การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างเพื่อปรับปรุงท่าเทียบเรือ

Last modified: December 22, 2021
You are here:
Estimated reading time: 1 min
ชื่อบทความ: การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างเพื่อปรับปรุงท่าเทียบเรือ
Research Article: Environmental and Structural Assessment for Port Improvements
ผู้เขียน|Author: ภาคภูมิ มงคลสังข์, ไตรทศ ขําสุวรรณ, จิรวิท พึ่งน้อย และสมภพ พึ่งเสมา | Phakphumm  Mongkhonsang, Trithos Kamsuwan
Email: phakphum@siam.edu, skamsuwan@yahoo.com, jiravit@one-engineer.com, sompob.phu@smgroup.co.th
ภาควิชา|คณะ: ภาควิชาวิศวกรรมโยธาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพฯ 10160
Department|Faculty: Department of Civil Environment and Sustainable Engineering, Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok 10160
Published|แหล่งเผยแพร่: วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (2021): พฤษภาคม-สิงหาคม | Rattanakosin Journal of Science and Technology : RJST 2021, Volume 3 Issue 2: 45-55

การอ้างอิง|Citation

ภาคภูมิ มงคลสังข์, ไตรทศ ขําสุวรรณ, จิรวิท พึ่งน้อย และสมภพ พึ่งเสมา. (2564). การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างเพื่อปรับปรุงท่าเทียบเรือ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งรัตนโกสินทร์, 3(2), 45-55.

Mongkhonsang P, Kamsuwan T. (2021). Environmental and structural assessment for port improvements. Rattanakosin Journal of Science and Technology, 3(2), 45-55.


บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการตรวจสอบโครงสร้างท่าเทียบเรือเพื่อการใช้ประกอบการปรับปรุงท่าเทียบเรือ ปัจจัยในการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ 1.การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบโครงการ ลักษณะภูมิประเทศ ความสูงต่ำรวมถึงความกว้างยาวของชายฝั่ง การเปลี่ยนแปลงทางนิเวศวิทยาทางทะเล การขุดลอกร่องน้ำที่ส่งผลให้ทิศทางและความเร็วของกระแสน้ำเปลี่ยนแปลง 2.การเปลี่ยนแปลงประเภท ขนาดและปริมาณเรือที่เข้าออกบริเวณท่าเทียบเรือที่ส่งผลต่อการกัดเซาะชายฝั่งและคุณภาพน้ำทะเล การคมนาคมขนส่ง 3.ทัศนคติและการยอมรับของชุมชน ระดับการรบกวนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษ 4.ข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น คุณภาพอากาศ ระดับเสียง คุณภาพน้ำทะเลและนิเวศวิทยา รวมถึงพื้นที่ของถังเก็บสารเคมีหรือเชื้อเพลิงและระบบควบคุมความปลอดภัย ส่วนการประเมินและการตรวจสอบโครงสร้างท่าเทียบเรือที่มีอายุการใช้งานนานอาจมีผลกระทบด้านการเสื่อมสภาพของวัสดุ อายุการใช้งาน เสถียรภาพ จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างโดยใช้วิธีการทดสอบแบบไม่ทำลายและกึ่งทำลาย ประกอบกับข้อมูลทางกายภาพของโครงสร้างทั้งด้านคุณสมบัติวัสดุ รายละเอียดทางวิศวกรรมและทางด้านวิศวกรรมธรณีเทคนิค ข้อมูลเรือที่เทียบท่า ความลึกหน้าท่า ความเร็วลม อุปกรณ์ประกอบเหล็กผูกเชือกเรือ ยางกันกระแทก นำมาวิเคราะห์ประเมินเสถียรภาพของโครงสร้างท่าเทียบเรือต่อไป จากการศึกษาพบว่า การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างก่อนการปรับปรุงท่าเทียบเรือจะทำให้มีความปลอดภัยในการใช้งานและสามารถอยู่ร่วมกันกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

คำสำคัญ: ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม, ท่าเทียบเรือ, การทดสอบแบบไม่ทำลาย, เสถียรภาพ, ยั่งยืน


ABSTRACT

This paper presents a guideline for the EIA and the inspection of berthing structures for port renovations. Environmental considerations include: 1. Change of environment around the project Topography Low height plus length of coastline, Changes in marine ecology, Dredging of a channel that changes the direction and speed of the water currents. 2. Change of type: The size and volume of ships entering and departures at the jetty that affect coastal erosion and sea water quality Transportation 3. Community attitude and acceptance: The level of interference affected by pollution. 4. Environmental quality measurement data such as air quality, noise level, sea water quality and ecology includes the area of ​​a chemical or fuel storage tank and a safety control system. The evaluation and verification of long-lived berth structures can have a material degradation effect. Thus, structural inspection is required using nondestructive and semi-destructive testing methods. Evaluation and inspection of long-lived berth structures can have a material degradation effect. Thus, structural inspection is required using nondestructive and semi-destructive testing methods. Together with the physical data of the structure, both in terms of material properties Details in engineering and geotechnical engineering, Ship data, Hydrographic data, wind speed data, bollard, fender data. The data were further analyzed to assess the stability of the port structure. The study found that Environmental and structural impact assessments prior to port renovations will ensure a safe and sustainable coexistence with the community.

Keywords: Environmental Impact Assessment, Port, Non-destructive testing, Stability, Sustainable.


การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างเพื่อปรับปรุงท่าเทียบเรือ | Environmental and Structural Assessment for Port Improvements

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม | Faculty of Engineering, Siam University, Bangkok, Thailand

Tags:
Was this article helpful? บทความนี้เป็นประโยชน์หรือไม่?
ไม่ / Dislike 0
Views: 972
Facebook
Twitter
LinkedIn
WhatsApp
Email
Print