ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตามรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล

Last modified: June 2, 2024
You are here:
Estimated reading time: 3 min

Title: The Policy Implication for Development the Quality of Princess Chulabhorn Science School according to A Model of Causal Relationship of Factors Affecting the Effectiveness

ชื่อโครงการ: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัยตามรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัย ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล

Author: Mrs. Budsabong Promchan

ชื่อผู้วิจัย: นางบุสบง พรหมจันทร์

Advisor: รศ. ดร.บุญมี เณรยอด – Assoc. Prof. Dr. Boonmee Nenyod

Degree: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Doctor of Philosophy Program in Educational Administration Innovation

Major: ปร.ด. นวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Ph.D. in Educational Administration Innovation

Faculty: บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School)

Academic year: 2566 (2023)

Published: การประชุมวิชาการและเผยแพร่งานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 7 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 3 “ความร่วมมือเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในอนาคต” วันที่ 25 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 (หน้า 65-78) จัดโดยคณะอนุกรรมการสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (สสอท.)  APHEIT-EDU 2023  PDF  บทความวิจัย เรื่อง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตามรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อระสิทธิผล ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารรัชต์ภาคย์ สถาบันรัชต์ภาคย์ Rajapark Journal ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 59 กรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ.2567  RJPJ 


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน 2) พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของโรงเรียน 3) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาคุณภาพ เป็นการวิจัยผสมวิธีพหุระยะ 3 ขั้นตอน 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน โดยการวิเคราะห์เอกสาร จัดประชุมสนทนากลุ่ม และสอบถามกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 12 โรงเรียน รวมจำนวนทั้งสิ้น 323 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจงและสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL และตรวจสอบรูปแบบโดยใช้การสัมมนาของผู้ทรงคุณวุฒิ 3) จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โดยพิจารณาค่าน้ำหนักของตัวแปรสังเกตได้ของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนทุกปัจจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิผลของโรงเรียนภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ความพึงพอใจของผู้ปกครอง คุณภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คุณภาพของนักเรียน คุณภาพผู้บริหาร และความพึงพอใจของครู ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนด้านการปฏิบัติงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านโรงเรียน ปัจจัยภายนอก และปัจจัยด้านนักเรียน ตามลำดับ
2. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันจากค่าน้ำหนัก (Factor Loading) พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของของโรงเรียนที่มีค่าน้ำหนักสูงสุด คือ ปัจจัยภายนอก รองลงมาคือ ด้านโรงเรียน ด้านผู้บริหาร ด้านนักเรียน และด้านครูและบุคลากร ตามลำดับ ส่วนประสิทธิผลโรงเรียน ที่มีค่าน้ำหนักสูงที่สุด คือ คุณภาพครู คุณภาพนักเรียน คุณภาพผู้บริหาร ความพึงพอใจของผู้ปกครอง และคุณภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามลำดับ
3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยตามรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพนักเรียน ได้แก่ การส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนมีความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จากการลงมือปฏิบัติ การเพิ่มเงื่อนไขคุณสมบัติของนักเรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการเข้าศึกษาต่อ การเพิ่มเงื่อนไขคุณสมบัติด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสะสมกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างเรียน ด้านความพึงพอใจของครู ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณเหมาะสมและเพียงพอ การสร้างความร่วมมือด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กับโรงเรียน Super Science High Schools และ National Institute of Technology of Japan (KOSEN) ด้านคุณภาพผู้บริหาร ได้แก่ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับทุกภาคส่วน เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่น การพัฒนาระบบบริหารจัดโรงเรียนโดยนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนให้มีความสามารถด้านการบริหารวิชาการและมีภาวะผู้นำทางวิชาการ มีความสามารถด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม มีสมรรถนะทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล การส่งเสริมให้ผู้บริหารโรงเรียนปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านความพึงพอใจของผู้ปกครอง ได้แก่ การสร้างความปลอดภัยในโรงเรียนเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักเรียน ครู และผู้ปกครอง การส่งเสริมและสนับสนุนจัดการเรียนรู้ตามสมรรถนะของหลักสูตรเฉพาะสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และ ด้านคุณภาพ การปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ การพัฒนาครูให้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ในวิชาเอกที่บรรจุ / ย้ายไปดำรงตำแหน่ง การส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูจัดการเรียนรู้ที่เน้น ความเป็นเลิศทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เทียบในระดับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาชาติ การพัฒนาครูให้มีความพร้อมด้านวิชาการและทักษะการจัดการเรียนรู้

