ชื่อโครงงาน: Project Title: |
ไวท์ออมเล็ต White omelette |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายณัฐวุฒิ วงศ์จันทร์ Mr.Nuttawut Wongjan |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์ปัญจมา เปมะโยธิน Ms.Panjama Pemayodhin |
ระดับการศึกษา: Degree: |
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) Bachelor of Arts (Liberal Arts) |
ภาควิชา: Major: |
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ Tourism and Hospitality Industry |
คณะ: Faculty: |
ศิลปศาสตร์ Liberal Arts |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
1/2561 1/2018 |
การอ้างอิง/citation
ณัฐวุฒิ วงศ์จันทร์. (2561). ไวท์ออมเล็ต. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาดูแลสุขภาพกันเพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จากการที่ผู้จัดทำได้ปฏิบัติงานในแผนกอาหารและเครื่องดื่ม ผู้จัดทำได้สังเกตพฤติกรรมของลูกค้าที่มาใช้บริการจากที่เคยทานออมเล็ต (Omelet) แบบไข่แดงและไข่ขาวผสมกันได้เปลี่ยนมาทานในแบบที่เป็นไข่ขาวล้วน ดังนั้นจึงได้คิดที่จะทาเมนูไวท์ออมเล็ต (White Omelet) ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำเป็นอาหารเช้าสำหรับคนที่รักสุขภาพ และยังเป็นการเพิ่มความแปลกใหม่ที่ต่างจากออมเล็ต (Omelet) ธรรมดาทั่วไป โดยมีการแยกเครื่องเคียงบางส่วนออกจากไข่ขาว เพื่อให้เกิดความสวยงามน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น
จากผลการศึกษาโครงงานไวท์ออมเล็ต (White Omelet) นั้นได้มีการประเมินผลโดยการแจกแบบสอบถามความพึงพอใจ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก โดยมี ค่าเฉลี่ยรวม 3.92 หากพิจารณารายด้านพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในด้านสีสันรูปลักษณ์และประโยชน์ต่อสุขภาพโดยมีค่าเฉลี่ย 4.83 และ 4.66 ตามลำดับ มีความพึงพอใจในระดับมากในด้านรสชาติ/กลิ่น ความแปลกใหม่และความสดใหม่ของส่วนผสมโดยมีค่าเฉลี่ย 3.83,4.16 และ 3.50 ตามลำดับ มีความพึงพอใจในระดับปานกลางในด้านเป็นทางเลือกใหม่สาหรับลูกค้า และเป็นเมนูที่น่าสนใจโดยมีค่าเฉลี่ย 3.33 และ3.16 ตามลำดับ
คำสำคัญ: ไวท์ออมเล็ต, ไข่ขาว
Abstract
Nowadays, consumers mostly turn their attention to health. By attending in working at a restaurant, the author noticed customers’ behaviors of changing from eating original omelet with mixture of egg yolk and egg white to new style omelet with only egg white. White omelet was initiated as a part of this project whose purposes are to make healthy breakfast with distinct taste from original omelet by separating some side dishes from egg white in order to create more appetizing and tasty.
From the results of studying this project, the method was conducted by distributing satisfaction questionnaires. The results showed that overall respondents had a high level of satisfaction with White Omelet Menu with a mean score of 3.92. When individual aspects were considered, the highest satisfied aspect was color and appearance (mean =4.83 ), and health benefit(mean =4.66). Aspects with high level of satisfaction were taste/smell (mean =3.83), innovativeness (mean =4.16 ), and freshness of ingredients (mean =3.50 ). Aspects with moderate level of satisfaction were new alternative (mean = 3.33) and interesting menu and practical commercialization (mean = 3.16).
Keywords: White omelet, Egg white.
ไวท์ออมเล็ต / White omelette
Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand