การบูรณาการการจัดการสหกิจศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเชิงผู้ประกอบการ

Last modified: January 25, 2020
You are here:
Estimated reading time: 3 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การบูรณาการการจัดการสหกิจศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเชิงผู้ประกอบการ
Integrated Approach of Cooperative Education Management to Develop Entrepreneurial Graduates
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวอินทิรา มีอินทร์เกิด
Miss Indhira Me-intarakerd
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รศ.ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช, ผศ.ดร.มารุจ ลิมปะวัฒนะ
Assoc.Prof.Dr.Jomphong Mongkhonvanit, Asst.Prof.Dr.Maruj Limpawattana
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019

การอ้างอิง/citation

อินทิรา มีอินทร์เกิด. (2562). การบูรณาการการจัดการสหกิจศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเชิงผู้ประกอบการ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)  สภาพการบริหารงานจัดการแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามมาตรฐานสหกิจศึกษาของสถานประกอบการ  2) สมรรถนะการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษาในสถานประกอบการภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) และความสำเร็จเพื่อสร้างบัณฑิตเชิงผู้ประกอบการของนักศึกษาสหกิจศึกษา และ 3) แนวทางการบูรณาการจัดการสหกิจศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเชิงผู้ประกอบการโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 283 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และเสริมด้วยข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ ผู้บริหาร ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่าย/หัวหน้างาน/พนักงานพี่เลี้ยง/ผู้นิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษาหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสถานประกอบการ ผลการวิจัย พบว่า

  1. สภาพการบริหารงานจัดการแบบมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามมาตรฐานสหกิจศึกษาของ สถานประกอบการ ประกอบด้วย ด้านบริหารจัดการ ด้านวิชาการ ด้านผู้นิเทศงาน และด้านการวัดประเมินผลและรายงานผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.81) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก คือ ด้านการบริหารจัดการ ( = 17) อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านผู้นิเทศงาน ( = 2.61) และอยู่ในระดับน้อย คือ ด้านวิชาการ และด้านการวัดประเมินผลและรายงานผล ( = 2.29 , = 2.18)
  2. สมรรถนะการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษาในสถานประกอบการภายใต้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ประกอบด้วย ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.85) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากเกือบทุกรายการ คือ ด้านทักษะทางปัญญา ( = 4.16) ด้านความรู้  ( = 4.14) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ( = 3.92) ด้านคุณธรรม จริยธรรม ( = 3.57)  และอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( = 3.48) ส่วนปัจจัยความสำเร็จเพื่อสร้างบัณฑิตเชิงผู้ประกอบการของนักศึกษาสหกิจศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.81) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและปานกลาง โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีความเชื่อมั่นในความสามารถตนเอง (ความมั่นใจในตนเอง) ( = 4.26) มีการยอมรับความเสี่ยง ( = 4.21)  มีความต้องการตอบสนองอย่างทันที    ( = 4.12)  มีมนุษยสัมพันธ์และการติดต่อสื่อสาร (ทักษะทางสังคม) ( = 2.95)
  3. ผลการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณสมรรถนะของนักศึกษา สหกิจศึกษาที่มีผลต่อความสำเร็จเพื่อสร้างบัณฑิตเชิงผู้ประกอบการของนักศึกษาสหกิจศึกษา ได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยพิจารณาน้ำหนักของผลกระทบของตัวแปรอิสระที่ส่งผลกับความสำเร็จเพื่อสร้างบัณฑิตเชิงผู้ประกอบการของนักศึกษาสหกิจศึกษา พบว่า ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (β = 0.551) รองลงมา คือ ด้านทักษะทางปัญญา (β = 0.358) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (β = 0.115) ด้านความรู้ (β = 0.110)  และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (β = 0.083)  นอกจากนี้ สัมประสิทธิ์การพยากรณ์ปัจจัยทั้ง  5  ค่า  R = 0.821  มีค่าเข้าใกล้ 1.00  แสดงว่า  มีความสัมพันธ์สูงมาก สามารถใช้ตัวแปรอิสระทั้งหมดพยากรณ์ตัวแปรตามได้ดี และสามารถอธิบายความสำเร็จเชิงผู้ประกอบการของนักศึกษาสหกิจศึกษา (R2) ได้ร้อยละ 67.50 และมีความคลาดเคลื่อนในการพยากรณ์ (SEest) เท่ากับ 18.85 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05
  4. แนวทางการบูรณาการจัดการสหกิจศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเชิงผู้ประกอบการนั้นต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสหกิจศึกษามีการพัฒนาทักษะความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีทักษะในการปรับตัวและร่วมมือกับผู้อื่นในการแก้ไขปัญหาและสามารถวางแผนดำเนินโครงการได้ด้วยตนเอง

คำสำคัญ: การบูรณาการ การบริหารงานจัดการแบบมีส่วนร่วม, มาตรฐานสหกิจศึกษา, สถานประกอบการ,  มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ, ผู้ประกอบการ, บัณฑิตเชิงผู้ประกอบการ


Abstract

The purposes of this research study were : 1) to investigate the participatory management with reference to the cooperative education standards of the workplace, 2) to examine the competencies of cooperative education students in the workplace according to the Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF) alongside with the entrepreneurial success to develop cooperative education students by using surveys and in-depth interviews methods, 3) an integrated approach of Cooperative Education Management to Develop Entrepreneurial Graduates.  The sample size was 283 people. The research tools were questionnaires. Statistical analysis was carried out by average, standard deviation and the Multiple Regression Analysis coupled with the qualitative research data collected by interviewing informants including executives, managers/heads of the departments, job supervisors, cooperative education advisors or related persons in the workplace. The results showed that:

  1. The overall condition of participatory management in the implementation of the cooperative education standards was at a moderate level ( =2.81). Specifically, it was found that administrative management is the only factor showed a high level ( =4.17) while the supervisors were at a moderate level ( =2.61). Lastly, the remaining were categorized in the low level, respectively academic, evaluation and reports ( =2.29, =2.18).
  2. The competencies of cooperative education students in the workplace in relation to the five skill domains of Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF) was at a high level overall ( =3.85). Based on each domain, the results indicated that most of skill domains obtained the relatively high level including intellectual skills ( =4.16), knowledge skills ( =4.14), interpersonal skills and responsibilities ( =3.92), morality and ethics ( =3.57). Those rated at the medium level were numerical analysis skills, communication and the use of information technology ( = 3.48). Besides, the overall factors of the entrepreneurial success to develop cooperative education students were rated at a high level ( =3.81). When considering each item precisely, most of them illustrated high and moderate level; that is self-confidence ( =4.26) followed by risk tolerance ( =4.21), immediate response ( =4.12), and social skills ( = 2.95), respectively.
  3. The results of hypothesis tested by the Multiple Regression Analysis of the competencies affecting the success to develop entrepreneurial graduates which are moral and ethical skills, knowledge skills, intellectual skills, interpersonal and responsibilities skills, numerical analysis, communication, and the use of information technology skills. By considering the impact size of independent variables that affect the success to develop entrepreneurial graduates of cooperative education students, it was found that the competencies of cooperative students are the analytical, communication and the use of information technology skills (β=0.551), followed by intellectual skills (β= 0.358), moral and ethics skills (β=0.115), knowledge skills (β=0.110), and interpersonal and responsibilities skills (β=0.083). The prediction coefficient of all 5 factors  (R=0.821) was close to 1.00, indicating a very high correlation among set of  independent variables with a good prediction power which was able to explain the entrepreneurial graduate success of cooperative education students (R2) by 67.50%. The prediction error (SEest) was 18.85 at the statistical significance level of 0.05.
  4. Guidelines to integrated cooperative education for entrepreneurial graduates have to promote cooperative education students to develop ICT knowledge skills, adaptability and collaboration to tackle problems as well as ability to conduct project on their own.

Keywords: Integration, Participatory management, cooperative education standard, workplace Thai Qualifications Framework for Higher Education, Entrepreneur, Entrepreneurial Graduate.


การบูรณาการการจัดการสหกิจศึกษาเพื่อสร้างบัณฑิตเชิงผู้ประกอบการ / Integrated Approach of Cooperative Education Management to Develop Entrepreneurial Graduates

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 559
Previous: การใช้หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการในประเทศไทย
Next: ตัวแบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถนะผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code