- KB Home
- หลักสูตรปริญญาตรี|Bachelor Degree
- คณะศิลปศาสตร์
- - อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
- อินโฟกราฟิกส์ภาษาจีนสำหรับการเช็คอิน
ชื่อเรื่อง – Title: |
อินโฟกราฟิกส์ภาษาจีนสำหรับการเช็คอิน Chinese Infographic for Check in |
ชื่อผู้เขียน – Author: |
พนิดา ศรีสุวรรณ, Phanida Sisuwan |
อาจารย์ที่ปรึกษา – Advisor: |
ดร.วรกานต์ เฉลิมชัยกิจ – Dr. Varakarn Chalermchaikit |
ชื่อปริญญา – Degree: |
ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ – Bachelor of Arts Program in Tourism and Hospitality Industry |
ภาควิชา/สาขาวิชา – Major: |
ศศ.บ. (อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ) – B.A. (Tourism and Hospitality Industry) |
คณะวิชา – Faculty: |
ศิลปศาสตร์ (Liberal Arts) |
ภาคเรียน/ปีการศึกษา – Semester/Academic year: |
1/2566 (2023) |
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่อง “อินโฟกราฟิกส์ภาษาจีนสำหรับการเช็คอิน” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้กลุ่มลูกค้าชาวจีนได้รับรู้ข้อมูลจากสื่ออินโฟกราฟิกส์ และ 2) เพื่อใช้อินโฟกราฟิกส์เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ให้กับสถานประกอบการ โดยจากการปฏิบัติสหกิจศึกษา ในตำแหน่งพนักงานต้อนรับ ณ โรงแรมอาศัย กรุงเทพฯ สาทร ได้สังเกตเห็นว่าในแต่ละวัน มีลูกค้าชาวจีนไม่สื่อสารภาษาอังกฤษ สื่อสารภาษาจีนเท่านั้น จึงต้องใช้แอปพลิเคชันแปลภาษาเป็นประโยคต่อประโยค ทำให้หลายๆ ครั้ง มีความล่าช้า ทำให้มีผลเสียกับลูกค้าท่านอื่นๆ ผู้จัดทำมีการจัดทำขั้นตอนในการเช็คอินภาษาจีนในรูปแบบของอินโฟกราฟิกส์ ทำให้พนักงานต้อนรับสามารถดำเนินงาน และดูแลกลุ่มลูกค้าชาวจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
จากการสำรวจความพึงพอใจให้กับลูกค้าชาวจีนที่เข้ามาเช็คอิน เป็นจำนวน 100 คน พบว่าผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 64.00 และมีอายุระหว่าง 21-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 53.00 ผลจากการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่ออินโฟกราฟิกส์ภาษาจีนสำหรับการเช็คอินอยู่ในระดับมาก ปัจจัยการออกแบบอินโฟกราฟิกส์คือ มีความสวยงาม และความคิดสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ย 3.99 และปัจจัยเนื้อหาในอินโฟกราฟิกส์คือ มีความชัดเจนในการอธิบาย มีค่าเฉลี่ย 3.94 ซึ่งสรุปผลจากตารางแสดงค่าเฉลี่ย มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 3.92
คำสำคัญ: อินโฟกราฟิกส์, ภาษาจีน, เช็คอิน
Abstract
The Chinese Infographic for Check in project aimed: 1) To allow China customers to receive information from infographic; and 2) To use infographics as a public relations tool for establishments. During the cooperative education, reception in ASAI Bangkok Hotel Sathorn. There is China customers who do not speak English. Communicate only in Chinese Therefore, the application must be used to translate the language sentence by sentence, which causes delays on many occasions, causing negative effects on other customers. The creator has prepared for checking in in Chinese in the form of an infographic. Make the reception able to carry out the work and effectively take care of China customers and more quickly.
From the China customers register for check in employee satisfaction survey of 100 people, The result found showed that the most the respondents were female, (64.00%) and aged 21-30 years old, (53.00%). The high satisfaction level of the Chinese Infographic for Check in. The design of infographic is beautiful and creative, with an average of 3.99. and the content of infographic is to be clear when describing the content, with an average of 3.94. There was a high level of satisfaction, representing an overall average of 3.92.
Keywords: infographic, Chinese, check in
ดร.วรกานต์ เฉลิมชัยกิจ – Dr. Varakarn Chalermchaikit, ศศ.บ. (อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ) – B.A. (Tourism and Hospitality Industry), ศิลปศาสตร์ (Liberal Arts), ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ – Bachelor of Arts Program in Tourism and Hospitality Industry, 1/2566 (2023)