The International Co-Founded University Model: Case Studies In South East Asia

Last modified: November 13, 2020
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
รูปแบบมหาวิทยาลัยร่วมจัดตั้ง: กรณีศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
The International Co-Founded University Model: Case Studies In South East Asia
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาวกิ๊ก เย็นมี
Miss Kik Yenmee
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปองสิน วิเศษศิริ
Asso. Prof. Dr. Jomphong Mongkhonvanit, Asst. Prof. Dr. Pongsin Viseshsiri
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การบริหารการศึกษา
Education Administration
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2563
2020
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
Conference
Conference Proceedings
National and International Academic Conference “Innovation and Management for Sustainability” 9-10 July 2020
Journal of Humanities, and Social Sciences, ISSN 2586-9388 (Online), Vol. 13 No.2, December 2021

การอ้างอิง/citation

เย็นมี, กิ๊ก. (2563). รูปแบบมหาวิทยาลัยร่วมจัดตั้ง: กรณีศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษารูปแบบของมหาวิทยาลัยร่วมจัดตั้ง ค้นหาปัจจัยที่สำคัญในกระบวนการตัดสินใจและกระบวนการที่สถาบันการศึกษาใช้ในก่อตั้งมหาวิทยาลัยร่วมจัดตั้ง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้รูปแบบการวิจัยแบบขั้นตอนเชิงอธิบาย โดยใช้กระบวนการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยร่วมจัดตั้ง 3 แห่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์แก่นสาร (Thematic analysis) ของ Braun & Clarke (2006) ผลการวิจัยนำเสนอรูปแบบโมเดลมหาวิทยาลัยร่วมจัดตั้ง  ซึ่งมหาวิทยาลัยร่วมจัดตั้งคือมหาวิทยาลัยอิสระก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือของสถาบันต่างชาติและสถาบันหรือรัฐบาลท้องถิ่น รูปแบบที่ได้แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย 4 ด้าน (สังคม/วัฒนธรรม, การเมือง, วิชาการ และเศรษฐศาสตร์)  และกระบวนการก่อตั้งมหาวิทยาลัยร่วมจัดตั้งซึ่งแบ่งออกเป็นห้าขั้นตอน ขั้นตอนแรกการพิจารณา ตรวจสอบประโยชน์และข้อเสียของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยร่วมจัดตั้งและพิจารณาเป้าหมายของการก่อตั้ง (สร้างชื่อเสียง, การพัฒนาโอกาสในงานวิจัยเชิงวิชาการ หรือ ผลประโยชน์ทางการเงิน) ขั้นตอนที่สองการรวบรวมการสนับสนุน มองหาความร่วมมือ เงินลงทุน รวมถึงสร้างความสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษาหรือประเทศผู้มีความเป็นไปได้ในการสร้างความร่วมมือ ขั้นตอนที่สามการรับรู้ถึงโอกาส ประเมินโอกาสทางเศรษฐกิจและวิชาการของผู้ที่จะร่วมมือด้วย ขั้นตอนที่สี่การคัดกรอง การตัดสินใจและการวางแผน  ทำการเลือกสถาบันที่เหมาะสมมากที่สุดโดยพิจารณากฎเกณฑ์เฉพาะและประเด็นทางเศรษฐกิจ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมและขั้นตอนสุดท้ายการดำเนินการ เริ่มสร้างหลักสูตรและการวางแผนเพิ่มเติมร่วมกัน รวมทั้งการจัดการเรื่องของคุณภาพและเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร

คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยร่วมจัดตั้ง, ความเป็นนานาชาติด้านการศึกษา, การศึกษาข้ามชาติ, การจัดการการศึกษา


Abstract

This research explores the model of the international co-developed or co-founded university, the key factors in the decision-making process, and the process that universities follow to decide whether an international co-founded university can be established. This research employed a qualitative method with a sequential explanatory design. Qualitative research involved reviewing existing literature and conducting semi-structured interviews with key decision makers from three co-founded universities in Southeast Asia. Data was analyzed using Braun and Clarke’s (2006) six-step coding process for thematic analysis. Research results affirmed the model of co-founded university, which is an independent higher education institution founded through collaboration between foreign higher education institutions and host country institutions or governments. The model is presented as a framework of relationships among four key factors (i.e. sociocultural, political, academic, and economic) and the process involved in the establishment of a co-founded university. This process consist of the following: (1) Consideration: examining the benefits and disadvantages of co-founded universities and their compliance with institutional goals (e.g. building reputation, developing opportunities for academic research or financial gain); (2) Support enhancement: engaging stakeholders, allocating funding and staffing, reinforcing connections with possible host countries, and aligning the mission; (3) Opportunity recognition: identifying economically and academically viable opportunities and working with partners; (4) Screening, decision-making, and planning: considering the specifics of a location, regulations and economic situation in the host country, and leadership preferences; and (5) Operationalization: considering course programs and planning as well as issues regarding staff quality, attraction, and retention.

Keywords: co-founded university, internalization of education, transnational education, educational management.


รูปแบบมหาวิทยาลัยร่วมจัดตั้ง: กรณีศึกษาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | The International Co-Founded University Model: Case Studies In South East Asia

Doctor of Philosophy in Leadership and Innovation in Educational Administration, Siam University, Thailand

Related:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 240
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles