หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) จัดสรร ทุนวิจัย และสร้างนวัตกรรม เพื่อเพิ่มความสามารถ ในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคบริการ รวมถึงสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างตลาดนวัตกรรม การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในเชิงพาณิชย์ เพื่อยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ ด้วยวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ทั้งนี้ การให้ทุนดังกล่าว มุ่งเน้น การสนับสนุนแผนงานที่มีความร่วมมือ หรือการร่วมลงทุนกับผู้ใช้ประโยชน์ อาทิ SMEs และภาคอุตสาหกรรม
7 กลุ่ม ทุนวิจัย เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้แก่
1. ภาคเกษตรและกลุ่มอาหารทีมีมูลค่าสูง
สนับสนุน การใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนรูปแบบจากการ “ผลิตมากแต่สร้างรายได้น้อย” (More for Less) ไปสู่การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูง “ผลิตน้อยแต่สร้างรายได้มาก” (Less for More) เช่น กลุ่มอาหารฟังก์ชั่น (Functional Food) การผลิตอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ด้วยการดึงสารสำคัญหรือคุณสมบัติพิเศษที่มีอยู่ในสินค้าเกษตร และพืชสมุนไพร เป็นต้น รวมถึงเทคโนโลยีด้านการผลิตที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเกษตร
2. การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์
สนับสนุน การท่องเที่ยวที่มีการใช้องค์ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการชูอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ เชื่อมโยงกับจุดแข็งของประเทศ เพื่อรังสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ หรือบริการรูปแบบใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว เช่น การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น รวมทั้งการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ที่มีประสิทธิภาพทั้งระบบ ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว และเพิ่มการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อราย ให้สูงขึ้น
3. สุขภาพและการแพทย์
สนับสนุน การผลิตยารักษาโรค และผลิตภัณฑ์ในกลุ่มชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceutical) เช่น วัคซีน โปรตีนเพื่อการรักษาและแอนติบอดี้ เพื่อทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์เวชกรรม และเภสัชกรรมที่มีมูลค่าสูงจากต่างประเทศ รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ เพื่อเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางการแพทย์และสุขภาพ รวมถึงการเป็นศูนย์กลางการวิจัยทางคลินิก
4. พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ
สนับสนุน การพัฒนาศักยภาพในการผลิตพลังงานทดแทน (Renewable Energy) เพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานภายในประเทศให้เพียงพอ โดยเฉพาะ การใช้ทุนที่มีอยู่ในประเทศ เช่น ผลผลิตทางการเกษตร ขยะ ของเสียจากกระบวนการผลิต รวมถึงพลังงานจากแสงอาทิตย์ เป็นต้น รวมถึงพัฒนาต่อยอดผลผลิตทางการเกษตร และของเสียไปเป็นสารประกอบ หรือผลิตภัณฑ์เคมีและวัสดุชีวภาพ ที่มีมูลค่าสูง เช่น พลาสติกชีวภาพ ไฟเบอร์ เภสัชภัณฑ์ เป็นต้น
5. เทคโนโลยีดิจิทัล
สนับสนุนแผนงานที่ก่อให้เกิด เศรษฐกิจดิจิทัลและธุรกิจดิจิทัล อาทิ การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) การใช้ใช้ข้อมูลจากโซเชียล (Social Feed; RSS) หรือการใช้เทคโนโลยี IoT เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งเมื่อเกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะก่อให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลและธุรกิจดิจิทัล สำหรับเทคโนโลยีชีวภาพใหม่
6. เศรษฐกิจหมุนเวียน
สนับสนุนการใช้องค์ความรู้ สร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความสามารถของภาคการผลิตและภาคบริการ โดยปรับเปลี่ยนจากระบบ “เศรษฐกิจเชิงเส้นตรง” (Linear Economy) แบบดั้งเดิม ซึ่งพื้นฐานของ กระบวนการคือ ผลิตสินค้า ใช้สินค้า และสินค้านั้นถูกกำจัดทิ้งไป จึงเกิดการสร้างของเสียมากมาย มาเป็นระบบ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) อย่างสมบูรณ์ ผ่านกระบวนการ ผลิตสินค้า ใช้งาน และนำกลับมาใช้ใหม่หรือใช้เป็นวัตถุดิบรอบที่สอง (Make-Use-Return/Recycle)
8. เทคโนโลยีและองค์ความรู้ขั้นแนวหน้า
สนับสนุน การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Technology) เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนที่มีความสำคัญยิ่ง ต่อความสำเร็จและการสร้างรากฐานที่มั่นค งและยั่งยืนต่อ การพัฒนาเศรษฐกิจ BCG เช่น วิศวกรรมกระบวนการทางชีวภาพ (Bioprocess Engineering)การพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
ภาพและข่าวจาก:
เว็บไซต์: สอวช สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ
คำสำคัญ: ทุนวิจัย การแข่งขันของประเทศ บพข. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ สอวช. การแข่งขันของประเทศ (บพข.) บพข, bcg, Flagship 63 บ พ ข, PMU B, ประกาศ บพท, สอวช, บพข สมัครงาน, OKR บพข, PMU C บพท flagship, ชุมชน นวัตกรรม วช, อว, สอวช สมัครงาน, สวรส, ววน คือ, pmu สกสว, pmu มหาลัย, OKR Flagship, กรอบ วิจัย 2563