รูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาด้านสมรรถนะดิจิทัลวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

Last modified: May 2, 2024
You are here:
Estimated reading time: 3 min

Title:
Model of Vocational Teacher Development on Digital Competencies in Public Vocational Colleges under the Institute of Vocational Education Bangkok

ชื่อโครงการ:
รูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาดSานสมรรถนะดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

Author:
Mrs. Bunchaluk Luesawad

ชื่อผู้วิจัย:
นางบัญชาลักษณ์ ลือสวัสิ์

Advisor:
รศ. ดร.จอมพงศ์ มงคลวนิช – Assoc. Prof. Dr. Jomphong Mongkhonvanit

Degree:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Doctor of Philosophy Program in Educational Administration Innovation

Major:
ปร.ด. นวัตกรรมการบริหารการศึกษา – Ph.D. in Educational Administration Innovation

Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School)

Academic year:
2566 (2023)

Published:
วารสารวิชาการ สถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ป6ที่ 19 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2566) http://veis2.ac.th/new/research/ https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pkrujo/article/view/260718 


บทคัดย่อ

รูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาด้านสมรรถนะดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันด้านสมรรถนะดิจิทัลของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาด้านสมรรถนะดิจิทัลของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาด้านสมรรถนะดิจิทัลวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ระหว่างระหว่างการเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการพัฒนาด้านสมรรถนะดิจิทัลของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร ครู และครูผู้ช่วยในวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 239 คน และ 2) การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาด้านสมรรถนะดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร แบ่งเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในการสนทนากลุ่ม จำนวน 7 คน และ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินรับรองรูปแบบ จำนวน 13 คน และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันด้านสมรรถนะดิจิทัลของครูในสังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่า อยู่ในระดับน้อยทั้งในภาพรวมและรายด้าน ดังนี้ 1.1) ระดับที่ 1 ทักษะขั้นพื้นฐาน พบว่า สภาพปัจจุบันด้านสมรรถนะดิจิทัลของครูอาชีวศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีสมรรถนะดิจิทัลอยู่ในระดับน้อย 1.2) ระดับที่ 2 ทักษะขั้นต้นสำหรับการทำงาน พบว่า สภาพปัจจุบันด้านสมรรถนะดิจิทัลของครูอาชีวศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย 1.3) ระดับที่ 3 ทักษะขั้นประยุกต์สำหรับการทำงาน พบว่า สภาพปัจจุบันด้านสมรรถนะดิจิทัลของครูอาชีวศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย 2) ความต้องการพัฒนาด้านสมรรถนะดิจิทัลของครูในสังกัดวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่า อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน ดังนี้ 2.1) ระดับที่ 1 ทักษะขั้นพื้นฐาน พบว่า ความต้องการพัฒนาด้านสมรรถนะดิจิทัลของครูอาชีวศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ในภาพรวมมีสมรรถนะดิจิทัลอยู่ในระดับมาก 2.2) ระดับที่ 2 ทักษะขั้นต้นสำหรับการทำงาน พบว่า ความต้องการพัฒนาด้านสมรรถนะดิจิทัลของครูอาชีวศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2.3) ระดับที่ 3 ทักษะขั้นประยุกต์สำหรับการทำงาน พบว่า ความต้องการพัฒนาด้านสมรรถนะดิจิทัลของครูอาชีวศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาด้านสมรรถนะดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น 3 ส่วน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลนำเข้า มี 1 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ความสามารถ ได้แก่ การวิเคราะห์ความสามารถขององค์กร ความสามารถของกำลังคน สภาพแวดล้อม และสภาพความเป็นจริงของกำลังคนเพื่อหาช่องว่างหรือระยะห่างทางสมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูอาชีวศึกษา ส่วนที่ 2 กระบวนการดำเนินงาน มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์สาเหตุ โดยพิจารณาระดับสมรรถนะของครูเพื่อนำไปกำหนดหลักสูตรสมรรถนดิจิทัลเพื่อการพัฒนาครู 2) การออกแบบและเลือกวิธีการผลักดัน โดยการเลือกหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลของครู 3) การผลักดันให้สำเร็จและเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยการจัดฝึกอบรมให้กับครู ประกอบด้วย 3 รูปแบบ ได้แก่ การฝึกอบรมออนไลน์ การฝึกอบรมในพื้นที่ และการฝึกอบรมแบบผสมผสาน และ 4) การประเมินผล โดยใช้การประเมิน 3 รูปแบบ ได้แก่ การสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีสมรรถนะดิจิทัล การประเมินผลงาน/ชิ้นงาน และแบบทดสอบความรู้และสมรรถนะ และครูที่ผ่านการฝึกอบรมต้องมีคะแนนประเมินมากกว่าร้อยละ 80 สำหรับสมรรถนะพื้นฐาน และคะแนนประเมินมากกว่าร้อยละ 70 สำหรับสมรรถนะขั้นสูง และส่วนที่ 3 ผลผลิต ได้แก่ หลักสูตรเพื่อพัฒนาสมรรถนะดิจิทัล 12 หลักสูตร ได้แก่ 1) หลักสูตรการรู้ดิจิทัล 2) หลักสูตรคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 3) หลักสูตรอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น 4) หลักสูตรการป้องกันความปลอดภัยสำหรับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น 5) หลักสูตรการใช้งานโปรแกรมประมวลผลคำ 6) หลักสูตรการใช้งานโปรแกรมตารางคำนวณ 7) หลักสูตรการจัดการงานนำเสนอ 8) หลักสูตรการประยุกต์การทำงานผ่านระบบออนไลน์ 9) หลักสูตรการประยุกต์การทำงานผ่านเว็บไซต์ 10) หลักสูตรการป้องกันภัยคุกคามบนระบบเครือข่าย 11) หลักสูตรดิจิทัลเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกอาชีพ และ 12) หลักสูตรการปรับตัวการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล และผลการประเมินความเหมาะสมและรับรองรูปแบบ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิให้การรับรองรูปแบบ โดยองค์ประกอบของรูปแบบและรูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาด้านสมรรถนะดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด

Keywords: รูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษา, สมรรถนะดิจิทัล, สถาบันการอาชีวศึกษา


Abstract

The purposes of the research aimed to: (1) study the current situation of the digital competencies in Public Vocational Colleges under the Institute of Vocation Education Bangkok; (2) development needs of digital competencies in Public Vocational Colleges under the Institute of Vocation Education Bangkok; and (3) develop the digital competencies in Public Vocational Colleges under the Institute of Vocation Education, Bangkok. The results used Mixed Method between quantitative research and qualitative research. The research was conducted in two phases: 1) a study of the current situation and the need for digital competency development of teachers in Public Vocational Colleges under the Institute of Vocation Education Bangkok. A questionnaire was used as a data collection tool among 239 samples who were administrators, teachers and assistant teachers in Public Vocational Colleges under the Institute of Vocation Education Bangkok. 2) The development of digital competencies in Public Vocational Colleges under the Institute of Vocation Education, Bangkok. The targets were separated into 2 groups. The first group was seven experts in group discussion. The second group was 13 experts to evaluate and approve the model. The statistics used for assessment were Means and Standard Distribution (SD). The result of the research reported: 1) The current situation of the digital competencies in Public Vocational Colleges under the Institute of Vocation Education, Bangkok found that the overall outcomes were low in these points: 1.1) Basic Skills; 1.2) Basic working skills; 1.3) Applied working skills. 2) Development needs of the digital competencies in Public Vocational Colleges under the Institute of Vocation Education, Bangkok found that the overall outcomes were high in these points: 2.1) Basic Skills; 2.2) Basic working skills; 2.3) Applied working skills. 3) The model for developing digital competencies of vocational teacher under the official vocational college, Bangkok Vocational Institute process comprised 3 parts and 5 steps. The first part was “input,” the skill analysis, including organization analysis, desired workforce performance, environmental analysis, and analyzing the current state of the workforce for digital competency gaps for vocational teachers. The second part, “progressing,” consisted of 4 steps. There was root cause analysis to consider the competency level of teachers to determine the digital competency curriculum for teacher development., design and choose the appropriate reinforcement method choosing a curriculum that meets the needs of teachers to develop digital competencies, reinforce to become success and changes the training for teachers consists of 3 forms: online training, local training, and blended training. The last step in the second part was process evaluation using 3 forms of assessment: observing behaviors that reflect digital competency, assessment of works/pieces, and knowledge and performance tests. Trained teachers must score over 80 per cent for basic competencies, and a score of over 70 percent for advanced competency. The third part was the product, courses to develop digital competencies, 12 courses including: (1) Knowledge of Digital; (2) Fundamental of Computer; (3) Basic Internet; (4) Basic Computer Security; (5) Word Processor; (6) Spreadsheet Usage; (7) Presentation Management; (8) Application for Online Working; (9) Application for Working on Website; (10) Network Security Threats; (11) Digital for Future Jobs; and (12) Adaptative in Digital Changes. The assessment and approval reported that the experts consider the contents and The Model for Developing on Digital Competencies of Vocational Teacher under the Official Vocational College, Bangkok Vocational Institute were the most suitable.

Keywords: model of vocational teacher development, digital competencies, public vocational colleges, Institute of Vocational Education


Model of Vocational Teacher Development on Digital Competencies in Public Vocational Colleges under the Institute of Vocational Education Bangkok | รูปแบบการพัฒนาครูอาชีวศึกษาดSานสมรรถนะดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษาภาครัฐ สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 368
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code
Recent articles