- KB Home
- กลุ่มสาขาวิชา วิทยาศาสตร์สุขภาพ|Health Science Group
- การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง กรณีศึกษา โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์
- 1. การอ้างอิง|Citation
- 2. บทคัดย่อ
- 3. Abstract
- 4. การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง กรณีศึกษา โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์|A Case Study of Samitivej Srinakarin Children's Hospital Building Project, the Investigation of Safety Hazards on the Construction Site
ชื่อโครงงาน: Project Title: |
การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง กรณีศึกษา โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์ A Case Study of Samitivej Srinakarin Children’s Hospital Building Project, the Investigation of Safety Hazards on the Construction Site |
ชื่อนักศึกษา: Author: |
นายธนกร ทิพย์สมบัติ Mr. Tanakorn Thipsombat |
อาจารย์ที่ปรึกษา: Advisor: |
อาจารย์จันทราทิพย์ คาระวะ Miss Chandrathip Karawa |
ระดับการศึกษา: Degree: |
วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) Bachelor of Science (B.Sc.) |
ภาควิชา: Major: |
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย Occupational Health and Safety |
คณะ: Faculty: |
สาธารณสุขศาสตร์ Public Health |
ภาคการศึกษา/ปีการศึกษา: Semester / Academic year: |
2/2565 2/2022 |
การอ้างอิง|Citation
ธนกร ทิพย์สมบัติ. (2565). การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง กรณีศึกษา โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์. (สหกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม.
Thipsombat T. (2022). A case study of Samitivej Srinakarin Children’s Hospital building project, the investigation of safety hazards on the construction site. (Cooperative Education). Bangkok: Faculty of Public Health, Siam University.
บทคัดย่อ
การศึกษาความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง กรณีศึกษา โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อันตรายในงานก่อสร้างโครงสร้างอาคาร ประเมินระดับความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้างและหาแนวทางป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง โดยใช้วิธีวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยด้วยวิธี Job Safety Analysis (JSA) ตามขอบเขตของปัจจัยที่ทำให้เกิดอันตรายจำนวน 4 ด้าน คือ คน (People) อุปกรณ์ (Equipment) วัสดุ (Material) และสิ่งแวดล้อม (Environment) การชี้บ่งอันตรายด้วยวิธี Checklist และประเมินระดับความเสี่ยงโดยพิจารณาถึงโอกาสและความรุนแรงของอันตราย
ผลการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (JSA) ในขั้นตอนงานโครงสร้างอาคารทั้ง 13 ขั้นตอน พบว่าลักษณะงานที่มีอันตรายสูง คือการทำงานบนที่สูง จึงได้จัดทำแบบฟอร์มตรวจสอบ Checklist การทำงานบนที่สูงทั้งหมด 14 ประเด็น พบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงมีอยู่สองประเด็น คือ นั่งร้านไม่ใส่แจคเบส (Jack Base) หรือเกลียวล็อคแจคเบสไม่เหมาะสม และคนงานบางคนไม่สวมใส่เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt) ขณะขึ้นปฏิบัติงานบนที่สูง จากนั้นได้นำผลการชี้บ่งอันตรายมาประเมินระดับความเสี่ยง พบว่าทั้ง 2 ประเด็นมีระดับความเสี่ยงอันตรายเท่ากับ 4 เท่ากัน ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้ ต้องหยุดดำเนินการและปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยงลงทันที โดยการตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนเริ่มทำงานให้เหมาะสมทุกครั้งก่อนเริ่มปฏิบัติงาน
คำสำคัญ: การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย, การชี้บ่งอันตราย, การประเมินความเสี่ยง, มาตรการป้องกัน
Abstract
This project was a study on accident risk analysis in construction work, specifically focusing on the construction project at Samitivej Srinakarin Children’s Hospital. The objective was to analyze the hazards associated with building construction, assess the level of accident risk in construction, and propose preventive measures. The Job Safety Analysis (JSA) method was employed to consider four aspects, people, equipment, material, and environment. Hazard identification was carried out using the checklist method, and risk assessment was performed by considering the likelihood and severity of each hazard.
The JSA method was used for all 13 steps involved in the construction of the building structure. The analysis revealed a high level of risk associated with working at heights. Consequently, a checklist comprising 14 items related to working at heights was developed. Two significant risk factors were identified: the absence of Jack Base or unsuitable Jack Base screws, and some workers not wearing safety belts while working at elevated locations. Both factors received a risk level of 4, indicating an unacceptable level of risk. Immediate action was required to address and mitigate these risks. It is recommended to thoroughly inspect and ensure the suitability of equipment before commencing work at heights.
Keywords: Job Safety Analysis, hazard identification, risk assessment, preventive measures
การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง กรณีศึกษา โครงการก่อสร้าง โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์|A Case Study of Samitivej Srinakarin Children’s Hospital Building Project, the Investigation of Safety Hazards on the Construction Site
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Public Health, Siam University, ฺBangkok, Thailand