การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในศาลยุติธรรมไทย

Last modified: December 1, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในศาลยุติธรรมไทย
The Application of Blockchain Technology in the Thai Court of Justice
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นาย เจษฎา  สรณวิช
Mr. Jedsada  Sorranawit
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รศ.ดร. เฉลิมเกียรติ  วงศ์วนิชทวี, ผศ.ดร. รัฐวุฒิ  รู้แทนคุณ
Assoc. Prof. Dr. Chalermkiat  Wongvanichtawee, Asst. Prof. Dr. Rathavoot  Ruthankoon
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2564
2021
Published/แหล่งเผยแพร่:
https://www.umt.ac.th/umt_conference/ หรือ https://www.umt.ac.th/wp-content/uploads/2021/02/TAM-6_2020_FullPaper1-1.pdf
เจษฎา สรณวิช และ เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี. (2563). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในศาลยุติธรรมไทย. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 เรื่อง “คุณภาพของการบริหารจัดการและนวัตกรรม”, หน้า 279-291. วันที่ 28 พฤศจิกายน 2563. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น.
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/issue/view/16769 หรือ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NRRU/article/view/246100/169177
เจษฎา สรณวิช, เฉลิมเกียรติ วงศ์วนิชทวี และ รัฐวุฒิ รู้แทนคุณ. (2564). การศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในศาลยุติธรรมต่างประเทศ. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2564): หน้า 15-28. (TCI กลุ่ม 1)
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jar/issue/view/16855 หรือ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jar/article/view/248174/169712
เจษฎา สรณวิช. (2564). การศึกษาแบบจำลองการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในศาลยุติธรรมไทย: กรณีศึกษาศาลยุติธรรมชั้นต้น. วารสารสมาคมนักวิจัย. ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2564): หน้า 86-100. (TCI กลุ่ม 2)

การอ้างอิง|Citation

เจษฎา สรณวิช. (2564). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในศาลยุติธรรมไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Sorranawit J. (2021). The application of Blockchain technology in the Thai Court of Justice. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Management, Siam University


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของศาลยุติธรรมไทยในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน 2) เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการในศาลยุติธรรมไทยและ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในศาลยุติธรรมไทยที่มีประสิทธิผล

งานวิจัยนี้ ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 19 ท่านประกอบด้วยผู้บริหารศาลยุติธรรม ผู้บริหารสำนักงานอัยการ ผู้บริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภาคราชการ ผู้บริหารจากสภาทนายความ บุคลากรที่ชำนาญในวิชาชีพด้าน Blockchain และการสนทนากลุ่มจำนวน 13 ท่าน ประกอบด้วย ผู้บริหารศาลยุติธรรม ผู้บริหารสำนักงานอัยการ ผู้บริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภาคราชการ ผู้บริหารจากสภาทนายความ บุคลากรที่ชำนาญในวิชาชีพด้าน Blockchain

ผลการวิจัยพบว่าการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในศาลยุติธรรมช่วยพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในหน่วยงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้มีความเสถียร มีความน่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ รวมทั้งช่วยในการติดต่อกับหน่วยงานในศาลยุติธรรม ศาลยุติธรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ คุณสมบัติของเทคโนโลยีบล็อกเชนมีความโดดเด่นทางด้านความโปร่งใส สามารถตรวจสอบความทุจริตหรือการกระทำที่ไม่ถูกต้อง สามารถนำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ในอนาคต

แนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในศาลยุติธรรมไทยที่มีประสิทธิผล จะสร้างความเป็นธรรม ถูกต้องและรวดเร็ว มีความสะดวกจากการเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง คู่ความและผู้พิพากษาสามารถเรียกดูรายงานบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีในระบบ Electronic ได้อย่างรวดเร็วและทันที ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายรวมทั้งเป็นระบบ Paperless ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดภาระการป้อนข้อมูลของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการในการรับหรือจ่ายเงินของศาลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

แนวทางในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในศาลยุติธรรมไทยที่มีประสิทธิผล จะสร้างความเป็นธรรม ถูกต้องและรวดเร็ว มีความสะดวกจากการเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง คู่ความและผู้พิพากษาสามารถเรียกดูรายงานบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีในระบบ Electronic ได้อย่างรวดเร็วและทันที ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายรวมทั้งเป็นระบบ Paperless ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดภาระการป้อนข้อมูลของเจ้าหน้าที่ รวมทั้งช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการในการรับหรือจ่ายเงินของศาลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ก่อนการใช้งานจะต้องมีกระบวนการเข้ารหัสลับ การกรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ และต้องมีคณะทำงานที่คอยกำกับดูแลในเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ รวมถึงการสร้างการรับรู้ของทุกฝ่ายในการมีอยู่ของเทคโนโลยีบล็อกเชนในทุกกระบวนการในศาลยุติธรรมไทยอีกด้วย ดังนั้น จึงต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ทุกฝ่ายทราบและเข้าใจถึงเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งควรมีการนำเสนอข้อมูลเป็นขั้นตอนอย่างเป็นระบบ เข้าใจง่าย โดยเริ่มจากการประชาสัมพันธ์ตามสื่อสาธารณะต่างๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนอันจะเกิดประโยชน์สูงสุดในอนาคต

คำสำคัญ: ศาลยุติธรรมไทย, เทคโนโลยีบล็อกเชน, การประยุกต์ใช้


Abstract

The research aimed to: 1) study problems and obstacles of the Thai judiciary in the application of blockchain technology; 2) study the use of blockchain technology to increase the efficiency of the Thai Court of Justice’s management; and 3) propose guidelines for an effective blockchain technology application in the Thai Court of Justice. This research used a qualitative research methodology of in-depth interviews, 19 experts and senior specialists. The sample consisted of executives of the Court of Justice, Office of the Attorney, and the Royal Thai Police, government information technology specialists, executives from the Lawyers Council. Additionally, the focus group interview samples consisted of a 13-person from the executives of the Court of Justice, Office of the Attorney, the Royal Thai Police, government information technology specialists, executives from the Lawyers Council and Block Chain professionals.

The research results showed that an application of blockchain technology in the Court of Justice will enable e-management into the system, enhance the stability, reliability and verifiability and provide e-coordination between its judicial sub units. The qualifications of the Blockchain technology include transparency in detecting fraud or legally misconduct act, all adaptable for to its fullest usage in the future.

Guidelines for an effective blockchain technology application in the Thai Court of Justice will generate fairness, accuracy and speed with the convenient of access 24 hours a day; relevant parties and judges can quickly retrieve saved reports of previous incidents that existed in cases electronically which saves time and money as well as being a more efficient paperless system. It reduces the burden of data input and helps to support the court management of income and expense accounts efficiently.

There must still be an encryption process, personal information entry, and a working group to supervise this data and an understanding from person using this blockchain technology in every process in the Thai Court of Justice. Thus, there should be public relations to diffuse this information to every division to learn and understand the blockchain technology in order to apply it effectively. There should be information presented systematically that easily understood, starting with public relations and various public media to enable all parties to access the information so it will encourage the best practices of blockchain technology in the future.

Keywords:  Thai Court of Justice, Blockchain Technology, Application.


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในศาลยุติธรรมไทย|The Application of Blockchain Technology in the Thai Court of Justice

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Related

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1767
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print