กลยุทธ์ในการแข่งขันของผู้ส่งออกกล้วยไม้ไทยภายใต้มาตรการการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี

Last modified: July 27, 2024
You are here:
Estimated reading time: 2 min

Title:
Competitive Strategies for Thai Orchid Export Entrepreneurs under Non-Tariff Trade Barriers

ชื่อโครงการ:
กลยุทธ์ในการแข่งขันของผู้ส่งออกกล้วยไม้ไทย ภายใต้มาตรการการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี

Author:
Mrs. Ancharaporn Louharungpisit

ชื่อผู้วิจัย:
นางอัญชราภรณ์ เลาหรุ่งพิสิฐ

Advisor:
รศ. ดร.ไชยนันท์ ปัญญาศิริ – Assoc. Prof. Dr. Chaiyanant Panyasiri

Degree:
ปร.ด. การจัดการ – Ph.D. in Management

Major:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ – Doctor of Philosophy Program in Management

Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School)

Academic year:
2566 (2023)

Published:
วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 มีนาคม – เมษายน 2567 | Journal of Wisdom in Political Science and Multidisciplinary Sciences Vol.7 No.2 (March –April 2023) (TCI กลุ่ม 2) คลิก

วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2566 หน้า 69-83 | NRRU Community Research Journal Vol.17 No.4 January – March 2023, pp.69-83 (TCI กลุ่ม 1)  คลิก   PDF


บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาและสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) และผลกระทบต่อการปรับกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจส่งออกกล้วยไม้ไทย ผ่านตัวแบบการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการแข่งขันอันประกอบด้วย การวิเคราะห์ SWOT และ TOWS เมทริกซ์ โดยใช้วิธีวิจัยโดยการทบทวนวรรณกรรมและศึกษาเอกสารเป็นหลัก เพื่อนำมาใช้ในการสร้างกรอบแนวคิด ให้มีตัวแปรที่ครอบคลุมเป้าหมายของงานวิจัยต่อไป

ผลการศึกษาในเบื้องต้น พบว่า 1) ปัญหาและอุปสรรคจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ส่งผลให้ภาครัฐและกลุ่มธุรกิจกล้วยไม้ไทยต้องร่วมมือกันทำงานอย่างบูรณาการเพื่อหาทางลดผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวและมุ่งการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้เขตการค้าเสรีที่ประเทศไทยร่วมเป็นสมาชิก และ 2) การดำเนินกลยุทธ์ในธุรกิจส่งออกกล้วยไม้ไทยในบริบทของ NTBs ต้องเริ่มด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ (Business Environmental Assessment) โดยการวิเคราะห์สภาวะการแข่งขันและวิเคราะห์ภาพรวมสถานการณ์ขององค์การ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์สามารถนำมาสร้างกลยุทธ์ทางเลือกด้วยเทคนิค TOWS Matrix

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย เสนอแนวทางการวิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรคที่เกิดจากมาตรการที่มิใช่ภาษี ควรพิจารณาหาแนวทางแก้ไขทั้งในเชิงเศรษฐศาสตร์และด้านกฎหมายทางการค้าระหว่างประเทศ เพื่อการกำหนดท่าทีเชิงรุกและเชิงรับของนโยบายการค้าระหว่างประเทศในกรอบเวทีต่างๆ ของโลก ได้แก่ WTO APEC ASEM ASEAN ฯลฯ และในระดับทวิภาคีระหว่างประเทศคู่ค้า

Keywords: ธุรกิจการส่งออกกล้วยไม้ไทย, มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี, การวิเคราะห์ SWOT, ตัวแบบ TOWS เมทริกซ์


Abstract

The main objective of this research article is to study and to synthesize knowledge concerning “non-tariff barriers” (NTBs) and their impacts on the strategic adjustment of the Thai orchid exporting business via SWOT analysis and TOWS matrix (as the tools for environmental competitiveness assessment). The research methodology includes literature review and document study, as the construction of an analytical framework for further research covering all related variables is expected.

Basically, the research result indicates that; First, NTBs causing problems and impediments, requiring both Thai government sector and business sector to collaborate in an integrative pattern in order to lessen the devastative impact and to maximize efficiency by relying on international free trade forums. Second, the strategic move of Thai orchid exporting business in the context of NTBs should begin with assessing business environment, analyzing competitive conditions and overall situation, all will contribute to strategic choices identified by employing TOWS Matrix.

Recommendations from the research include systematic analytical pattern on problems an impediments caused by NTBs The solutions should be developed in consideration of both areas of Economics and international Trade Laws that enable both defensive and offensive Thai international trade policies in the world trade arenas (i.e. WTO, APEC, ASEM , ASEAN, etc.) and in the level of bilateral trading partners.

Keywords: Thai Orchid Export Business, Non-Tariff Barriers, SWOT Analysis, TOWS Matrix Model


Competitive Strategies for Thai Orchid Export Entrepreneurs under Non-Tariff Trade Barriers / กลยุทธ์ในการแข่งขันของผู้ส่งออกกล้วยไม้ไทย ภายใต้มาตรการการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี

6019200005 นางอัญชราภรณ์ เลาหรุ่งพิสิฐ Mrs. Ancharaporn Louharungpisit 2566 (2023) Competitive Strategies for Thai Orchid Export Entrepreneurs under Non-Tariff Trade Barriers วิทยานิพนธ์ (Thesis), Advisor: รศ. ดร.ไชยนันท์ ปัญญาศิริ – Assoc. Prof. Dr. Chaiyanant Panyasiri, ปริญญาเอก (Doctorate Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ – Doctor of Philosophy Program in Management, ปร.ด. การจัดการ – Ph.D. in Management, Bangkok: Siam University

Academic Year 2023, Graduate School 2023, IMBA, IMBA 2023, Independent Study, Independent Study 2023, Master of Business Administration, Master of Business Administration (International Program) 2023, Master of Business Administration 2023, ปริญญาเอก (Doctorate Degree), บัณฑิตวิทยาลัย (Graduate School), ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ – Doctor of Philosophy Program in Management,ปร.ด. การจัดการ – Ph.D. in Management

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 131
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print