การวิเคราะห์กระบวนการรับทราบหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้เทคนิคเหมืองกระบวนการ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม

Last modified: January 23, 2024
You are here:
Estimated reading time: 1 min
หัวข้อสารนิพนธ์:
Project Title:
การวิเคราะห์กระบวนการรับทราบหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา โดยใช้เทคนิคเหมืองกระบวนการ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม
Analysis of CHECO System using Process Mining: A Case Study of Siam University
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายพิศิษฐ์ สุกาญจนโชติ
Mr. Pisit Sukanjanachot
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์
Prof. Dr. Wichian Premchaiswadi
ระดับการศึกษา:
Degree:
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
Master of Science
สาขาวิชา:
Major:
เทคโนโลยีสารสนเทศ
Information Technology
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate School
Academic year: 2566 (2023)
แหล่งเผยแพร่ผลงาน|Published: 2022 20th International Conference on ICT and Knowledge Engineering (ICT&KE), 23-25 November 2022.
DOI: 10.1109/ICTKE55848.2022.9982847
https://ieeexplore.ieee.org/document/9982847  

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์กระบวนการจัดส่งหลักสูตรจากมหาวิทยาลัยเข้าระบบพิจารณาความสอดคล้องของหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (CHECO) เพื่อรับการพิจารณารับทราบให้เปิดสอนจากกระทรวงฯ ของมหาวิทยาลัยสยาม โดยการวิเคราะห์นี้จะใช้เทคนิคเหมืองกระบวนการ ด้วยอัลกอริทึม Fuzzy miner ผ่านโปรแกรม Disco กระบวนการเริ่มจากการนำข้อมูลบันทึกเหตุการณ์ (Event Log) ที่เกิดขึ้นจริงมาวิเคราะห์และแสดงแบบจำลองเพื่อให้เห็นกระบวนการ ความถี่และประสิทธิภาพเวลาในกระบวนการพิจารณาหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่าระยะเวลาการพิจารณาหลักสูตรใช้เวลาสูงสุดที่ 2 ปี 268 วัน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 49.8 สัปดาห์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการพิจารณารับทราบหลักสูตรนั้นไม่สามารถดำเนินการตามแนวทางที่ถูกกำหนดไว้ ในแนวทางการรับทราบหลักสูตรที่กำหนดไว้ในคู่มือการปฏิบัติงาน ของระบบพิจารณาความสอดคล้องของหลักสูตรระดับอุดมศึกษา (CHECO) ในเกณฑ์ที่ว่าหลักสูตรควรได้รับการพิจารณาเสร็จสิ้นในทุกกระบวนการภายใน 15 วัน อีกทั้งยังพบว่ามีข้อมูลจากสถานะ W ไปยังสถานะ W1 นั้นขาดหายไป จึงส่งผลให้มหาวิทยาลัยไม่สามารถตรวจสอบกระบวนการทำงาน ข้อเท็จจริงและความล่าช้าของแต่ละหน่วยงานในการจัดส่งหลักสูตรตามขั้นตอน เพื่อเปลี่ยนสถานะจาก W ไปยังสถานะ W1 ในช่วงระยะเวลาที่ขาดหายไปได้ จากผลการวิเคราะห์ทำให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ทราบถึงกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ตลอดจนทราบข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

คำสำคัญ : เหมืองกระบวนการ, Fuzzy miner, บันทึกเหตุการณ์, คู่มือการปฏิบัติงาน


Abstract

     This research presents an analysis of the process of submitting courses from universities into the acknowledgment system of higher education institutions using the Fuzzy Miner algorithm via Disco. The study utilizes actual event log data to analyze and present a model illustrating the overall process, taking into consideration the frequency and time efficiency of the course review process. The results reveal that the maximum duration of the course review was 2 years and 268 days, with an average of 49.8 weeks, and a minimum of 12 days. According to the institution’s rules and regulations, a course should be considered complete in all processes within 15 days. By employing the approach proposed in this study, we can discover and identify any violations of the rules, as well as recognize any shortcomings that may have occurred. The primary objective is to apply process mining in a manner that leads to the improvement of the work process in compliance with the rules and guidelines of the Ministry of Higher Education. To enhance the efficiency of the process in the future, potential solutions include extending the course review period and possibly adding personnel to assist in reviewing and categorizing the course according to proficiency categories.

Keywords: Process Mining, Higher Education Institutions, Fuzzy Miner Algorithm, Course Review, Time Efficiency


Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 84
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code