การเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีแพ่ง

Last modified: July 14, 2019
Estimated reading time: 2 min
หัวข้อวิทยานิพนธ์:
Project Title:
การเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีแพ่ง
Disclosure of Evidence in Civil Cases
ชื่อนักศึกษา:
Author:
นายประกิต บุญมี
Mr. Prakid Boonmee
อาจารย์ที่ปรึกษา:
Advisor:
ผศ.ดร.ทวีพฤทธิ์ ศิริศักดิ์บรรจง
Asst. Prof. Dr.Tavephut Sirisakbanjong
ระดับการศึกษา:
Degree:
นิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.)
Master of Laws Program
สาขาวิชา:
Major:
นิติศาสตร์
Laws
คณะ:
Faculty:
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate Schools
ปีการศึกษา:
Academic year:
2558
2016

การอ้างอิง/citation

ประกิต บุญมี. (2558). การเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีแพ่ง. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.


บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีจำนวนคดีความ (คดีแพ่ง) ที่ค้างการพิจารณาอยู่ในศาลเป็นจำนวนมาก ทั้งอัตรากำลังพลของผู้พิพากษาก็ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยอรรถคดีที่มาสู่ศาลอันเนื่องมาจากการเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวขึ้น ซึ่งไม่สามารถแก้ไขโดยการเพิ่มจำนวนผู้พิพากษา เมื่อพิจารณาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของประเทศไทยว่าด้วยการยื่นบัญชีระบุพยาน การส่งสำเนาเอกสารให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบก่อนการสืบพยาน แม้คู่ความต้องกระทำก่อนการสืบพยานก็เป็นเพียงขั้นตอนเพื่อเข้าสู่กระบวนพิจารณาของศาลมิได้เร่งรัดให้กระบวนพิจารณาของศาลรวดเร็วขึ้น ชี้ให้เห็นว่าระบบการเปิดเผยพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมไทยยังไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองสิทธิของคู่ความได้

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามกฎหมายต่างประเทศกับการเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีแพ่งตามกฎหมายไทย ผลการศึกษาพบว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเยอรมันมีกระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงก่อนการสืบพยานหลักฐาน ซึ่งกระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศเยอรมันมีข้อแตกต่างกันกล่าวคือ ในประเทศสหรัฐอเมริกามีกระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงที่เป็นระบบชัดเจนกำหนดไว้ในกฎหมาย แต่กระบวนการค้นหาความจริงของประเทศเยอรมันจะมีได้ก็แต่โดยความประสงค์และความยินยอมของคู่ความแต่ละฝ่ายว่าจะค้นหาข้อเท็จจริงก่อนการสืบพยานหรือไม่ส่วนประเทศฝรั่งเศสกระบวนการค้นหาความจริงนั้นถูกกำหนดโดยกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของฝรั่งเศสที่กำหนดบทบาทให้กับผู้พิพากษาประเภทหนึ่งซึ่งเรียกว่า “le juge de la mise en ?tat” (JME) หรือที่เรียกว่า Preparatory Judge มีอำนาจหน้าที่รวบรวมข้อมูลและเอกสารของคดี อันจะทำให้คดีอยู่ในสภาพที่พร้อมที่จะทำการพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโดยองค์คณะผู้พิพากษา จะเห็นได้ว่า กระบวนการค้นหาความจริงของประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมัน และฝรั่งเศส มีจุดม่งหมายเพื่อพยายามขจัดความล่าช้าของการดำเนินกระบวนพิจารณา โดยการจำกัดขอบเขตของปัญหาข้อเท็จจริงและประเด็นข้อพิพาทในคดีให้น้อยลง เป็นผลให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาลเสร็จไปจากศาลด้วยความรวดเร็ว ลดปัญหาการคั่งค้างของคดีที่รอการพิจารณาพิพากษาอยู่ในศาล

ดังนั้น การนำระบบการพิจารณาคดีในศาลของประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมัน และฝรั่งเศสเกี่ยวกับวิธีในการค้นหาข้อเท็จจริงด้วยการเปิดเผยพยานหลักฐานก่อนเข้าสู่กระบวนการสืบพยานในคดีแพ่งซึ่งเป็นมาตรการสำคัญที่สุดที่ทำให้คู่ความตกลงกันในประเด็นพิพาทได้เร็วขึ้นเพราะมีโอกาสตรวจสอบพยานหลักฐานของอีกฝ่ายซึ่งสามารถทำให้ประเมินสถานการณ์เชิงคดีว่าคดีจะแพ้หรือชนะ หรืออาจทำให้คู่ความประนีประนอมยอมความกันได้เร็วขึ้น ทำให้กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการสืบพยานรวดเร็วขึ้น คดีไม่ค้างการพิจารณาของศาล

 


Abstract

Currently, there are several cases of civil litigation pending in the court. A number of judges also are insufficient to inspect cases due to the expanding economic prosperity. The problem cannot be solved by increasing a number of judges. When a legal principle with reference to a disclosure of witness identification according to Thailand Code of Civil Procedure is cogitated, sending a copy of documents to inform to other parties must be complete before trial. Other partiesmust precede it before trial, which is one of steps in legal proceeding; it does not make legal proceeding more urgent. It is proven that the disclosure of evidence in the trial of the Judiciary of Thailand is deficient in protecting other parties’ right.

The objective of this research was to compare between the process of evidence disclosure of civil trial under international law and under Thailand. It resulted in the fact that United States of America and Germany have process of judgment done before hearing of evidence. American process of judgment was as apparent as it was written in legislation whereas German process of judgment depended on the agreement among parties. In France, the process of judgment was defined by civil procedure of France that defined the role of one classification of judges, called “le juge de la mise en ?tat” (JME) or Preparatory Judge. Preparatory Judge had authorities to accumulate legal information and cases so that the cases can be under adjudication by the judges. Therefore, the process of judgment of American, German and France had aims to eliminate hindrance in proceeding adjudication by narrowing the scope of the problem and isputing fewer contentious cases. As a result, the court’s adjudication was completed promptly. Moreover, it reduced the backlog of cases pending in court.

Thus, taking an example from the process of adjudication and the process of evidence disclosure before civil trial from America, Germany and France was important for the agreement among parties in order to hasten the process because the opportunity of examining the other evidence could make the case that the trial would assess the situation-oriented to decide whether if it won or lost or caused the parties to compromise faster. Thus, the process of evidence disclosure would become quicker without pending.

 


การเปิดเผยพยานหลักฐานในคดีแพ่ง / Disclosure of Evidence in Civil Cases

Master of Laws Program, Siam University, Bangkok, Thailand

Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 1128
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print

QR code for article

QR Code