ปัจจัยความน่าเชื่อถือและความพึงพอใจของประชาชนที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการงานปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

Last modified: November 20, 2019
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
ปัจจัยความน่าเชื่อถือและความพึงพอใจของประชาชนที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการงานปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
Trust and Satisfaction Factors of People Influence in Local Management of Fai Ma Sang Sub-District Administration Organization at Lom Sak District Petchaboon Province
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาววริศรา เบ้าทอง
Ms.Warissara Bauthong
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ดร. ชิตวร ลีละผลิน
Dr.Chitavorn Leelaplin
ระดับการศึกษา:
Degree:
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
Master of Business Administration
สาขาวิชา:
Major:
การจัดการทั่วไป
General Management
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2561
2018

การอ้างอิง/citation

วริศรา เบ้าทอง. (2561). ปัจจัยความน่าเชื่อถือและความพึงพอใจของประชาชนที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการงานปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความน่าเชื่อถือและความพึงพอใจของประชาชนที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการงานปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จากการดำเนินการสุ่มตัวอย่างของจำนวนประชากร คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง ได้แก่ ตำบลฝายนาแซง ตำบลน้ำเฮี้ย และตำบลหนองสว่าง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 400 คน สำหรับการสร้างเครื่องมือหรือแบบสอบถามสร้างตามมาตรวัดแบบลิเคิร์ท (Likert Scale) เพื่อนำไปสอบถามกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง ได้แก่ ตำบลฝายนาแซง ตำบลน้ำเฮี้ย และตำบลหนองสว่าง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ทั้งนี้ได้มีการทดสอบความเที่ยงตรง (Validity) การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) และการวิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้เทคนิค Factor Analysis เพื่อเห็นโครงสร้างความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษา จากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาประมวลผล เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้หลักสถิติ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (Frequency) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) สถิติทดสอบแบบ T – test, สถิติวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว One Way ANOVA (F-test) หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’ s correlation coefficient) และหาค่าความสัมพันธ์เชิงอิทธิพลระหว่างองค์ประกอบปัจจัยความน่าเชื่อถือ และปัจจัยความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการงานปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ด้วยการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) และใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรเข้าสมการความสัมพันธ์แบบขั้นบันได (stepwise selection)

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41 ปีขึ้นไป มีระดับ ต่ำกว่าปริญญาตรี สถานภาพสมรส ประกอบอาชีพเกษตรกร มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation coefficient) พบว่า องค์ประกอบของปัจจัยความน่าเชื่อถือ ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านนโยบาย ด้านความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน และด้านคุณธรรม จริยธรรม มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการงานปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ องค์ประกอบของปัจจัยด้านการบริการ ได้แก่ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านผลการปฏิบัติงาน มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการงานปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ในเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยองค์ประกอบปัจจัยความน่าเชื่อถือเป็นองค์ประกอบที่มีน้ำหนักความสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการงานปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ มากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยความพึงพอใจ

การที่จะบริหารจัดการงานปกครองส่วนท้องถิ่นได้ประสบผลสำเร็จได้นั้น มีองค์ประกอบหลากหลายที่จะต้องนำมาใช้ในการพิจารณา โดยเฉพาะปัจจัยความน่าเชื่อถือ และปัจจัยความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการงานปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำมาปรับใช้ได้ และสามารถนำมาบริหารจัดการได้จริง อย่างที่คาดการณ์เอาไว้

 

คำสำคัญ: ความน่าเชื่อถือ, ความพึงพอใจ, การบริหารจัดการ, งานปกครองส่วนท้องถิ่น


Abstract

The objective of this research was to study about Trust and Satisfaction Factors of people Influence in Local Management of Fai Na Sang Sub-District Administration Organization at Lom Sak District Petchaboon Province.

The sample population consisted of 400 persons who live in Fai Na Sang Sub-District Administration Organization area include Fai Na Sang Sub-district, Nham Hea Sub-district and Nong Sa Wang Sub-district. The instrument of research was a Likert scale questionnaire tested for validity and reliability. An analysis of components was conducted using the technique of factor analysis to determine the structure of the relationships between the variables isolated and studied.

Using techniques of descriptive statistics, the researcher analyzed the data collected in terms of mean, percentage, frequency, standard deviation, T-Test and One-way Anova (F-Test). Pearson’s product moment correlation coefficient was also used by the researcher. Using multiple regression analysis, the researcher applied the stepwise selection technique in establishing influential relationships trust factors and satisfaction factors Influence in Local Management of Fai Na Sang Sub-District Administration Organization at Lom Sak District Petchaboon Province.

Findings and results indicated that majority of the sample population were females whose ages were over 41 years old. Their educational background was under Bachelor’s Degree. The sample population marital status was married. They were farmer. Monthly income the sample population earned varied under 10,000 baht.

The researcher utilized Pearson’s product moment correlation coefficient method found factors of trust include Personnel, Policy, Responsibility, Moral and Ethics these components were positive correlated with influence in Local Management of Fai Na Sang Sub-District Administration Organization at Lom Sak District Petchaboon Province at the statistically significant level of .05 and factors of satisfaction include Services, Human Relationship, Public Relation and Performance these components were positive correlated with influence in Local Management of Fai Na Sang Sub-District Administration Organization at Lom Sak District Petchaboon Province at the statistically significant level of .05

Trust factor is important components to influence in Local Management of Fai Na Sang Sub-District Administration Organization at Lom Sak District Petchaboon Province then the satisfaction factor.

The management of local government has been successful, there are many elements to be taken into consideration specific trust factors and satisfaction factor to influence in Local Management can be adapt and can make real management as expected.

 

Keywords:  Trust, Satisfaction, Local management.


ปัจจัยความน่าเชื่อถือและความพึงพอใจของประชาชนที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการงานปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลฝายนาแซง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

Master in Business Administration (MBA), Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 322
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code