รูปแบบจริยธรรมทางการตลาดสำหรับการประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไทย

Last modified: November 11, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
รูปแบบจริยธรรมทางการตลาดสำหรับการประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไทย
The Model of Marketing Ethics for Thailand’s Industrial Entrepreneurship
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายชัยยันต์ เจริญโชคทวี
Mr. Chaiyan Charoenchokethavee
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผศ. ดร.ปริญ ลักษิตามาศ
Assistant Prof. Dr.Prin Laksitamas
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.)
Doctor of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การตลาด
Marketing
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019

การอ้างอิง|Citation

ชัยยันต์ เจริญโชคทวี. (2562). รูปแบบจริยธรรมทางการตลาดสำหรับการประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไทย. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Charoenchokethavee C. (2019). The model of marketing ethics for Thailand’s industrial entrepreneurship. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Business Administration in Marketing, Siam University.


บทคัดย่อ

     การศึกษาเรื่อง รูปแบบจริยธรรมทางการตลาดสำหรับการประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไทย มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบพื้นฐานจริยธรรมทางการตลาดของการเป็นผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไทย 2) ระดับจริยธรรมทางการตลาดสำหรับการเป็นผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไทย 3) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของรูปแบบจริยธรรมทางการตลาดสำหรับการเป็นผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไทย และ 4) นำเสนอรูปแบบจริยธรรมทางการตลาดสำหรับการเป็นผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไทย

     เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไทย จำนวนทั้งสิ้น 573 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 14.0 และ AMOS version 6.0 โดยใช้ค่าสถิติอัน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ในการสรุปผลการวิจัย

     ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยพื้นฐานของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไทยมีการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย ซึ่งมิใช่รองเท้า คิดเป็น ร้อยละ 15.2 เป็นโรงงานจำพวกที่ 3 เครื่องจักรเกิน 50 แรงม้า โดยส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 54.6 ทุนจดทะเบียนเฉลี่ย 25.62 ล้านบาท ถือหุ้นโดยชาวต่างชาติเฉลี่ย ร้อยละ 20.16 มีจำนวนพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมเฉลี่ย 61 คน มีระยะเวลาดำเนินโรงงานอุตสาหกรรมเฉลี่ย 12.15 ปี ซึ่งโดยส่วนใหญ่มีทำเลที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมในต่างจังหวัด คิดเป็นร้อยละ 65.8

     กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไทยมีจริยธรรมทางการตลาดในระดับมาก   ในด้านจริยธรรมทางการตลาดของอุตสาหกรรมที่มีต่อพนักงาน ด้านจริยธรรมทางการตลาดของผู้ประกอบการ ด้านจริยธรรมทางการตลาดของผู้ประกอบการที่มีต่อคู่แข่งขัน ด้านจริยธรรมทางการตลาดของผู้ประกอบการที่มีต่อสังคม ด้านจริยธรรมทางการตลาดของพนักงานที่มีต่อผู้ประกอบการ และด้านจริยธรรมทางการตลาดของผู้ประกอบการที่มีต่อลูกค้า ตามลำดับ ความสำคัญโดยรวมจัดได้ว่าโรงงานอุตสาหกรรมไทยมีจริยธรรมทางการตลาดอยู่ในระดับมาก ( =3.62) รูปแบบจริยธรรมทางการตลาดที่พัฒนาขึ้นมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประกอบด้วย 35 ตัวบ่งชี้ ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบต่างมีความเที่ยงตรงเชิงเสมือน เนื่องจากค่าความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างโดยรวมเท่ากับ 0.974 ซึ่งผ่านเกณฑ์มากกว่า 0.60 และค่าน้ำหนักองค์ประกอบโดยรวมเท่ากับ 0.861 ซึ่งผ่านเกณฑ์ 0.30 ขึ้นไปด้วย

     แนวทางเสริมสร้างจริยธรรมทางการตลาดแก่ภาคโรงงานอุตสาหกรรมไทยอย่างเร่งด่วนโดยการบริหารอย่างมีจริยธรรมทางการตลาดได้รับการลดหย่อนค่าใช้จ่ายบางอย่างได้ กำหนดบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ประกอบการที่ขาดหลักจริยธรรมในการดำเนินงาน ก่อให้เกิดผลเสียทั้งทางแพ่งและอาญา รวมถึงผลักดันนโยบายการอบรมพัฒนาความรู้ ทักษะ และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยให้เครื่องหมายรับรองจริยธรรมทางการตลาดของธุรกิจ

คำสำคัญ: จริยธรรมทางการตลาด, โรงงานอุตสาหกรรมไทย, การประกอบการ


Abstract

The study entitled “The Model of Marketing Ethics for Thailand’s Industrial Entrepreneurship” had 4 objectives: (1) to study the fundamental component of the model of marketing ethics of Thailand’s industrial entrepreneurs, (2) to study the marketing ethics level for Thailand’s industrial entrepreneurs, (3) to develop and evaluate the content validity for Thailand’s industrial entrepreneurs and (4) to present the model of marketing ethics of Thailand’s industrial entrepreneurs.

A questionnaire was used to analyze the data from a sample of 573 respondents’ entrepreneurs in Thailand’s marketing manufacturing industry. The software of SPSS version 14.0 and Amos version 6.0 was used in this research, and statistical tool value was frequency distribution, percentage arithmetic mean, standard deviation and the confirmatory factor analysis: CFA for research conclusion.

The research result showed that the fundamental characteristics of Thailand’s industrial entrepreneurship had operated in industrial entrepreneurs mainly on dressing, not on shop type (15.2%); manufacturing industry of type 3, category of not 50 over horsepower (54.6%); capital registration 25.62 million Baht; international stockholders averaging 20.16 percentage; 61 industrial workers; industrial operating time for a period of 12.15 years, were mostly located outside Bangkok area (65.8%).

Thailand’s industrial entrepreneurs’ sample group had marketing ethics at high levels in industry towards employees; entrepreneurs toward government agencies; competition; social environment; employees toward entrepreneurs and customers respectively on important aspects. Overall, it could be recognized that Thailand’s marketing ethics was at high level ( =3.62). The developed marketing ethics convergent validity consisted of 35 indicators, where each component constructed reliability was 0.974, passed more than 0.60 and the value of average variance extracted was 0.861, passed the value of factor loading over 0.30.

The guideline to support the marketing ethics for Thailand’s industrial market sector straightaway was to manage marketing ethically, by getting some sort of expense deductions. Meanwhile, set up penalties heavily for any wrong doing in industrial operations ethics caused by civilly and criminally damaged, increase training for knowledge and skill development, and a code of ethics in professions through symbolic award of business marketing ethics inclusively.

Keywords:  Marketing Ethics, Thailand’s Industrial Manufacturing, Entrepreneurship.


รูปแบบจริยธรรมทางการตลาดสำหรับการประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไทย | The Model of Marketing Ethics for Thailand’s Industrial Entrepreneurship

Doctor of Business Administration in Marketing, Siam University, Bangkok, Thailand

Related:

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 915
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code