สถานการณ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ชายแดน อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

Last modified: October 29, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min
ชื่อเรื่อง: สถานการณ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ชายแดน อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี
Title: The Situation of Drugs and Health Products in the Border Area of Sangkhla Buri District, Kanchanaburi Province
ผู้วิจัย:
Researcher:
สันติ โฉมยงค์, ผการัตน์ ตั้งเขื่อนขันธ์, สุญาณี พงษ์ธนานิกร, กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, ปณิธิ วิจินธนสาร และชินวัจน์ แสงอังศุมาลี|Santi Chomyong, Phakarat Tangkheunkan, Suyanee Pongthananikorn, Kamolwan Tantipiwattanasakul, Paniti Wijintanasarn and Shinnawat Saengungsumalee
หลักสูตรที่สอน:
Degree:
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care
สาขาที่สอน:
Major:
เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care)
สังกัดคณะวิชา:
Faculty of study:
เภสัชศาสตร์ (Pharmacy)
ปีการศึกษา:
Academic year:
2567 (2024)
แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่:
Published:
วารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ ปีที่ 47 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2567 หน้า 1 – 15 | Journal of Social Research and Review Vol. 47 No. 2, July- December 2024 p.1 – 15   Click   PDF

บทคัดย่อ

     เขตพื้นที่ชายแดนภาคตะวันตกประเทศไทยเป็นดินแดนติดกับประเทศเมียนมา มีช่องทางในการเข้าออกของยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพระหว่างประเทศ จึงมักพบปัญหาเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพอย่างไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพแก่ประชาชนในเขตพื้นที่ชายแดน ผู้วิจัยจึงเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้และต้องการทราบสถานการณ์ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ชายแดน เพื่อจะนำไปสู่การเฝ้าระวัง การให้ความรู้แก่ประชาชน ตลอดจนพัฒนาระบบสาธารณสุขของพื้นที่เขตชายแดน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ชายแดนจังหวัดกาญจนบุรี โดยการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้วิธีการสุ่มแบบตามสะดวก ได้กลุ่มตัวอย่าง 95 คน ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างมีประวัติได้รับยาในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 70 คน ยาที่มีความชุก 3 อันดับแรก ได้แก่ ยาแผนปัจจุบัน ยาสมุนไพร และยาชุด ตามลำดับ โดยส่วนมากใช้ยาเพื่อรักษาโรค ผู้ที่ใช้ยาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรและรับจ้าง แหล่งจำหน่ายยาส่วนใหญ่มาจากโรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ยาส่วนใหญ่เป็นยาที่มาจากประเทศไทย รองลงมาเป็นประเทศเมียนมา และไม่พบการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ดังนั้นการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมบริเวณเขตพื้นที่ชายแดนยังคงเป็นปัญหาที่ต้องเฝ้าระวัง

คำสำคัญ: ยาชายแดน, ระบบสุขภาพชายแดน, ยาชุด, ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสม


Abstract

In the western border region of Thailand, which borders Myanmar, there is an international market for medicines and health products. There are often problems with improper use of health products, resulting in health problems for people in border areas. The researchers see the importance of this problem and want to study the situation of health products. In the western border area of Thailand, this would lead to surveillance and public education for the development of the health system of the border of the west region. This study aims to explore the situation of drugs and health products in the border area of Kanchanaburi Province. This survey was conducted using convenience sampling. The sample size was 95 respondents. The survey’s primary data and data on the use of drugs and health products showed that 70 respondents had a history of receiving drugs in the past year. The top three drugs were traditional, herbal, and drug set (Ya-chud), respectively. Most of the drugs were used to treat diseases, with the primary users being farmers and employees. The majority of drug transactions occurred in hospitals and healthcare centers. Most of the drugs originated from Thailand, followed by Myanmar, and no other health products were reported. As a result, the improper use of medicines in border areas continues to be an issue.

Keywords: Border medicine, Border health system, Drug set, Inappropriate health product


The Situation of Drugs and Health Products in the Border Area of Sangkhla Buri District, Kanchanaburi Province. 2567 (2024). สถานการณ์ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในพื้นที่ชายแดน อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. บทความ (Paper). Advisor: อ. ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี – Mr. Shinnawat Saengungsumalee. วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science. เภสัชศาสตร์ (Pharmacy). เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care). หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care. Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science, เภสัชศาสตร์ (Pharmacy), เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ. (การบริบาลทางเภสัชกรรม) – Pharm.D. (Pharm.Care),หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม – Doctor of Pharmacy Program in Pharmaceutical Care

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 43
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code