ตัวชี้วัดเพื่อกําหนดมาตรฐานการตลาดความสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิจ เพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

Last modified: November 11, 2022
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ตัวชี้วัดเพื่อกําหนดมาตรฐานการตลาดความสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิจ เพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0
The Specified Standard Indicators of Relationship Marketing for Business Enterprises Moving Toward Thailand 4.0
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางตรียาพร ตุ่มศรียา
Mrs. Treeyaporn Tumsriya
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผศ. ดร.ปริญ ลักษิตามาศ
Assistant Prof. Dr. Prin Laksitamas
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.)
Doctor of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การตลาด
Marketing
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2562
2019

การอ้างอิง|Citation

ตรียาพร ตุ่มศรียา. (2562). ตัวชี้วัดเพื่อกำหนดมาตรฐานการตลาดความสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิจ เพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Tumsriya T. (2019). The specified standard indicators of relationship marketing for business enterprises moving toward Thailand 4.0. (Doctoral dissertation). Bangkok: Doctor of Business Administration in Marketing, Siam University.


บทคัดย่อ

     การศึกษาเรื่อง ตัวชี้วัดเพื่อกำหนดมาตรฐานการตลาดความสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิจ   เพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานองค์กรธุรกิจเพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 2) ระดับความคิดเห็นของผู้บริหารฝ่ายการตลาดหรือผู้รับผิดชอบการตลาดสัมพันธ์ต่อการก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 3) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของตัวชี้วัดการตลาดความสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิจเพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 และ 4) กำหนดมาตรฐานการตลาดความสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิจเพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

     เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างองค์กรธุรกิจของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 660 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 16.0 และ AMOS version 6.0 โดยใช้ค่าสถิติ อันได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Secondary order Confirmatory Factor Analysis) ในการสรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างองค์กรธุรกิจมีการสร้างตลาดความสัมพันธ์โดยภาพรวม  จัดอยู่ในระดับมาก (x̄ =3.75) โดยมีการตลาดความสัมพันธ์ระดับมากในด้านความสามารถในการสร้างสรรค์ การสื่อสารการตลาดขององค์กร ภาพลักษณ์องค์กรและความรับผิดชอบต่อสังคม จริยธรรมทางการตลาด การบริหารงานบุคคล การประกอบธุรกิจ และความสำเร็จของธุรกิจการบริการ และแบรนด์ของกิจการ ตามลำดับ ตัวชี้วัดเพื่อกำหนดมาตรฐานการตลาดความสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิจเพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่พัฒนาขึ้นมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ยังคงประกอบด้วย 44 ตัวชี้วัดเช่นเดิม ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบต่างมีความตรงเชิงเสมือน เนื่องจาก     ค่าความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้างผ่านเกณฑ์มากกว่า 0.60 และค่าความผันแปรของค่าความเชื่อมั่น    เชิงโครงสร้างผ่านเกณฑ์คือมากกว่า 0.50 ด้วยเช่นกัน ตลอดจนเมื่อนำตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้นมากำหนดมาตรฐานการตลาดความสัมพันธ์โดยพิจารณาจากคะแนนรวมสุทธิแบ่งได้ 5 ระดับ คือ ระดับไม่ผ่านมาตรฐาน (1 ดาว) (<50%) ระดับต่ำกว่ามาตรฐาน (2 ดาว) (≥50-59%) ระดับมาตรฐาน (3 ดาว) (≥60-69%) ระดับดี (4 ดาว) (≥70-89%) และระดับดีเยี่ยม (5 ดาว) (≥90-100%)

คำสำคัญ: ตัวชี้วัดมาตรฐาน, การตลาดความสัมพันธ์, ไทยแลนด์ 4.0


Abstract

The study entitled the specified standard indicators of relationship marketing for business enterprises moving toward Thailand 4.0. The research objectives were to study: (1) the fundamental characteristics of business enterprises moving toward Thailand 4.0; (2) the degree of opinions of marketing executives or responsible executives for the relationship marketing toward Thailand 4.0; (3) the development and validity checking relationship marketing of business enterprises moving toward Thailand 4.0; and (4) to setup marketing standard indicators for business enterprises moving toward Thailand 4.0.

The research tool used was a questionnaire, which was collected from 660 registered business enterprises in the stock exchange of Thailand. The statistical analyses used SPSS software version 16.0 and Amos version 6.0. The statistical values of frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation and the secondary order confirmatory factor analysis were analyzed for the research conclusion.

The research found that the sampling unit of business enterprises overall builded relationship marketing averaging at the high level ( = 3.75), which relationship marketing at the high levels in creative potentiality, enterprising market communication, imaged enterprise and societal responsibility, marketing ethics, personnel management, business performance and business success, services and business brand respectively. The relationship marketing specified standard indicators of business enterprises moving toward Thailand 4.0 that developed had convergent validity because constructed validity valued passed more than 0.60 and extract validity of constructed reliability valued passed more than 0.50 as well including the developed indicators to setup relationship marketing considered from total net marks which were divided into 5 levels; not passing standard (1 star) (<50%); below standard (2 stars) (≥50-59%); standard (3 stars) (≥60-69%); good (4 stars) (≥70-89%) and excellent (5 stars) (≥90-100%).

Keywords:  Standard Indicator, Relationship marketing, Thailand 4.0.


ตัวชี้วัดเพื่อกําหนดมาตรฐานการตลาดความสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิจ เพื่อก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 | The Specified Standard Indicators of Relationship Marketing for Business Enterprises Moving Toward Thailand 4.0

Doctor of Business Administration in Marketing, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 930
Previous: รูปแบบจริยธรรมทางการตลาดสำหรับการประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมไทย
Next: The Relationship Between Customer Experience Values and Customer Loyalty in Virtual Brand Community
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code