การศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

Last modified: June 7, 2023
You are here:
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
A study of Academic Administration of Primary School under the Educational office Bangkok Metropolitan Authority with the Ordinary National Test (O-NET) score higher than the National Test in Every Subject
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นางสาววรรณละภา   โตแดง
Ms. Wanlapa  Todang
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญมี   เณรยอด
Assoc. Prof. Dr. Boonmee   Nenyod
ระดับการศึกษา:
Degree:
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.)
Master of Education
สาขาวิชา:
Major:
การบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา
Educational Administration and Leadership
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2565
2022
URL:
Published แหล่งเผยแพร่ผลงาน
แหล่งเผยแพร่ผลงาน
ตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (ISSN Print) : ๒๓๙๒-๕๕๐๗, (ISSN Online) : ๒๖๗๓-๐๐๓ ปีที่ 9 ฉบับที่ 3  (กันยายน – ธันวาคม 2565) | Journal of Educational Review Faculty of Educational in MCU Vol. 9 No. 3 (September – December 2022)

การอ้างอิง|Citation

วรรณละภา โตแดง. (2566).การศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

Todang, Wanlapa. (2022). A study of Academic Administration of Primary School under the Educational office Bangkok Metropolitan Authority with the Ordinary National Test (O-NET) score higher than the National Test in Every Subject. (Master’s thesis). Bangkok: Graduate School.


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นการวิจัยประเภทสำรวจ โดยมีประชากรการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 89 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ จำนวน 89 คน และ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 712 คน จาก 89 โรงเรียน มีเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ด้านสภาพการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา ด้านการวางแผนงานวิชาการสถานศึกษา โรงเรียนจัดทำแผนงานวิชาการ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านการนิเทศงานวิชาการ ดำเนินการตามกระบวนการนิเทศภายใน ด้านการวัดประเมินผลการเรียน กำหนดแนวทางการวัดและประเมินผล ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ สร้าง พัฒนา และใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา กำหนดให้ครูทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ด้านการให้ชุมชนร่วมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ ให้คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับงานวิชาการ กำหนดบทบาทของผู้บริหารต่อการประกันคุณภาพการศึกษา

ปัญหาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาพบเล็กน้อย ได้แก่ ด้านการวางแผนงานวิชาการ งบประมาณไม่เพียงพอ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ไม่ใช้เทคนิคการนิเทศที่หลากหลาย ด้านการบริหารการจัดการเรียนรู้ งบประมาณการจัดกิจกรรมไม่เพียงพอ ด้านการนิเทศงานวิชาการในโรงเรียน เครื่องมือในการนิเทศไม่เป็นมาตรฐาน ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน ไม่กำหนดแนวทางการนำผลการวัดและประเมินผลการเรียนไปปรับปรุง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ ขาดงบประมาณสนับสนุนด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ขาดการสนับสนุนในด้านต่างๆ ด้านการให้ชุมชนมีส่วนสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการ บทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาไม่ชัดเจน และด้านการประกันคุณภาพการศึกษากับงานวิชาการ บุคลากรขาดทักษะในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

คำสำคัญ: การดำเนินงานวิชาการ, โรงเรียนประถมศึกษา, การทดสอบระดับชาติ (O-Net)


Abstract

The objectives of this study were to study states and problems of the academic administration of primary schools under the auspice of Bangkok Metropolitan Administration with the Ordinary National Test (O-NET) score higher than the National Test score in every subject. The population of this study were 89 school directors,    89 deputy directors in academic affairs, and 712 heads of subject areas from 89 schools. The instrument used was the questionnaire and data were analyzed by using percentage.

The research results showed with regard to school academic procedure, academic plans were formulated and prepared. In term of school curriculum management, the school curriculum was developed and reformed, while in – school supervisory were approached for academic supervision, and the guidelines were determined for measurement and evaluation. Technology, innovation, and learning resource management were created, developed and utilized. In term of research for educational quality development, the policies on classroom research were employed. With regard to community participation in promoting school academic strength, school board members were promoted to participate in learning activities. Finally, administrative roles through quality assurance were determined for school quality assurance and academic procedure. With regard to problem occurring in some school, data showed that budget were inadequate in academic planning, while in school curriculum management, supervisory techniques were inappropriated, and budget spent for instructional activities were inadequated in instructional management. In term of in – school supervision, the quality of supervisory instruments were unstandardized, while in measurement and evaluation, lack of guideline for results utilization. With regard to technology, innovation, and learning resources development, budget was inadequated, also lack of supporting in research for educational quality development, while the unspecified roles of school board members was found in community participation in promoting school academic strength. Finally, lack of evaluating skills among personnel in school quality assurance procedure.

Keywords: Academic administration, primary school, The Ordinary National Test ( O-NET).


การศึกษาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
A study of Academic Administration of Primary School under the Educational office Bangkok Metropolitan Authority with the Ordinary National Test (O-NET) score higher than the National Test in Every Subject

Master of Education in Educational Administration and Leadership, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 138
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles