แนวทางการแก้ไขปัญหาของทางเดินเท้าในพื้นที่เขตบางแค

Last modified: April 10, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min

Title:
Approaches to Address Pedestrian Pathway Problems in Bang Khae

ชื่อโครงการ:
แนวทางการแก้ไขปัญหาของทางเดินเท้าในพื้นที่เขตบางแค

Author:
Samush Eiamsa-ard

ชื่อผู้วิจัย:
สมัชญ์ เอี่ยมสอาด

Advisor:
ผศ. ดร.จิดาภา ถิรศิริกุล – Asst. Prof. Dr. Jidapa Thirasirikul

Degree:
ร.ม. (การปกครอง) – M.Pol.Sc. (Government)

Major:
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง – Master of Political Science Program in Government

Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School)

Academic year:
2566 (2023)

Published:
วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เดือนมีนาคม-เมษายน 2567 หน้า 183-191 | Journal of Administration and Social Science Review, Vol. 7 No. 2 (2024): March-April 2024 pp.183-191   คลิก   PDF 


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาของทางเดินเท้าในพื้นที่เขตบางแค 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาและอุปสรรคของทางเดินเท้าในพื้นที่เขตบางแค 3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการแก้ไขปัญหาของทางเดินเท้าไปปฏิบัติในเขตบางแค โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรการวิจัย คือ ประชาชนผู้ใช้ทางเท้าในเขตพื้นที่บางแค ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยไม่อาศัยความน่าจะเป็นเนื่องจากไม่ทราบจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่แน่นอน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 396 คน ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson Product-Moment Correlation)

ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการสัญจรเส้นทางการเดินทางเท้า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และอายุที่แตกต่างกันมีแนวทางการแก้ไขปัญหาของทางเดินเท้าในพื้นที่เขตบางแคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านปัญหาและอุปสรรคในการสัญจรเส้นทางการเดินทางเท้า มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความต้องการในการใช้เส้นทางการเดินทางเท้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ข้อเสนอแนะในการวิจัยมุ่งเน้นให้ภาครัฐควรมีการกำหนด นโยบายการป้องกัน และควบคุมปัญหาที่จะทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นทางการเดินทางเท้าอย่างชัดเจน

Keywords: แนวทางการแก้ไข, ปัญหาและอุปสรรค และการเดินทางเท้า


Abstract

The objectives of this research were: 1) To investigate approaches to address pedestrian pathway issues in the Bang Khae area; 2) To examine the factors influencing the problems and obstacles related to pedestrian pathways in the same area; and 3) To propose development strategies to mitigate these pedestrian pathway issues in Bang Khae. This quantitative research focuses on the population of pedestrians within the Bang Khae area. A simple random sampling method was employed to select a sample group of 396 individuals. Statistical tools utilized in this study encompassed percentage, Mean, standard deviation, one-way ANOVA, and Pearson Product-Moment Correlation.

The study findings revealed a significant overall impact of opinions regarding factors contributing to pedestrian pathway problems and obstacles. Personal factors, such as gender and age, demonstrated statistically significant differences in approaches to address pedestrian pathway issues in the Bang Khae area. Moreover, there was a statistically significant positive correlation between problems and obstacles in pedestrian pathways and the demand for using these pathways, affirming the established hypothesis. As a recommendation, this research emphasizes the necessity for governmental intervention in formulating explicit policies to prevent and manage issues that could potentially compromise pedestrian pathways.

Keywords: problem-solving approaches, obstacles, pedestrian pathways


Approaches to Address Pedestrian Pathway Problems in Bang Khae / แนวทางการแก้ไขปัญหาของทางเดินเท้าในพื้นที่เขตบางแค

6517900001 สมัชญ์ เอี่ยมสอาด Samush Eiamsa-ard 2566 (2023) Approaches to Address Pedestrian Pathway Problems in Bang Khae สารนิพนธ์ (Independent Study), Advisor: ผศ. ดร.จิดาภา ถิรศิริกุล – Asst. Prof. Dr. Jidapa Thirasirikul, ปริญญาโท (Master’s Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง – Master of Political Science Program in Government, ร.ม. (การปกครอง) – M.Pol.Sc. (Government), Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, Graduate School 2023, IMBA, IMBA 2023, Independent Study, Independent Study 2023, Master of Business Administration, Master of Business Administration (International Program) 2023, Master of Business Administration 2023, ปริญญาโท (Master’s Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง – Master of Political Science Program in Government,ร.ม. (การปกครอง) – M.Pol.Sc. (Government)

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 8
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code