การบริหารจัดการตามแนวคิด 7S ของแมคคินซีย์ที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย

Last modified: January 26, 2023
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การบริหารจัดการตามแนวคิด 7S ของแมคคินซีย์ที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย
The Management of the 7S McKinsey Framework Influencing the Learning Organization of Hotel Businesses in Thailand
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายนันทวัฒน์ พรเลิศกชกร
Mr. Nantawat Pornleartkochakorn
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร.กานต์จิรา  ลิมศิริธง, ดร.บุรินทร์  สันติสาส์น
Dr. Karnjira Limsiritong, Dr. Burin Santisarn
ระดับการศึกษา:
Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
Doctor of Philosophy
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการ
Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2565
2022
Published/แหล่งเผยแพร่:
นันทวัฒน์ พรเลิศกชกร, กานต์จิรา ลิมศิริธง และ บุรินทร์ สันติสาส์น. (2565). ปัจจัยการบริหารจัดการตามแนวคิด 7S ของแมคคินซีย์ที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 16(2), 113-124.
นันทวัฒน์ พรเลิศกชกร, กานต์จิรา ลิมศิริธง, บุรินทร์ สันติสาส์น และ ธนภูมิ ลิมศิริธง. (2565). ทางออกของธุรกิจโรงแรมกับแนวคิดการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. สยามวิชาการ, 1(40), 40-58.
นันทวัฒน์ พรเลิศกชกร, กานต์จิรา ลิมศิริธง และ บุรินทร์ สันติสาส์น. (2563). องค์ประกอบของการบริหารจัดการองค์การที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจโรงแรมในประเทศ. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2563 (หน้า 1422-1432). กรุงเทพฯ: โรงแรมอีสตินแกรนด์ สาทร.

การอ้างอิง|Citation

นันทวัฒน์ พรเลิศกชกร. (2565). การบริหารจัดการตามแนวคิด 7S ของแมคคินซีย์ที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Pornleartkochakorn N. (2022). The management of the 7S McKinsey framework influencing the learning organization of hotel businesses in Thailand. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Philosophy in Management, Siam University.


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1)  เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการตามแนวคิด 7s ของแมคคินซีย์ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย  2)  เพื่อศึกษาองค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย  3)  เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างการบริหารจัดการตามแนวคิด 7s ของแมคคินซีย์ และองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยใช้การวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นหลัก ในการเก็บแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด จากพนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว จำนวน 67 แห่ง และเสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยทำการสัมภาษณ์พนักงานโรงแรมตั้งแต่ระดับผู้จัดการขึ้นไป เจ้าหน้าที่ในสมาคมโรงแรมไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจโรงแรม รวม 18 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์ตารางแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) การทดสอบยืนยันองค์ประกอบของตัวแปร (Confirmatory Factor Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการบริหารจัดการตามแนวคิด 7S ของแมคคินซีย์ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยมีค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งผ่านเกณฑ์การยอมรับทั้งหมด  2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันเชิงยืนยันขององค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยมีค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งผ่านเกณฑ์การยอมรับทั้งหมด  3) การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย พบว่า กลยุทธ์ รูปแบบการบริหาร พนักงาน ทักษะ และค่านิยมร่วมโดยสามารถพยากรณ์ตัวแปรตามคือ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยได้ร้อยละ 62.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ Ŷ = .988 + .083 (กลยุทธ์) + .076 (รูปแบบการบริหาร) + .091 (พนักงาน) + .322 (ทักษะ) + .169 (ค่านิยมร่วม) และสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Ẑ = .096 (กลยุทธ์) + .106 (รูปแบบการบริหาร) + .115 (พนักงาน) + .409 (ทักษะ) + .194 (ค่านิยมร่วม)  และตัวแปรใหม่ที่ค้นพบในครั้งนี้คือ ความสุขในการทำงานของพนักงาน ส่วนปัจจัยที่เป็นปัญหาต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยคือ ด้านโครงสร้าง และระบบ

คำสำคัญ: แนวคิด 7S ของแมคคินซีย์, องค์การแห่งการเรียนรู้, ธุรกิจโรงแรม


Abstract

The objectives of this study were: 1) to study the components of management according to McKinsey’s 7s Framework of hotel businesses in Thailand; 2) to study the composition of the learning organization of hotel businesses in Thailand; 3) to study of influences during McKinsey’s 7s Framework of management and learning organization of hotel businesses in Thailand.

This research was mixed method research using quantitative research to collect 400 questionnaires from employees of 67 5-star hotels and supplemented with qualitative research by interviewing hotel staff from the manager level and up, staff in the Thai Hotels Associations and hotel businesses experts, total 18 people. The statistics used in the data analysis were: Analysis of Frequency Distribution Tables, Percentage, Mean, Standard Deviation, Pearson’s Correlation Coefficient, Confirmatory Factor Analysis, and Multiple Regression Analysis.

The results showed that: 1) The results of the confirmatory factor analysis of McKinsey’s 7S management of hotel businesses in Thailand were harmonious with the empirical data, which passed all the acceptance criteria; 2) The results of the confirmatory factor analysis of the Learning Organization of the hotel businesses in Thailand were consistent with the empirical data, all of which passed the acceptance criteria; 3) The analysis of factors affecting being a learning organization of hotel businesses in Thailand found that strategies, management styles, employees, skills, and shared values can be predicted by the dependent variables, a learning organization for the hotel businesses in Thailand, was 62.50% with statistical significance at .05 level. The forecast equation in unstandardized was Ŷ = .988 + .083 (strategy) + .076 (style) + .091 (staff) + .322 (skills) + .169 (shared values) and the forecast equation in standardized was Ẑ = .096 (strategy) + .106 (style) + .115 (staff) + .409 (skills) + .194 (shared values) and the new variable discovered this time was employee happiness. As for the factors that were problematic for being a learning organization in the hotel businesses in Thailand were structure and system.

Keywords:  7S McKinsey Framework, Learning Organization, Hotel Businesses.


การบริหารจัดการตามแนวคิด 7S ของแมคคินซีย์ที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย |The Management of the 7S McKinsey Framework Influencing the Learning Organization of Hotel Businesses in Thailand

Doctor of Philosophy in Management, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1104
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print