คำสำคัญ: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย, รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ประสิทธิผลของโรงเรียน วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย


Abstract

This research aimed 1) to study the level effector affecting school effectiveness and factors affecting school effectiveness 2) to develop and validate the casual relationship model of factor affecting school effectiveness and 3) to propose the policies implications for school development. A multi-phase mixed method design was applied in this research which composed of 3 phases : 1) Study the level of school effectiveness through documentation analysis, experts group discussion, and data gathering from school administrators, and teachers from 12 Princess Chulabhorn Science School total to be 323 in numbers through a five scale rating questionnaire, then data were analyzed by using percentage, arithmetic mean, and standard deviation. 2) Developed a causal relationship model of factors affecting school effectiveness through a LISREL program technique, then validated by expert judgement technique. 3) Proposed the policies implication for school development by considering the variable with high factor loading of every factor which affected the school effectiveness.
Research results showed that:
1. The level of school effectiveness was at the most level by which the mean score of each factor could sequently showed from high to low as student parents satisfaction, performance of teacher and personnel, quality of students, quality of school administrators, and teachers’ satisfaction respectively.
2. A causal relationship model of factors affecting school effectiveness was fit with the empirical data by which when considered the factor loading data showed from the highest to low could sequently as; the external factors, school readiness, administrators, students, and teachers and personnel respectively. If considered the school effectiveness data showed from the highest to low could sequently as teachers’ quality, students’ quality, administrator’s quality, student-parents’ satisfaction, and teacher and personnel’s performance respectively.
3. With regards to policies implication for school development according to a causal relationship model of factors affecting school effectiveness data showed that:
1) Student quality; promoting and supporting students to be more knowledge and skills in mathematics and science through experimentation activities, raising leaning achievement score not only in student selection criterias but also in cumulative score in mathematics, science, and technology while they were in school. 2) Teachers’ satisfaction; providing an appropriated and sufficient amount of budget, created more cooperative in mathematics and science learning activities with Super Science High School and National Institute of technology of Japan (KOSEN). 3) Administrators quality; promoting more academic network with more organization and agencies for students’ benefits in learning resources and local wisdom, develop a school management system with emphasize on digital technology, empower school administrators regarding academic administration, academic leadership, management of change, strategic management, innovation and digital competencies, promoting on work performance standard and professional ethics. 4) student-parents’ satisfaction; promoting school safety for creating more trust from students, teachers, and student-parents, promoting and supporting learning activities according to specific curriculum competencies for those students with talented in science and mathematics. 5) Teachers and personnel’s performance; promoting and supporting not only teachers’ competency development according to their job but also learning competencies management for excellent in mathematics and science when comparing with international school, and teacher development regarding academic and learning competencies management skills readiness.

Keywords: Proposed policy, causal relationship model, Effectiveness of Princess Chulabhorn Science School


The Policy Implication for Development the Quality of Princess Chulabhorn Science School according to A Model of Causal Relationship of Factors Affecting the Effectiveness / ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัยตามรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัย ที่ส่งผลต่อประสิทธิผล

6319000013 นางบุสบง พรหมจันทร์ Mrs. Budsabong Promchan 2566 (2023) The Policy Implication for Development the Quality of Princess Chulabhorn Science School according to A Model of Causal Relationship of Factors Affecting the Effectiveness วิทยานิพนธ์ (Thesis), Advisor: รศ. ดร.บุญมี เณรยอด – Assoc. Prof. Dr. Boonmee Nenyod, ปริญญาเอก (Doctorate Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Doctor of Philosophy Program in Educational Administration Innovation, ปร.ด. นวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Ph.D. in Educational Administration Innovation, Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, Graduate School 2023, IMBA, IMBA 2023, Independent Study, Independent Study 2023, Master of Business Administration, Master of Business Administration (International Program) 2023, Master of Business Administration 2023, ปริญญาเอก (Doctorate Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Doctor of Philosophy Program in Educational Administration Innovation,ปร.ด. นวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Ph.D. in Educational Administration Innovation

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 54
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles