การยอมรับของผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งธนาคารพาณิชย์ไทยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Last modified: June 20, 2021
You are here:
Estimated reading time: < 1 min
ชื่อบทความ: การยอมรับของผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งธนาคารพาณิชย์ไทยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Research Article: User Acceptance of Thai Commercial Bank Mobile Banking in Bangkok and Its Vicinity
ผู้เขียน/Author: อำพล นววงศ์เสถียร, บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, ธนกร ลิ้มศรัณย์, เฉลิมพร เย็นเยือก, อังควิภา แนวจำปา | Ampol Navavongsathian, Busaya Vongchavalitkul, Tanakorn Limsarun, Chalermporn YenYuak, Angkavipa Naewjumpa
Email: tanakorn.lim@siam.edu
สาขาวิชา/คณะ: หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department/Faculty Master of Business Administration, Siam University, Bangkok 10160
Published/แหล่งเผยแพร่ เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2563 | Business
Administration and Economics Review Volume 16 Number 1, 2020

การอ้างอิง/citation

อำพล นววงศ์เสถียร, บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, ธนกร ลิ้มศรัณย์, เฉลิมพร เย็นเยือก และ อังควิภา แนวจำปา. (2563). การยอมรับของผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งธนาคารพาณิชย์ไทยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจปริทัศน์, 16(1).


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังด้านการใช้งาน, ด้านการเข้าถึงได้ง่าย, ด้านการให้บริการ, ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านความปลอดภัยในการใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งของธนาคารพาณิชย์ไทย 2) เพื่อศึกษาการยอมรับของผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งของธนาคารพาณิชย์ไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น สุ่มแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งของธนาคารพาณิชย์ไทยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจานวน 400 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ความคาดหวังทั้ง 5 ด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการยอมรับของผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งของธนาคารพาณิชย์ไทย ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนของแบบจาลองถดถอยเชิงพหุและค่าสัมประสิทธิ์ของความคาดหวัง 5 ด้าน พบว่าตัวแปรด้านความคาดหวังด้านความปลอดภัยมีอิทธิพลต่อการยอมรับของผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งของธนาคารพาณิชย์ไทยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ความคาดหวังด้านกระบวนการให้บริการ แสดงในรูปสมการได้ดังนี้

Y=-.109+ .156X1+.112X2+ .067X3+ .340X4+.345X5

ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัยนี้ คือธนาคารพาณิชย์ไทยสามารถนาผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาและทาความเข้าใจพฤติกรรมการใช้และการยอมรับของผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งของธนาคารพาณิชย์ไทยเพื่อนาไปประกอบการกาหนดแผนและกลยุทธ์ทางการตลาดสาหรับแสวงหาโอกาสและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ไทยได้ต่อไป

คำสำคัญ: โมบายแบงก์กิ้ง, การยอมรับบริการ, ความคาดหวังผู้ใช้บริการ ธนาคารพาณิชย์ไทย


ABSTRACT


การยอมรับของผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งธนาคารพาณิชย์ไทยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล | User Acceptance of Thai Commercial Bank Mobile Banking in Bangkok and Its Vicinity

Graduate Schools, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 585
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code