ตัวแบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถนะผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย

Last modified: November 26, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ตัวแบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถนะผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย
The Efficiency Management Model of Accountant Competency Development of the Certified Accounting Practice Firms in Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางธนวรรณ แฉ่งขำโฉม
Mrs. Thanawan Changkomchome
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ศ.พิเศษ ดร.ยุวัฒน์ วุฒิเมธี, ผศ.ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์
Prof.Dr.Yuwat Vuthimedhi, Asst.Prof.Dr.Nuttapun Khejornnun
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019

การอ้างอิง|Citation

ธนวรรณ แฉ่งขำโฉม. (2562). ตัวแบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถนะผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Changkomchome T. (2017). The efficiency management model of accountant competency development of the certified accounting practice firms in Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Management, Siam University.


บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย 3) เพื่อเสนอแนะตัวแบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถนะผู้ทำบัญชี ในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทยการวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ ผู้ทำบัญชีในสำนักบัญชีคุณภาพ จำนวน 400 คนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและแบบจำลองสมการโครงสร้างเพื่อทดสอบสมมติฐาน เสริมด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายผลจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารในองค์กรของรัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล วิชาชีพผู้ทำบัญชี ผู้บริหารในสำนักงานบัญชีคุณภาพผู้บริหารขององค์กรธุรกิจที่ให้บริการด้านการสอบบัญชีระดับนานาชาติ (Big Four)

     ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบสมรรถนะของผู้ทำบัญชีประกอบด้วย ด้านความรู้ด้านทักษะทางวิชาชีพ และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านความรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.22) ด้านทักษะทางวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.23) และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด (x̅ = 4.32) องค์ประกอบด้านการพัฒนาสมรรถนะผู้ทำบัญชีประกอบด้วย การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.35) ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.24) ด้านภาวะผู้นำมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.84) และด้านการจัดการความรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.17) ส่วนแบบจำลองสมการโครงสร้างการจัดการประสิทธิภาพการพัฒนาสมรรถนะผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทยที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากแนวคิดและทฤษฎีมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีวัดความสอดคล้องคือ χ2 = 124.300, df = 121, GFI = 0.968, AGFI = 0.950, CFI = .999 และ RMSEA = 0.008 และค่า p-value มีค่าเท่ากับ 0.400 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับ สมรรถนะของผู้ทำบัญชีมีค่าเท่ากับ 0.335 ค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กับสมรรถนะของผู้ทำบัญชี มีค่าเท่ากับ 0.294 และค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางระหว่างภาวะผู้นำกับ สมรรถนะของผู้ทำบัญชี มีค่าเท่ากับ 0.160 โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางระหว่างการจัดการความรู้กับสมรรถนะของผู้ทำบัญชีมีค่าเท่ากับ 0.061 แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่าตัวแปรอิสระสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิภาพการพัฒนาสมรรถนะได้ร้อยละ 41.30

คำสำคัญ: สมรรถนะ, ผู้ทำบัญชี, สำนักงานบัญชีคุณภาพ


Abstract

The objectives of this research were: 1) to study the competency components of accountants in the certified accounting practice firms in Thailand; 2) to study the factors that affect the development of accountant competencies in the certified accounting practice firms in Thailand; 3) to suggest an effective management model for the development of accountant competencies in the certified accounting practice firms in Thailand. The methodology of this research was mainly quantitative. Data collection was compiled through questionnaires. The sample of this survey were consolidated from 400 accountants from certified accounting practice firms in Thailand. Statistical techniques were utilized to analyze data which included descriptive statistics and structural equation model for hypothesis testing. Qualitative data collection was compiled through in-depth interview to describe quantitative results. Key informants of this research were the executives in government organizations that were responsible for supervision accountant profession, management in the quality accounting office, and management of business organizations that provide international audit services (Big four).

The results of the study showed that the components of the competency of the accountants consisted of knowledge, professional skills and personal features. The mean score were at the highest level, which were x̅ = 4.22, x̅ = 4.23 and x̅ = 4.32 respectively. The components of the development of accountant competency consists of human resource management and human resource development with a mean score were at the highest level, which were x̅ = 4.35 and x̅ = 4.24 respectively, whereas leadership and knowledge management had the mean score at a high level, which were x̅ = 3.84 and x̅ = 4.17 respectively. Furthermore, the structured equation model of the management model for accountant competency development of the certified accounting practice firms in Thailand was developed from literature review, which was consistent with the empirical data. Index of congruence were χ2 = 124.300, df = 121, GFI = 0.968, AGFI = 0.950, CFI = 0.999 and RMSEA = 0.008 and p-value was equal to 0.400. In addition, path coefficient between human resource management and accountant competency was equal 0.335, whereas path coefficient between human resource development and accountant competency was 0.294, while path coefficient between leadership and accountant competency was 0.160 with statistical significant at 0.01 level.  However, path coefficient between knowledge management and path accountant competency was equal to 0.061 without statistical significant. The findings showed that the independent variables could explain 41.30 percent of a variance of accountant competency.

Keywords:  Competency, Accountant, Certified Accounting Practice Firms.


ตัวแบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถนะผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย / The Efficiency Management Model of Accountant Competency Development of the Certified Accounting Practice Firms in Thailand

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1759
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print