ประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ เพื่อการชำระหนี้เงินกู้ยืมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

Last modified: November 26, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ เพื่อการชำระหนี้เงินกู้ยืมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
The effectiveness of public policy implementation for the repayment of student loan fund
ชื่อนักศึกษา:
Author:
ว่าที่ร้อยเอก โอภาส มีเชาว์
Acting Capt. Opad Meechao
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี, ศาสตราจารย์ ดร.วรเดช จันทรศร
Prof. Dr. Yuwat Vuthimedhi, Prof. Dr. Voradej Chandarasorn
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง|Citation

โอภาส มีเชาว์. (2561). ประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ เพื่อการชำระหนี้เงินกู้ยืมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Meechao O. (2017). The effectiveness of public policy implementation for the repayment of student loan fund. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Management, Siam University.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลในการชำระหนี้เงินกู้ยืมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 2. เพื่อศึกษาหาประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ เพื่อการชำระหนี้เงินกู้ยืมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 3. เพื่อพัฒนาแนวทางและข้อเสนอแนะทางการจัดการในการเพิ่มประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ เพื่อการชำระหนี้เงินกู้ยืมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงผสมผสาน เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ จากนักศึกษา ที่กู้ กยศ. ที่สามารถชำระหนี้ได้และชำระหนี้ไม่ได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 410 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา  ค่าร้อยละ และ การวิเคราะห์เส้นทาง โดยใช้ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเชิงนโยบาย ได้แก่  ผู้บริหารกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา  และ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 ราย โดยผลที่ได้มาใช้ในการอภิปรายร่วมกัน ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัญหาที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลในการชำระหนี้เงินกู้ยืมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาแรกได้แก่เรื่องช่องทางการชำระเงิน ที่ไม่สะดวก ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นเนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยี และช่องทางกรมสรรพากร
  2. ประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ เพื่อการชำระหนี้เงินกู้ยืมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้รับอิทธิพลรวมเชิงบวกจาก ทัศนคติที่มีต่อนโยบายในการชำระหนี้เงินกู้ยืม (b = 0.85) ระบบการสื่อสารที่มีคุณภาพ (b = 0.60) ความไว้วางใจในการชำระหนี้กู้ยืมเงิน (b = 0.47)  ความพึงพอใจต่อนโยบายการชำระหนี้ (b = 0.24)  การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีสำหรับกองทุนกู้ยืม (b = 0.24)  และการพัฒนาบุคลากรในการปฏิบัติงาน (b = 0.15) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 70
  3. การพัฒนาแนวทางและข้อเสนอแนะทางการจัดการในการเพิ่มประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ ต้องให้ความสำคัญในด้าน การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีสำหรับกองทุนกู้ยืม การพัฒนาบุคลากรในการปฏิบัติงาน ระบบการสื่อสารที่มีคุณภาพ ทัศนคติที่มีต่อนโยบายในการชำระหนี้เงินกู้ยืม ความไว้วางใจในการชำระหนี้กู้ยืมเงิน และความพึงพอใจต่อนโยบายการชำระหนี้ อย่างผสมผสานกัน

คำสำคัญ: นโยบายสาธารณะ, เงินกู้ยืม, กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา


Abstract

This research aims 1. To study the problems that affect the effectiveness for the Repayment  of Student Loan Fund 2. Study of Effectiveness of Public Policy for the Repayment  of Student Loan Fund 3. To develop management approaches and suggestions to increase the effectiveness of public policy implementation for the Repayment of Student Loan Fund. Researchers used mixed method research. Quantitative Research Techniques from student loan student loan fund to pay the debt and repay it. Total of 410 cases using simple random. The instrument used in the research questionnaire created data were analyzed by percentage, and path analysis by using structural equation modeling. Qualitative Research Techniques The main informants collected data from policy-related stakeholders, namely, executives, educational loan funds, and school administrators. The results were used in the discussions.

The research found that

1.The problems affecting the effectiveness of repayment Repayment of Student Loan Fund  found that The first problem was the inconvenient payment channel. The problem was resolved due to the development of technology and the revenue department. 2.The effectiveness of public policy implementation Repayment  of Student Loan Fund receive influences include positive form attitude toward the policy of loan (β= 0.85) . The quality communication system (b = 0.60) .The trust to repay loan (b = 0.47) .The satisfaction of the policy the repayment of debt (b = 0.24) . The create a good image for the loan fund (β = 0.24) and development of personnel in the operation (b = 0.15) Statistical significance the predictive power of the model, 70 percent 3. Development of management guidelines and suggestions for increasing the effectiveness of public policy implementation. The importance in the field to create a good image for loans ,development of personnel in the operation, quality communication system, attitude toward the policy of loan, trust to repay loan and satisfaction of the policy the repayment of debt to combination.

Keywords: Public policy, Educational loan fund, Loan repayment for education loans.


ประสิทธิผลการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ เพื่อการชำระหนี้เงินกู้ยืมของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา|The effectiveness of public policy implementation for the repayment of student loan fund

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1796
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print