (ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟ่าเท่ากับ 0.8) ประเด็นที่ศึกษา ได้แก่ ความคิดเห็นของเภสัชกรต่อความหมายของยาเหลือใช้ การรับรู้ประโยชน์ของการแก้ไขปัญหานี้ กิจกรรมที่ใช้ในการจัดการปัญหายาเหลือใช้ในโรงพยาบาล ความคิดเห็นเภสัชกรที่มีต่อปัญหานี้ และอุปสรรคในการจัดการปัญหาของหน่วยงาน ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาของข้อมูลทั่วไปพบว่าเภสัชกรผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ คิดเป็นร้อยละ 40.6 และมีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.7 ข้อมูลความคิดเห็นพบว่า เภสัชกรมีความเต็มใจในการดูแลปัญหาดังกล่าวโดยมุ่งให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วย โดยระดับความคิดเห็นส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเห็นด้วยอย่างมากถึงมากที่สุด กิจกรรมที่ดำเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ การรณรงค์กับผู้ป่วย การสร้างความตระหนักให้แก่ผู้สั่งใช้ยา และการรณรงค์กำจัดยาเหลือใช้อย่างถูกวิธี ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาสามารถนำไปจัดทำเป็นแนวทางการจัดการปัญหายาเหลือใช้ในโรงพยาบาลได้ต่อไป

คำสำคัญ: ความคิดเห็นของเภสัชกรโรงพยาบาล, ปัญหายาเหลือใช้, ยาเหลือใช้


ABSTRACT

This article aimed to study the opinions of hospital pharmacists on the current situation of unused medication problems. The study was a descriptive quantitative survey. The participants were 352 pharmacists who have worked at the Ministry of Public Health and other sectors. The study was carried out by mailing the survey questionnaire with QR code attached for the participants to perform online. The research tool was developed and proved both content validity and reliability (Cronbach’s alpha = 0.80). The questionnaire was divided into the following five parts: the definition of unused medicines, the perception of benefits to patients, the process of problem solving and activities in the hospital, the opinions of the pharmacist, problems and obstacles in implementing the safe disposal of unused medicines. Baseline characteristics of participants revealed that most of them (40.6%) have worked in the secondary care hospitals. One-third of them (30.7%) have working experience more than 20 years. The research results found that the pharmacists were willing to solve the problems to ensure patient safety. In regard to pharmacists ‘opinions toward drug disposal management, the majority of participants agreed or strongly agreed with the importance of the proper disposal of unwanted medicines. The most selected activities among participants were “campaign for patients”, “raising awareness among prescribers” and “educating the proper drug disposal methods”. The results of this study are beneficial for developing further unwanted pharmaceutical waste management.

Keywords: Hospital pharmacists’ opinions; Unused medication; Unused medication problems.


การสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรโรงพยาบาลต่อปัญหายาเหลือใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน|Survey of Hospital Pharmacists’ Opinions on Current Situation of Unused Medication Problem

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Pharmacy, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 172
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code